สมุยไตรกีฬา 2012 ผ่านไปเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2012 ที่ผ่านมาถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก เป็นครั้งแรกและถือว่าสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ มั่นใจว่าจะไม่ใช่ครั้งสุดท้าย นักกีฬาระดับแนวหน้าของโลก ไม่ว่าจะเป็นแชมป์ไอรอนแมนหลากหลายสนามอย่าง Cameron Brown รวมทั้งรายการ World Championship ที่ Hawaii อย่าง Farris Al Sultan หรือเจ้าของสถิติโลกในปัจจุบัน Marino Vannhoenacker
David Dellow ผู้ชนะในวันนั้นเขียนไว้ในบล๊อกของเขา “Coming into the 15km turn around point I crossed paths with Faris – a world and European ironman champion, I took the turn and 30 seconds later crossed paths with Marino vanhoenacker – the current ironman world record holder, 30 seconds later I crossed paths with Aaron Farlow – 2 time iron distance champion and then 30 seconds later I saw Marcel Zamora – 5 time ironman champion. I was feeling good at the turn and I thought I was in with a chance of the win but I knew I’d have my work cut out for me with the blokes that were around.” คงทำให้เห็นภาพความดุเดือดของการแข่งขันครั้งนี้
ในฝ่ายหญิงก็มี Big names อย่าง Caroline Steffen หรือ legend อย่าง Belinda Granger ในวันนั้นไม่ต่างกับรายการมาสเตอร์ใหญ่ ๆ ของโลก เมื่อเสริมกับบรรยากาศในเดือนที่ร้อนที่สุดของประเทศไทย อากาศร้อนชื้นอย่างเกาะเมืองร้อน ทำให้สมุยไตรกีฬาถูกกล่าวขวัญถึงอย่างมากมายในโลกไซเบอร์ในแวดวงของนักไตรกีฬาชั้นนำของโลก (โปรฯพูดถึงสมุยไตรกีฬา) สมุยไตรกีฬาได้ถูกบันทึกลงในปฏิทินของไตรกีฬาโลกแล้วอย่างไม่ต้องสงสัย (Video Intoduction)
ด้วยการเลือกระยะทางไตรกีฬาในระยะทาเกือบเท่ากับระยะ Ironman คือ ว่ายน้ำ 4000 เมตร จักรยาน 122.65 กม. และวิ่ง 30 กม. ซึ่งเป็นระยะทางยาวที่สุดในพื้นที่เอเซียเปซิฟิก แม้ว่าการจัดรายการกีฬาในสถานที่ท่องเที่ยวชั้นนำของโลกกำลังเป็นเทรนด์สำคัญที่แหล่งท่องเที่ยว สร้างอีเวนท์เหล่านี้ขึ้นเพื่อเป็นหนึ่งในแรงดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งนักกีฬาและผู้ชม ที่สำคัญบรรยากาศของความเป็นนานาชาติที่จะถูกสร้างผ่านกิจกรรมกีฬาระดับโลก ไม่แปลกที่เกาะสมุยจึงต้องการรายการกีฬาที่สำคัญนี้เช่นกัน แต่เกาะสมุยมีเป้าหมายที่สูงกว่านั้น ความตั้งใจของเทศบาลสมุยที่จะปักหมุดที่เกาะสมุยลงบนแผนที่ไตรกีฬาโลก และต้องการเป็นหนึ่งในรายการที่นักกีฬาทุกคนต้องเข้าร่วม (ความตั้งใจของนายกฯสมุย)
ไตรกีฬาเป็นกีฬาเพียงไม่กี่ประเภทที่ให้โอกาสนักกีฬามือสมัครเล่นสามารถเข้าร่วมแข่งขันในสนามเดียวกัน พร้อม ๆ กันกับมือหนึ่งของโลก ไตรกีฬาเป็นกีฬาสำหรับ participant มากกว่าสำหรับ spectator และต้องการ Amatuer มากกว่า Professional ในสิบปีที่ผ่านมาไตรกีฬาเป็นกีฬาที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก จากจุดเริ่มต้นถึงวันที่บรรจุลงในโอลิมปิก จากผู้เริ่มต้นเพียงไม่เกินสิบคนจนปัจจุบันมีนักกีฬาไตรกีฬาที่ลงทะเบียนเป็นหลักล้านคน จากเริ่มต้นที่เป็นกีฬายอดนิยมสำหรับชนชั้นกลางอย่างทนาย แพทย์ วิศวกร เนื่องจากการลงทุนเริ่มต้นที่สูง ในปัจจุบันมีหลายคนกระโดดลงมาลงทุนในระดับสูงเช่นนี้แม้ว่าจะรายได้ที่มีอาจจะต้องใช้เวลานับปีกว่าจะได้จักรยานที่ใช้ในการแข่งขันกีฬาที่รัก และที่สำคัญไตรกีฬาไม่ใช่กีฬาเล่น ๆ ที่จะชวนเพื่อมาเล่นเช้าวันอาทิตย์เพื่อสุขภาพ แต่ไตรกีฬาต้องเข้าแข่งขัน ต้องเดินทาง ทั้งหมดนี้ทำให้ไตรกีฬาไม่เป็นเพียงกีฬา ไม่เป็นเพียงงานอดิเรก แต่เป็น life style ที่แพงมากเลยทีเดียว
ทันทีที่สมุยจัดไตรกีฬา ผมก็ตัดสินใจไปในทันที ด้วยเหตุผลเดียวกันกับรายการที่ภูเก็ต การได้เดินทางไปพักผ่อนสองสามวันก่อนร่วมแข่งขันกีฬาที่ตัวเองรัก กับนักกีฬาระดับโลกที่ตัวเองคลั่งไคล้ ในสถานที่ที่หลาย ๆ คนในโลกเรียกมันว่าสวรรค์ แล้วผมจะพลาดมันได้อย่างไร อย่างไรก็ตามสำหรับ long distance triathlon กับครั้งแรกของผู้จัด รวมไปถึงค่าสมัครที่กระเดียดไปในทิศทางที่เรียกว่าถูก ยิ่งไปกว่านั้นผู้จัดยังเป็นคนที่คุ้นเคย ไม่ไปร่วมก็ไม่รู้จะว่าอย่างไรแล้ว แน่นอนว่าเมื่อการแข่งขันเสร็จสิ้น สิ่งต่าง ๆ ที่ขลุกขลักอยู่บ้าง หักลบกับบรรยากาศของสมุย บรรยากาศการแข่งขัน ความตั้งใจของผู้จัด ผมต้องยอมรับว่าประทับใจ และมั่นใจว่าผมจะต้องกลับไปอีกในทุก ๆ ปี ถึงแม้ว่าสมุยไตรกีฬาจะไม่ดังเปรี้ยงปร้างข้ามคืนอย่างอาบูดาบีไตรกีฬา แต่รายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่สามารถปรับปรุงได้จะทำให้ good กลายเป็น great ได้อย่างง่ายดาย
ต่อไปนี้คือรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่สมุยไตรกีฬาสามารถนำไปใช้เป็นข้อคิด ถือว่าเป็นการรีวิวร์จาก weekend warrior ที่อยากกลับไปสมุยเพื่อเจอกับ the greatest traiathlon event on the gulf of Thailand
เริ่มจากกระบวนการแนะนำตัว แม้ว่าวิดีโอทั้งหมดของโครงการนี้มีการเตรียมอย่างเป็นมืออาชีพ แต่ความไม่เรียบร้อยของเวปไซท์ รวมถึง fine print ที่เน้นเรื่องการยกเลิกการแข่งขัน จะคืนเงินเพียง 50% เท่านั้น ทางเลือกในการสมัครที่ดูแปลก ๆ ที่ให้เลือกระหว่างใช้ license ของนักกีฬาที่ไม่รู้จะไปหามาจากไหน หรือใบรับรองแพทย์ที่ไม่รู้ว่าจะไปบอกหมอว่าอย่างไร แต่สุดท้ายก็มี Waiver ให้ในภายหลังที่ผมได้สมัครโดยใช้ option อีกแบบคือซื้อประกันที่ผมไม่ได้ต้องการ
เนื่องจากนักไตรกีฬามากกว่า 90% จะต้องเดินทางดังนั้นข้อมูลการเดินทาง ที่พัก เบอร์โทรศัพย์ติดต่อต้องใช้งานได้จริง แต่เท่าที่ทดลองโทรไปตามเบอร์ที่ให้ไว้กลับไม่สามารถตอบคำถามใด ๆ ได้เลยแม้ว่าคำถามที่ผมถามจะเป็นเพียง race package pickup ได้เมื่อไร และที่ใดเพียงเท่านั้น เนื่องจากข้อมูลดังกล่าวไม่ชัดเจนมาก ๆ ในข้อมูลที่มีให้ ภาษาอังกฤษในเวปไซท์เรียกได้ว่า incomprehensible อ่านแล้วไม่เข้าใจอะไรเลย แม้กระทั่งคำว่า bike check-in ที่แม้ว่าจะดูเหมือนว่าจะชัดเจนว่าต้องฝากจักรยานไว้ข้ามคืน แต่ด้วยความไม่ชัดเจนและไม่มีข้อมูลอื่นใดเพิ่มเติม ทำให้ต้องลุ้นเอาว่าจริง ๆ ผู้จัดงานต้องการอะไร และดูเหมือนว่าเจ้าหน้าที่ทั้งหมดไม่มีใครรู้เรื่องเลยไม่ว่าจะถามใคร ยกเว้นฝรั่งหนึ่งคนที่คุมการ check-in จักรยานนั่นเอง ผมต้องเดินทางกลับไปมาหลายเที่ยวกว่าจะทำอะไรให้เรียบร้อยตามที่ผู้จัดต้องการ ผมว่า race package pickup, mandatory race briefing, bike check-in อย่างน้อย ๆ สามเรื่องนี้ต้องมีข้อมูลที่ชัดเจนครับ ไม่งั้นสับสนมาก ๆ เบอร์โทรศัพย์ที่ให้ไว้ต้องเตรียมคำตอบเรื่องนี้ให้ชัดเจนและถูกต้อง
ในการนั่งฟัง race briefing ซึ่งมีการแปลระหว่างอังกฤษกับไทย มันก็ดีครับ แต่คนที่แปลเป็นไทยดูเหมือนว่าไม่ได้เตรียมตัวมาก่อนเลย เพราะไม่รู้จริง ๆ ว่ารายการจะให้ทำอะไร เวลาฟังไม่ทันก็แปลแบบข้าม ๆ มั่ว ๆ หรือบางครั้งมีการใช้ภาษาเฉพาะไตรกีฬาก็จะไปไม่เป็นเสียเลย เดาเอาว่าคนที่ฟังเอาเฉพาะภาษาไทยจะไม่รู้เรื่องเลยครับ โดยเฉพาะกฏที่สำคัญ ๆ อย่างเช่นเรื่อง non-drafting rule ที่เห็นคนไทย draft กันแหลกลาฬ ดูแล้วคนไทยเป็นคนขี้โกงมากจริง ๆ race briefing ไม่ใช่เรื่องการประชาสัมพันธ์ แต่เป็นเรื่องของกฏ กติกา มารยาท ความปลอดภัย ความช่วยเหลือ จุดให้น้ำ หรือ cut off time อะไรทำนองนี้ครับ ควรให้คนที่รู้กฏจริง ๆ มาคุยเรื่องกฏ ไม่งั้นก็มั่วอย่างที่เห็น สาวประชาสัมพันธ์ชาวไทยโม้ไปเรื่อยโดยไม่พูดถึงกฎเลยแม้แต่นิดเดียว นอกจากแปลผิด ๆ อย่างเช่น aid station แปลเป็นจุดให้น้ำแปดจุด เป็นต้น
การแข่งขันซึ่งแบ่งเป็นไตรกีฬาและทวิกีฬา แต่เลือกที่จะให้มีจุดเริ่มต้นที่แตกต่างกัน และเส้นทางจักรยานและวิ่งที่ค่อนข้างจะแตกต่างกัน แม้ว่าจะไม่มีอะไรผิดแต่ก็ทำให้การจัดการเป็นไปด้วยความยากลำบากและอาจจะเกิดการผิดพลาดขึ้นได้ง่าย และเรื่องที่ไม่น่าจะเกิดก็เกิดขึ้นเมื่อบนเส้นทางการแข่งขันของทวิกีฬาทั้งวิ่ง 10k จักรยาน 44.5k มีจุดให้น้ำอยู่เพียงจุดเดียวคือประมาณ 500 เมตรก่อนถึงเส้นชัย ในขณะที่ 5k สุดท้ายมีจุดให้น้ำเพ่ิมขึ้นอีกจุดที่ 2.5K ตามที่วางแผนไว้ ทั้งหมดเกิดขึ้นเนื่องจากการที่ต้องมีการปล่อยตัวสองจุดทำให้การดูแลภายหลังการปล่อยตัวจุดแรกถูกละเลยไป แต่โชคดีที่ว่าแม้ว่าอากาศจะร้อนมาก ๆ แต่ก็ไม่มีใครที่เกิด heat stroke ขึ้นมา (อาจตายได้) เรื่องแบบนี้คงเกิดพลาดครั้งที่สองได้ยากครับ แต่การจัดงานแบบยาก ๆ เช่นนี้มีแต่จะก่อให้เกิดความผิดพลาดที่ไม่ควรจะเกิดครับ ควรวางแผนใหม่ให้ดีครับ
ผมเห็นด้วยกับการลดขยะโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเกาะสวรรค์อย่างสมุย แต่มีหลายวิธีที่ดีกว่าที่ทางผู้จัดเลือกที่ใช้อยู่อย่างนี้ครับ หนึ่งนโยบาย bring your own cup อันนี้ตลกมาก ๆ ครับและคงโด่งดังไปทั่วโลกไปแล้ว คิดดูครับวิ่งระยะเวลา 1-3 ชั่วโมงให้พกแก้วไปตลอด จะถือไปยังไงผมเองเลือกที่จะไม่ถือเลือกใช้ water belt แทน แต่เพื่อนข้าง ๆ ผมถือไปด้วยได้เพียงครึ่งทางก็บีบจนแตก ที่ตลกไปกว่านั้นสำหรับทวิกีฬาถือไปเฉย ๆ ครับ ไม่มีน้ำแจกให้ เช่นเดียวกันครับ นโยบาย bottle for bottle สำหรับจักรยาน ในความเป็นจริงทำได้ยากครับ จักรยานมีที่เก็บขวดน้ำประมาณสองขวด ไม่มีใครอยากจะพกมากไปกว่านี้ แต่ในบางกรณีอาจจะอยากได้ขวดเสริมเพื่อราดหัว ราดขา ก็มีอยู่บ้าง ขวดแลกขวดทำให้วางแผนไม่ถูกเลยจริง ๆ วิธีที่ดีกว่าคือกำหนดระยะทิ้งขยะและแจ้งกับนักกีฬาให้ช่วยให้ความร่วมมือจะดีกว่าครับ นักกีฬาส่วนใหญ่จะพยายามให้ความร่วมมือ ยกเว้นเหตุสุดวิสัย เช่น ตกหล่น ร้อนมาก เหนื่อยมาก ซึ่งอาจจะมีขยะเรี่ยราดไปบ้างซึ่งควรจะเป็นหน้าที่ของผู้จัดที่ควรจะให้รถเก็บตกนอกจากจะทำหน้าที่เคลียร์พื้นที่ ตามนักกีฬาคนสุดท้ายแล้วก็ใล่ทำความสะอาดไปด้วย (นี่ควรจะถูกคิดไปในค่าสมัครให้เรียบร้อย)
เรื่องของการแจกอาหาร และประเภทของอาหารสามารถปรับปรุงได้มากขึ้นอีกครับ จุดให้น้ำสำหรับการวิ่งค่อนข้างจะโอเคครับ แต่สำหรับจักรยานน่าจะปรับปรุงได้อีก ยิ่งได้เห็นจากการซ้อมของผู้จัดแล้วยิ่งเห็นว่าเกิดจากความไม่เข้าใจในกีฬา ไม่ว่าจะเป็นวิ่งหรือจักรยาน นักกีฬาส่วนใหญ่ถ้าเป็นไปได้จะพยายามไม่หยุดรับน้ำและอาหารแต่จะวิ่งผ่านและหยิบไป ดังนั้นระยะจุดให้น้ำต้องขยายเป็นระยะยาว ๆ เพื่อให้มีระยะหยิบที่ยาวเพียงพอ แต่ในจักรยานจะต้องใช้คนกระจายตัวกันเป็นระยะยาว ๆ เพื่อให้จักรยานสามารถหยิบได้ทัน ในบางการแข่งขันผู้แจกน้ำอาจจะวิ่งเหยาะ ๆ ตามด้วยซ้ำ แต่ผมไม่คิดว่าดีเท่าไร น่าจะอยู่นิ่ง ๆ แบบที่เป็นน่ะดีแล้ว แต่ปัญหาที่เห็นคือเนื่องจากมีน้ำหลายประเภท ในความเป็นจริง นักกีฬาอาจจะต้องการน้ำหลายประเภทในการหยิบแต่ละครั้ง ซึ่งหมายความว่าต้องมีการแบ่งระยะให้ยาว และระบุประเภทน้ำให้ชัดเจนครับ การตะโกนถามก่อนเข้าจุดให้น้ำไม่ใช่วิธีการที่ใครเขาทำกันครับผม
อาหารในจุดให้น้ำส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีประโยชน์ครับ เพราะนักกีฬาส่วนใหญ่จะพยายามไม่ทานอะไรหนัก ๆ หรืออะไรที่ผิดแผกจากที่เคยซ้อมเนื่องจากกลัวว่าท้องจะรับไม่ได้ กระเพาะของนักกีฬาจะทำงานค่อนข้างจำกัดเพราะเลือดส่วนใหญ่ต้องไปเลี้ยงส่วนอื่นของร่างกายครับ กล้วย แอปเปิ้ล อาจจะพอได้เนื่องจากเป็นอาหารที่เขาแนะนำให้ทานก่อนแข่งอยู่แล้ว แต่อย่างอื่นอาจจะไม่ค่อยมีประโยชน์เท่าไรนัก เรื่องน้ำหลัก ๆ ก็คือน้ำเปล่ากับน้ำเกลือแร่ ส่วนโค้กอะไรที่มีให้เนี่ย ถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ หลาย ๆ คนอาจจะอยากเลี่ยงครับ เพราะมีการอัดแกส ทานเข้าไปแล้วก็เสียว ๆ จะปวดท้องเหมือนกัน แต่พอเอาเข้าจริง ๆ ผมก็ลองดูครับ เนื่องจากมันร้อนมาก จิบโค้กเย็น ๆ มันก็ชื่นใจดีเหมือนกัน แต่ในความเป็นจริง อันตรายมากครับถ้าไม่อยากเป็นอย่าง Ali Fitch เขียนไว้ “Ummmm, nup. Every attempt to run was confronted with pain and sickness in my gut , nausea and cramping. I tried and tried again in the first few km’s to run; a nice French support lady got off her motor bike to walk with me at about the 5km mark. Not long after I puked and puked and puked. Litres of coke on the ground, a grand unload, yuk, but so good to get it out. After refusing a lift to Thai hospital and sugar cubes(???) the same nice French lady kindly went in search of something to help me hydrate. At the 10km mark she came back with something like gastrolyte, all mixed up in a bottle ready to go. Down in went.” ครับผม อาเจียนและต้องแก้ด้วยยาลดกรดเท่านั้น แต่โดยรวมเธอก็ชมและจะยังอยากจะกลับมาอยู่นะครับ ในบล๊อกของเธอว่างั้น และเรื่องโค้กก็กลายเป็นเรื่องตลกที่เล่าต่อกันไปร่วมกับนโยบาย bring your own cup ไปโดยปริยายครับ ส่วนฟองน้ำที่แจกก็สำคัญมากครับ โดยเฉพาะสนามร้อน ๆ แบบนี้
ส่วนอื่น ๆ ของงานถือว่าเปอร์เฟกครับ บริเวณทรานสิชั่น เส้นชัย อาหารหลังเส้นชัย ไม่มีที่ติจริง ๆ บริการนวดเต็มสูตร อาหารทุกรูปแบบ บรรยากาศที่เส้นชัย แต่ถ้าจะให้บรรยากาศการแข่งขันที่ดีขึ้นกว่านี้ บนเส้นทางน่าจะมีการจัดกองเชียร์เป็นระยะ ๆ เหมือน กับที่ทำการซ้อม ในวิดีโอ ในรายการภูเก็ตก็จะมีการใช้นักเรียนโรงเรียนต่าง ๆ ตามที่จักรยานผ่านออกมาเชียร์กัน ซึ่งสนุกดีครับ เด็ก ๆ ก็ดูสนุกกันมาก ๆ ผมจะแวะเข้าไป Hi-5 กับกองเชียร์ตลอดครับ สนุกดี แล้วบรรยากาศก็ดูดีมีส่วนร่วมครับผม หวังว่าปีหน้าผมจะได้ไปอีกครั้งครับ คราวนี้ผมจะลงไตรกีฬาให้ได้ จะได้มีน้ำแจกกะเขาบ้าง อิอิ (วิดิโอสรุปรายการ)
สรุปว่าต้องไปลงทวีกีฬาเป็นปีที่สอง เป้าหมายลงไตรกีฬาในปี 2014