ZeroWaste is the final answer.

ผมเคยให้สัมภาษณ์หลายครั้งแล้วว่าทางออกของหลาย ๆ ปัญหาสิ่งแวดล้อมในเวลานี้ สามารถเริ่มต้นและลงท้ายด้วยคำว่า “ZeroWaste” แต่หลายคนเมื่อได้ยินคำนี้ก็เดินหนีทันทีอาจจะเพราะเกรงกลัวคำว่า Zero หรือ หมายเลขศูนย์ หรือ อาจจะติดกับภาพจำของ YouTuber หรือ Bloggler หลายคนที่จุดประกายความสนใจในคำคำนี้ด้วยการดำเนินชีวิตไปในทางสุดโต่ง เพื่อทดสอบว่าตนเองจะสามารถลดขยะได้มากน้อยเพียงใดหากตั้งใจจริง ซึ่งความตั้งใจเหล่านั้น น่ายกย่อง และ น่าประทับใจมาก ๆ หลายคนสร้างขยะเพียงขวดโหลเล็ก ๆ ในช่วงระยะเวลาหลาย ๆ เดือน หรือ แม้กระทั่งเป็นปี แม้ว่าสิ่งที่สื่อสารออกมาจะบอกว่า การใช้ชีวิต ZeroWaste และการสร้างขยะน้อยมาก ๆ มีความเป็นไปได้สูง เพียงแค่ตั้งใจเท่านั้น แต่ภาพของปริมาณขยะอันน้อยนิด หรือ ตัวเลขศูนย์ ทำให้หลาย ๆ คน เมื่อได้ยินคำว่า ZeroWaste สมองจะไม่ยอมรับข้อมูลใด ๆ อีก ใจคิดเพียงว่าเป็นไปไม่ได้

ครอบครัวของผมเองได้ทดลองชีวิต ZeroWaste มาได้ประมาณ 4 ปีล่วงมาแล้วน่าจะได้ จากครอบครัวปกติที่สร้างขยะ ไม่ได้น้อยเลย เกือบ 1.5 kg ต่อหัวต่อวัน จนเหลือเพียง 20 กรัมต่อคนต่อวัน ภายในเวลาประมาณ 1 ปี โดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ ทั้งถูกและแพง หลากหลาย ก่อนที่จะค่อย ๆ ขยายความคำ ๆ นี้ออกไปในกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยเครื่องมือต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดร้าน ZeroWaste Pattani ไปเรื่อยจนถึงการพัฒนาคอนเซ็ปท์ของ ZeroWaste Events รวมถึงเนื้อหาของ ZeroWaste Camping ที่ค่อย ๆ ปรับปรุงมาจนเป็นครั้งที่ 7 เมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ภาพของกิจกรรมได้ถูกถ่ายทอดหลายครั้งตั้งแต่ครั้งที่ 5 ครั้งที่ 6 ไปจนครั้งที่ 7 ในรายการคนค้นคน แม้ว่าในรายการไม่ได้เน้นสื่อสารเรื่อง ZeroWaste แต่ฉายแสงไปที่ความร่วมมือของกลุ่มต่าง ๆ ในพื้นที่ในการสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้กับชุมชน แต่ก็หลีกเลี่ยงเส้นเรื่องกลางของกิจกรรมที่เราทำเป็น ZeroWaste ไม่พ้น

ในการศึกษาชนิดของขยะของประเทศไทยพบว่า สัดส่วนของขยะที่จัดเป็นสี่ประเภทให้คัดแยกนั้นประกอบไปด้วยขยะอินทรีย์ 60% ขยะรีไซเคิล 30% ขยะอันตราย 3% และขยะทั่วไปเพียง 7% ซึ่งแสดงให้เห็นว่าในชีวิตจริง ๆ ของเรานั้น มีขยะเพียง 10% (ขยะอันตราย และขยะทั่วไป) ที่จัดการเองไม่ได้ หากเราอ้างถึงข้อกำหนดของ Zerowaste International Alliance ที่กำหนดไว้ว่า หากเราสามารถจัดการขยะของตนเองได้ 90% หรือ มีขยะที่ไม่สามารถจัดการได้เพียง 10% เราจะสามารถใช้คำว่า ZeroWaste ในการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ได้ทันที ไม่ว่าจะเป็น ZeroWaste Family, ZeroWaste Community, ZeroWaste Event, ZeroWaste Village, ZeroWaste Province หรือแม้กระทั่งกรณีนี้ ZeroWaste Country เพียงแค่เราแยกขยะ 4 ประเภทนี้ให้ได้ และ ล้างขยะรีไซเคิลให้สะอาด เพื่อแยกขยะรีไซเคิลออกจากขยะทั่วไปที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ เพราะไม่มีเทคโนโลยี ไม่ใช่เพียงเพราะสกปรก ถามว่าต้องใช้เทคโนโลยีมั้ยก็จะเห็นว่าเราไม่ได้ต้องการเทคโนโลยีใด ๆ เลยในการไปสู่คำว่า ZeroWaste

อย่างไรก็ตาม การล้างขยะทั่วไปให้สะอาด เพื่อให้มันกลับมาเป็นขยะรีไซเคิลให้ได้นั้น ไม่ใช่เรื่องที่จะจูงใจคนให้ทำได้ง่ายนัก เมื่อเทียบกับการชักชวนให้คนช่วยกันแยกขยะ ในกิจกรรม ZeroWaste Camping ที่เป็นงานที่รวมบุคคลที่ทุ่มเทกับการแยกขยะ และการใช้ชีวิต ZeroWaste มาร่วมกันนั้น เรามีสถิติในการล้างขยะทั่วไปให้กลายเป็นขยะรีไซเคิลได้เพียง 5-10% เท่านั้น หมายความว่า ถ้าบรรจุภัณฑ์ใด ที่ถูกออกแบบให้เป็นขยะทั่วไป แนวโน้มของการที่มันจะลงท้ายเป็นขยะทั่วไปนั้นสูงถึง 90-95% เลยทีเดียว บรรจุภัณฑ์เหล่านี้ ได้แก่ ถุงแกง กล่องพลาสติกบรรจุอาหาร หรือ แก้วพลาสติกใช้แล้วทิ้ง ดังนั้นเราพบว่าเรามีโอกาสสร้าง ZeroWaste ได้ง่ายกว่า หากเรามีการเตรียมตัวเบื้องต้นเล็กน้อยเพื่อที่จะลดขยะจำพวกนี้ตั้งแต่เริ่มต้น

การลดขยะตั้งแต่ต้นทางนั้น พูดเหมือนง่าย แต่การกระทำนั้นไม่ได้ง่ายนัก เพราะเป็นเรื่องของการเปลี่ยนพฤติกรรม เปลี่ยนสิ่งที่ติดตัวมาเป็นเวลานาน จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ เครื่องมือ หรือแม้กระทั่ง community มาช่วยสร้างพฤติกรรมที่เหมาะสมให้เกิดขึ้นจนท้ายที่สุดกลายเป็นธรรมชาติ และกลายเป็นอะไรที่ง่ายเหมือนไม่ต้องเปลี่ยนแปลงใด ๆ เราใช้การ camping มาเป็น simulation ของการใช้ชีวิตร่วมกัน การดำเนินชีวิตจริง ๆ 3 วัน 2 คืน มีอาหาร 5 มื้อ อาบน้ำแต่งตัว 4 รอบ ที่หากเราจะลองกำหนดกติกาในการใช้ชีวิต ZeroWaste เราจะได้พัฒนากระบวนการในการดำเนินชีวิตให้สร้างขยะที่จัดการไม่ได้ หรือ ขยะทั่วไปนั้นให้น้อยลง เราทำสถิติของการอยู่ร่วมกันเช่นนี้ไว้เพียง 2 ครั้ง ในการ camping ครั้งที่ 6 และครั้งที่ 7 ครั้งที่ 6 พบว่าเราสร้างขยะเพียง 40 กรัมต่อคนต่อวัน และครั้งที่ 7 ลดเหลือเพียง 33 กรัมต่อคนต่อวันเท่านั้น จากประชาชนคนธรรมดาที่สร้างขยะประจำวันอยู่ที่ 1.3 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน นั่นแสดงให้เห็นว่าชีวิต ZeroWaste นั้นสามารถเกิดขึ้นได้ในทันที ขอเพียงมีการปรับพฤติกรรมเพียงเล็กน้อย และ แยกขยะให้ได้เท่านั้น

ในทุกครั้งที่เราพูดถึงการแยกขยะ จะต้องถูกตั้งคำถามเสมอเรื่องที่หลายคนเคยแอบเห็นรถขยะเขาเทถุงรวมกันที่ท้ายรถ แม้ว่าจริง ๆ แล้วนั่นเป็นกระบวนการที่ชาวเก็บขยะเขาใช้เพื่อแยกขยะรีไซเคิลให้ละเอียดและถูกต้องยิ่งขึ้น ถ้าจะสังเกตุดี ๆ จะพบว่าท้ายรถทุกคันจะมีถุงแยกขยะห้อยไว้เตรียมแยกขยะเหล่านี้ให้แม่นยำ แม้ว่าเรื่องนี้จะเป็นความจริงมากน้อยแค่ไหนก็ตาม จากข้อมี Waste Audit เราจะพบว่าเรื่องสำคัญของการแยกขยะนั้น ไม่ได้อยู่ในประเด็นที่สังคมพยายามพูดถึงกันเลย ไม่ว่าจะแยกประเภทของเหล็ก พลาสติก กระดาษ อลูมิเนียม หรือ กล่องนม เพราะปริมาณขยะรีไซเคิลเหล่านี้ รวมกันมีปริมาณเพียง 30% ดังนั้นประเด็นของการแยกขยะคือ การแยกจัดการขยะอินทรีย์เป็นสำคัญ ไม่ว่าบ้านใดจะแยกขยะรีไซเคิลเป็น 20-30 ประเภท หากมีการรวมขยะอินทรีย์เข้ากับขยะทั่วไปนั่นถือว่าสอบตก เพราะขยะที่จัดการได้จะมีเพียง 33% (รวมขยะอันตราย) และขยะทั่วไปจะกลายเป็น 67% (รวมอินทรีย์กับขยะทั่วไปเข้าด้วยกัน) เมื่อเป็นเช่นนี้ การสื่อสารเรื่องการแยกขยะโดยมุ่งเน้น เรื่องการเพิ่มรายได้นั้นจริง ๆ แล้ว ผิดทั้งหมด หากไม่สามารถจัดการขยะอินทรีย์ให้ได้เสียก่อน

ข้อมูลจากการทำ ZeroWaste Camping 2 ครั้งสุดท้าย เราพบว่าเมื่อทำการ Waste Audit สัดส่วนของขยะจะเปลี่ยนไปดังนี้

ครั้งที่ 6 สร้างขยะ 40 กรัมต่อคนต่อวัน

  • ขยะอินทรีย์ 31.6%
  • ขยะรีไซเคิล 20.8%
  • ขยะทั่วไป 47%

ครั้งที่ 7 สร้างขยะ 33 กรัมต่อคนต่อวัน

  • ขยะอินทรีย์ 60%
  • ขยะรีไซเคิล 5.3%
  • ขยะทั่วไป 34.5%

ความแตกต่างของครั้งที่ 6 และ 7 มีดังนี้ ในครั้งที่ 7 มีการสื่อสารที่ชัดเจนมากขึ้นในขยะจำพวกกระดาษ และทิชชู่ ซึ่งเป็นขยะอินทรีย์ที่ย่อยสลายได้ ทำให้ขยะเหล่านี้ย้ายจากขยะทั่วไปไปลงที่ขยะอินทรีย์ ถือว่าแยกขยะถูกต้องขึ้น และครั้งที่ 7 เราทำการทดลองให้มีตลาดเล็ก ๆ เกิดขึ้น คือ มีร้านอาหาร มีบริการอาหารในบางมื้อ และมีร้านน้ำโดยทั้งสองบริการนั้นให้บริการในรูปแบบ ZeroWaste รวมถึงการสื่อสารที่ชัดเจนมากขึ้นในกระบวนการ ZeroWaste ทำให้ขยะทั้งเป็นขยะรีไซเคิลเกิดขึ้นน้อย ปริมาณขยะทั่วไปลดน้อยลง และเชื่อว่าหากมีการล้างขยะเหล่านี้จะสามารถรีไซเคิลได้แทบทั้งหมด

การสร้างสถานการณ์การใช้ชีวิต 3 วัน 2 คืนใน camp นั้น ไม่ได้แตกต่างจากสิ่งที่ผมเรียนรู้จากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของครอบครัวของเรา เริ่มต้นจากการจัดการขยะอินทรีย์ ที่ใช้ตั้งแต่กรีนโคน หรือ ถังขยะไม่มีวันเต็ม ใส่ขยะอินทรีย์ทุกอย่าง เพิ่ม Aerobin เพื่อกำจัดขยะเปลือกผลไม้ และผัก ได้ปุ๋ยน้ำ และปุ๋ยหมัก และไปปิดท้ายที่ถัง Oklin ที่กำจัดขยะทุกประเภทได้ และได้ปุ๋ยหมักคืนมา ถือว่าเป็นระบบที่ redundant เพราะผมมองว่าขยะอินทรีย์มีปริมาณมากที่สุดต้องจัดการได้ก่อน อีกประเด็นที่สำคัญแต่อาจจะถูกมองข้ามคือ น้ำดื่ม ผมใช้ระบบต้มน้ำ ค่อย ๆ ปรับมาเป็นกรองน้ำ RO และปัจจุบันมีระบบดักน้ำจากความชื้นร่วมด้วย นั่นหมายความว่า ผมไม่มีขยะรีไซเคิลประเภทขวดนน้ำเลยในระบบ ซึ่งเราก็เลือกที่จะนำแนวคิดนี้มาใช้ในแคมป์เช่นเดียวกันด้วยการเตรียมน้ำดื่มให้ผู้ร่วมแคมป์ทำให้ลดขยะขวดน้ำได้จำนวนมาก แม้ว่าเราจะไม่ได้เอาขยะส่วนนี้มาคำนวณปริมาณขยะ เราก็ถือว่าเป็นประเด็นสำคัญ อีกสองเรื่องราวที่เหลือคือ การใช้ภาชนะใช้ซ้ำที่เราชวนคนมาใช้กันตั้งแต่การทำร้าน ZeroWaste Pattani เริ่มต้นที่กระบอกน้ำ ถุงผ้าของ Trash Hero และอื่น ๆ ชวนคนมาปรุงอาหารด้วยไฟ การใช้ไฟทำให้กระบวนการเตรียมอาหารเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น ไม่ได้ดูลำบาก และช่วยลดการเตรียมอาหารแคมป์ในจำพวกอาหารกึ่งสำเร็จรูปที่มาพร้อมกับขยะพลาสติกจำนวนมากได้

ในอนาคตทางองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ชวนทีม Trash Hero Pattani เข้าไปคุยเรื่องจัดการขยะ ซึ่งแน่นอนว่า เราก็ต้องชักชวนให้มีการตั้งเป้าหมายไปที่คำว่า ZeroWaste เสียก่อน และจัดการขยะอินทรีย์เป็นลำดับแรก แยกขยะรีไซเคิล ส่งเสริมด้วยระบบการเงิน ทั้งการแยกขายขยะรีไซเคิล และการคิดค่าขยะตามปริมาณจริง เพราะผมเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าทันทีที่เราทำครบตามนี้ ท้องถิ่นของเราจะกลายเป็น ZeroWaste ไปในทันที

Nurturing Naturalist Intelligence

สำหรับใครที่เป็น FC ของ Howard Gardner จะทราบดีว่า 12 ปีหลังจากตีพิมพ์หนังสือ Frame of Mind : Theory of Multiple Intelligence เขาขอเพิ่มอีกหนึ่ง Intelligence ที่เรียกว่า Naturalist ในปี 1995 ทำให้เกิดกระแสธรรมชาตินิยมขึ้นอย่างมากมาย เช่นเดียวกัน มีวารสารทางวิทยาศาสตร์หลากหลายงานที่ตีพิมพ์เกี่ยวกับผลดีของการที่เด็กรักธรรมชาติในแง่มุมที่หลากหลายเกินที่จะจินตนาการได้ สำหรับผมที่เป็น FC ของ Gardner นั้น เป็นเพียงการยืนยันความหลงไหลส่วนตัวของความเป็นคนชอบสันโดด การหนีไปอยู่ท่ามกลางธรรมชาติอย่างภูเขา หรือ ทะเล นั้นเป็นสิ่งที่ผมทำอย่างสม่ำเสมอ จนกลายเป็นกิจวัตรอย่างกิจกรรม Trash Hero Pattani เป็นต้น จึงไม่เป็นเรื่องที่แปลกนักที่ผมจะพยายามปลูกฝังความรักในธรรมชาติให้กับลูก ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเราเลือกเองได้เมื่อเรานั้นทำ โฮมสคูล ผมจึงมีหน่วยกิจกรรมการเรียนรู้ที่สามารถใช้การเข้าหาธรรมชาติเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา เช่น กิจกรรมท่องโลก (ซึ่งหลายครั้งเราเลือกท่องเที่ยวธรรมชาติ) กิจกรรม sports and outdoor ที่เราให้การเข้าหาธรรมชาติเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้โดยตรง

ผมบังเอิญได้ค้นพบ Tarzan Boyd โดยบังเอิญผ่าน Facebook จากภาพเดินป่าสวย ๆ แต่ได้มาเจอตัวจริง ๆ ในวันที่ลูก ๆ ของเราไปเข้าค่ายวิทยาศาสตร์ที่ศูนย์วิทย์ นครฯ ในวันสุดท้ายที่น้ำตกอ้ายเขียว เมื่อ Tarzan Boyd ลงจากเขามาพบกับลูกชาย ที่ร่วมเรียนในค่าย พร้อมกับคุณแม่ที่เป็นหนึ่งในเจ้าหน้าที่ของศูนย์วิทย์ ในวันนั้นผมเพียงแค่ขอถ่ายภาพไว้ในฐานะ FC คนหนึ่ง ส่วนภรรยาของผมก็ทำความรู้จักกับเจ้าหน้าที่ของศูนย์เพื่อรับทราบข้อมูลค่ายอื่น ๆ ที่อาจจะเป็นประโยชน์กับลูก ๆ ของเรา ซึ่งแน่นอนว่าเราก็มีโอกาสได้เข้าร่วมหลาย ๆ ครั้ง ล้วนแล้วแต่เป็นค่ายที่เราเลือกเพื่อที่จะเสริมสร้างความเป็น Naturalist ให้กับลูก ๆ ของเรา ไม่ว่าจะเป็น นักสืบสายน้ำ เรียนรู้เรื่องเมฆ ดูนก ดูปลา และอื่น ๆ แต่หนึ่งค่ายที่เรารู้สึกตื่นเต้นที่สุด เพราะจะได้ไปกางเตนท์ใหม่ที่เตรียมมาเพื่อการนี้โดยเฉพาะ แต่นี่เป็นค่ายของ Tarzan Boyd ไม่ใช่ของศูนย์วิทย์ ซึ่งใช้ขื่อค่ายว่า “รหัสป่า junior”

17757599_1711390285544716_6163357360554631062_n

เราพาครอบครัวไปเข้าค่ายรหัสป่าจูเนียร์ เพื่อให้ลูก ๆ ได้สัมผัสบรรยากาศการนอนเตนท์กลางป่า และเรียนรู้การใช้ขีวิตในป่า ตามวิถีของพรานป่า ไม่ใช่วิถีของนักเดินป่ายุคปัจจุบัน เด็ก ๆ ได้สัมผัสอารมณ์ นอนเตนท์ แคมป์ไฟ การกินอาหารที่ทำกันในป่า โดยใช้เครื่องปรุงที่เตรียมไว้ ร่วมกับพืชผักที่หาได้ในป่า เด็ก ๆ ได้สัมผัสกับการเดินป่าจริง ๆ การดูแลตัวเองในการเดินป่า พร้อม ๆ กับเพื่อนในวัยไล่เรี่ยกันหลาย ๆ ครอบครัว  บรรยากาศในการได้ตั้งแคมป์ในพื้นที่ป่า ทำความรู้จักกับพืชพันธุ์ นานาชนิด เล่นน้ำตก หาอาหารป่า สร้างอารมณ์ร่วมให้กับเด็ก ๆ เป็นอย่างมาก เด็ก ๆ ของเรามีพัฒนาการด้านธรรมชาติวิทยาเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากหลังจากกลับจากค่าย ซึ่งผมเองก็พยายามหากิจกรรมธรรมขาติ เดินป่า ล่องเรือ ตั้งแคมป์ นอนเดนท์ให้เด็ก ๆ ได้สัมผัสอย่างสม่ำเสมอ แต่มีหนึ่งโครงการที่เรารออย่างใจจดจ่อ เพราะแทบจะจองลงชื่อทันทีที่จบจากค่าย รหัสป่าจูเนียร์ นั่นคือ รหัสป่า junior advance

แน่นอนว่าระหว่างที่เราอยู่ในค่ายรหัสป่าจูเนียร์ เราได้มีการพูดคุยถึงค่ายอื่น ๆ และได้สอบถามเกี่ยวกับเรื่องค่าย advance นี้มาบ้างแล้ว ว่าเป็นค่ายสำหรับเด็ก ที่จะเดินขึ้นยอดเขาหลวง ในระยะเวลา 5 วัน 4 คืน โดยที่จะต้องดูแลสัมภาระของตัวเอง ตั้งแคมป์ในป่า กินนอนกันในป่า ในขณะที่เดินทางไปเรื่อย ๆ สู่เป้าหมาย ซึ่งดูท้ายทายดี ค่าย advance นี้เด็กจะต้องผ่านค่ายพื้นฐานมาก่อนเท่านั้น จึงจะมีสิทธิ์ ในขณะเดียวกันผมเคยแลกเปลี่ยนรูปภาพขณะที่ไปเดินป่าที่ญี่ปุ่นบนเกาะ Yagoshima ก็ทราบว่าบนยอดเขาหลวงก็มีพื้นที่ที่มีภาพใกล้เคียงกับป่าโบราณที่เราไปเห็นที่ญี่ปุ่น จึงรู้สึกว่าเป็นสถานที่ที่น่าจะต้องไปค้นหา เมื่อค่าย advance เปิดเราจึงลงทะเบียนล่วงหน้ากันข้ามปี และรอคอยให้ถึงวันนั้น

17862761_1714509741899437_8120669183760309003_n

ตามแผนที่ได้คุยกันกับครูแจง ซึ่งเป็นอดีตเจ้าหน้าที่ศูนย์วิทย์ ภรรยา Tarzan Boyd ซึ่งในเวลานี้เราเรียกกันว่าครูบอยเมื่อผ่าน รหัสป่าจูเนียร์มาเรียบร้อยแล้ว เราได้คุยกันคร่าว ๆ ว่า เด็ก ๆ ที่ไม่มีผู้ปกครองมาเดินป่าด้วยจะค่อนข้างแข็งแกร่ง ไม่อิดออดเหมือนกับเด็กที่มีผู้ปกครองมาเดินด้วย และน่าจะทำให้การจัดการค่ายเป็นไปได้ง่ายขึ้น เราจึงวางแผนให้เซนไปเดินคนเดียว และซาช่า รอออกไปอีกปี แม้ว่าจะผ่าน รหัสป่ามาแล้วก็ตาม แต่เมื่อวันเดินป่าใกล้เข้ามากลับพบว่าหลาย ๆ ครอบครัวเลือกที่จะเดินทางไปด้วยกัน หรือ อย่างน้อยมีผู้ปกครองหนึ่งคนร่วมไปด้วย เราคุยกันว่าน่าจะให้ผมไปเดินกับเซนด้วย เพื่อไม่ให้เซนรู้สึกแตกต่างจากเพื่อน ๆ ที่มีพ่อหรือแม่มาเดินเป็นเพื่อน ในขณะเดียวกันก็เป็นโอกาสของผมที่จะได้ไปเยือนป่าที่มีภาพใกล้เคียงกับที่ Yagoshima โอกาสที่จะฝึกความ independent ของเซนถอยออกไปอีกปี แต่โอกาสเที่ยวของผมเพิ่มขึ้นมา แถมด้วยโอกาสการสร้างความสัมพันธ์พิเศษระหว่างพ่อลูก ซึ่งคิด ๆ ไปแล้วผมอาจจะทำแบบนี้กับซาช่าด้วย โดยไม่มีเซนตามมาในคราวหน้า

17884432_1711472825536462_2001074965874511122_n

เมื่อวันเดินป่าเวียนมาถึง ด้วยความที่ผมเองก็เดินป่าเป็นครั้งแรก ถ้าไม่นับการเข้าป่าแบบลูกเสือ หรือ เรียน รด. ผมไม่แน่ใจว่าจะต้องเตรียมตัวอย่างไร หรือ คาดหวังอะไร ผมทราบเพียงว่าเราจะเดินเข้าไปในป่าลึก ไปยังที่ใดที่หนึ่ง พักแรม ค้างคืนกันในป่า แล้วเดินไปเรื่อย ๆ ก่อนที่จะกลับมาในวันสุดท้าย ผมไม่รู้ว่าคนเดินป่าเขาทำอะไรกัน เดินไปดูวิวที่จุดสูงสุด ดูนก ชมไม้ ผมไม่ใช่คนแบบนั้น ผมชอบอารมณ์ของการเดินทางมากกว่าจุดหมายปลายทาง ไม่ว่าเป็นกิจกรรมใด ๆ สิ่งที่ผมจะเก็บเกี่ยวได้มักจะเป็นการเดินทาง ผมจึงพยายามติดตามคำแนะนำของทางผู้จัดว่าให้ตระเตรียมอุปกรณ์อย่างไร เสื้อผ้าสำหรับเดิน ขายาว แห้งเร็ว ๆ เบา ๆ ไม่อมน้ำ สองชุด ชุดนอนอุ่น ๆ หนึ่งชุด ถุงกันทาก ถุงเท้ายาวแบบฟุตบอล ถุงนอน ไฟฉาย น้ำ ทุกอย่างให้ใส่ถุงพลาสติกลงในเป้ให้หมด ไม่แขวนหรือผูกอะไรไว้ด้านนอก เราไม่ได้มีอะไรที่เหมาะสมสำหรับเดินป่าสักอย่าง ผมซื้อกางเกงเดินป่ามือสองมาหนึ่งตัว แต่ก็พบภายหลังว่ามีซับใน ไม่น่าจะเหมาะกับกิจกรรมที่ต้องเปียก จึงเอาไปใช้เป็นชุดนอน ส่วนเซนก็เลือกหากางเกงขายาวที่พอมีในบ้าน ไม่ได้มีตัวไหนที่ดูจะแห้งเร็วเป็นพิเศษ แต่โชคดีที่เรามีเสื้อจากงานวิ่งเป็นจำนวนมาก เสื้อพวกนี้แห้งไวอยู่แล้วจึงไม่เป็นปัญหา ถุงกันทาก เรายืมทางทีมงานได้ ถุงเท้าไปหาเอาดาบหน้า ถุงพลาสติกเอาไปเผื่อเยอะ ๆ ผมไม่แน่ใจสภาพจึงขนเอากล้องถ่ายรูป กล้องส่องทางไกล มือถือพร้อม power bank ไปด้วยเต็มสูบ ไฟฉายคาดหัว และแน่นอนสมุดบันทึกของเซน พร้อมกับกระติกน้ำคนละกระบอกให้สมชื่อ Trash Hero Pattani ไม่ใช้น้ำขวด

เราเดินทางไปจุดนัดพบเวลา 9 โมงที่น้ำตกวังลุง ท่ามกลางสายฝนโปรยปราย บังเอิญ 2 ใน 5 วันที่เราจะเข้าป่ากันนั้น คาบเกี่ยวกับช่วงเวลาพายุฤดูร้อน 5 วันที่กำลังถล่มภาคใต้พอดี เราพอเดาได้ว่าสภาพป่าน่าจะสวยสด แต่พื้นดินน่าจะเละเทะ และปริมาณน้ำในน้ำตกน่าจะมากพอดู นั่นคือการประเมินแบบคนไม่เคยเดินป่าอย่างผม แต่เมื่อดูสถานะการณ์รอบ ๆ จากผู้เชี่ยวชาญไม่ว่าจะเป็นครูบอย หรือเจ้าหน้าที่อุทยาน ผมเริ่มคิดว่างานนี้น่าจะไม่ค่อยธรรมดา ทางผู้จัดเริ่มเปรย ๆ ว่าด้วยสภาพที่ว่านี้ เราน่าจะต้องเปลี่ยนเส้นทางกันเล็กน้อย เส้นทางที่คาดว่าจะไปในคราวแรกนั้น มีความลาดชันสูง แม้จะไกล้กว่าเล็กน้อย สภาพอากาศเช่นนี้มีความเสี่ยงมากเกินไป ในขณะที่เจ้าหน้าที่อุทยานกล่าวต้อนรับ ด้วยคำพูดแปลก ๆ “ปกติสภาพแบบนี้เราไม่ให้เข้าไป แต่นี่เห็นว่าเป็นนักเรียนรหัสป่า มีประสบการณ์สูง และเราทำงานร่วมกันมานาน” ในใจผมก็รู้สึกว่าเอ๊ะนี่มันแปลก ๆ ในขณะเดียวกันช่วงนั้นมีฝนเทลงมาห่าใหญ่ ครูบอยบอกว่าเราจะรอให้ฝนซาสักนิดก่อนเดินเข้าไป ฝนแบบนี้มาหนักเป็นพัก ๆ แล้วผ่านไป แต่ไม่น่าจะหยุดง่าย ๆ เริ่มตื่นเต้นแล้วสิ จริง ๆ แล้วผมน่าจะเรียนรู้มาก่อนเพราะจุดนัดพบนี้ถูกเลื่อนมากระทันหัน จากจุดนัดพบเดิม ซึ่งทางเดินจะปลอดภัยมากขึ้น แลกกับระยะทางเดินที่ไกลขึ้น ผมเริ่มจัดแจงสิ่งของวินาทีสุดท้าย ตรวจดูร่างกาย อุปกรณ์ให้ผมและเซน ก่อนที่จะปล่อยให้เซนบอกลาน้อง ๆ และแม่ เพราะเราจะไม่ได้เจอกันในอีก 5 วันข้างหน้า นี่จะเป็นครั้งแรกที่ยาวที่สุดที่เซนจะแยกกับแม่ของเขา โชคดีว่าในเวลานั้นเขาเริ่มออกไปเล่นน้ำฝนกับเพื่อน ๆ แม้ว่าผมทดสอบถามเขาว่า ผมไม่เดินไปด้วยได้ไหม เขายังหันกลับมาตอบอย่างอารมณ์ดีว่า ผมไม่ต้องไปกับเขาก็ได้ ผมยิ้มในใจ

17904107_1714075641942847_4540273630950799423_n

เรารอฝนอยู่ประมาณชั่วโมงนึง เราเริ่มเดินเข้าไปตอน 10 โมงเช้า เลทไปแล้วหนึ่งชั่วโมง ฝนห่าใหญ่ผ่านไปแล้ว แต่ยังไม่หยุด ทุกคนแต่งตัวมิดชิด ใส่ถุงกันทากแล้วถุงเท้ายาวทับอีกชั้น เสื้อใส่ในกางเกง ป้องกันสัตว์ แมลง โดยเฉพาะทาก ครูแจงแนะนำให้เด็ก ๆ ใส่แขนสั้น ถ้าแขนยาวไม่รัดรูป เพื่อที่จะได้สังเกตได้ง่ายเมื่อมีสัตว์หรือแมลงเข้าไปด้านในแขนเสื้อ ผมจึงต้องถอดปลอกแขนที่เตรียมมาให้เขาออก ในขณะที่ผมนั้นใส่ปลอกแขนไว้ เราเดินมุ่งหน้าเข้าป่า แล้วก็เริ่มปีนเขาสูงชันเข้าไปทางทางเล็ก ๆ ที่พอเดินได้ ไม่ได้มีลักษณะเป็น trail อย่างที่เคยพบเจอในรายการวิ่ง trail ใด ๆ ค่อย ๆ ลัดเลาะผ่านสวนยาง ป่าโปร่งเรื่อยไปจนในที่สุดก็เข้าป่ารกทึบอีกครั้ง ในตอนนี้ทุกคนเปียกไปหมดทั้งตัว ทางผู้จัดได้แนะนำให้เดินตัวเปล่าไม่ใส่เสื้อกันฝน เพราะจะเย็นสบายกว่า ในขณะนี้ลูกทีมที่เตรียมเสื้อกันฝนกันมาเริ่มถอดเก็บกันหมดแล้ว เพราะความเร็ว ความชัน และระยะทางที่เราเดินกันมานั้น เริ่มทำให้ความร้อนสะสมภายใต้เสื้อเหล่านั้นสูงจนไม่อยู่ในสภาวะที่น่าใช้มากนัก เราเดินขึ้นเขา ลงหุบ ซ้ำไปมาแบบนี้หลายรอบจนผมเริ่มงง ว่าสุดท้ายแล้วเราขึ้นลงไปกี่ครั้ง ผมคุยคร่าว ๆ กับครูบอยว่า เราต้องพยายามหาทางข้ามน้ำที่แคบและปลอดภัยที่สุด เพราะในสภาวะช่วงนี้ ฝนตกมาหลายวัน แม่น้ำมีน้ำมาก หลายจุดข้ามปกติไม่สามารถข้ามได้ เมื่อมาถึงจุดข้ามแรก ผมก็เริ่มเข้าใจว่าเรากำลังพบเจอกับอะไร

17862616_1662631570431392_8655465547247298626_n

ทีมงานข้ามแม่น้ำไปผูกเชือกไว้กับโขดหินที่ฝั่งตรงกันข้ามแล้วค่อย ๆ แนะนำให้เด็ก ๆ เดินข้ามแม่น้ำที่ในเวลานั้นเชี่ยวกราก เด็กบางคนทางทีมเลือกที่จะอุ้ม แต่บางคนก็ต้องเดินเอง ภาพที่เห็นเป็นความทุลักทุเล เมื่อเด็กบางคนที่ต้องเดินแต่ไม่สามารถวางเท้าลงบนหินที่มีแรงน้ำสูงขนาดนั้นได้ ขณะที่มือโหนเชือกปล่อยให้ตัวถูกโยนไปกับสายน้ำ มั่นน่าตื่นเต้นสำหรับผมที่จะลองสัมผัสความอันตรายของธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ เมื่อถึงคราวผมก็ได้เข้าใจ สายน้ำแรง ๆ ที่เห็นทำให้บางครั้งไม่สามารถเล็ง หรือ กำหนดตำแหน่งวางเท้าได้อย่างที่ต้องการ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการเดินข้ามธารน้ำตกที่เต็มไปด้วยหิน บางจุดไม่เหมาะในการวางเท้า ความลื่น ความไม่มั่นคง ต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้มีจุดบังคับในการวางเท้า ที่บางครั้งเราเอาเท้าลงไปไม่ค่อยได้ ทุกครั้งที่มีการข้ามน้ำถือเป็นความเสี่ยง ทีมออกแบบการเดินทางเพื่อลดความเสี่ยงเหล่านี้ ในขณะที่หยั่งกับความเสี่ยงของการเดินผ่านหน้าผาชัน ลื่น หรือสภาพต่าง ๆ ที่ต้องพบเจอ ทำให้การเดินป่าแบบพรานนั้น มีความสนุกตื่นเต้นจากความไม่แน่นอนของเส้นทางเดินปะปนอยู่ด้วย ผมทราบภายหลังว่าเส้นทางที่เราใช้ในการเดินทางนั้น ส่วนใหญ่แล้วเป็นเส้นทางเดินของสัตว์ สำหรับป่านี้เราเดินตามเส้นทางของสมเสร็จ ครูบอยบอกว่าสมเสร็จที่ป่าเขาหลวงนั้นตัวใหญ่มาก ทำให้ทางเดินของเราค่อนข้างเดินง่าย เราเดินผ่านมูลสมเสร็จหลายครั้ง ขนาดของกองถ่ายทำให้เราพอจะเดาขนาดสมเสร็จที่น่าจะใกล้เคียงวัวตัวย่อม ๆ ตัวหนึ่งเลยทีเดียว เราเดินมาพักทานอาหารเที่ยงกันริมลำธาร ซึ่งจริง ๆ แล้วควรจะเป็นจุดตั้งค่ายพักในคืนนี้ แต่วันนี้เราต้องเดินกันต่อ เพราะพายุฝนยังไม่ผ่านไป ตำแหน่งนี้อาจจะมีความเสี่ยงของน้ำป่าได้ ทางทีมจึงต้องมองหาตำแหน่งที่ปลอดภัยกว่านี้

17862648_1713429135340831_3274983964333435475_n

การเปิดพื้นที่พักแรมในป่าดิบนั้น ว่ากันว่าจะทำเมื่อจำเป็นจริง ๆ เท่านั้น พรานจะใช้พื้นที่เดิม ๆ ถ้าเป็นไปได้ เพราะพื้นที่เปิดใหม่จะส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมของป่าเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะสิ่งมีชีวิตในป่า เมื่อไม่มีการใช้งานซ้ำ การฟื้นฟูให้คงสภาพเดิมอาจจะใช้เวลาเป็นสิบปี แต่วันนี้เป็นหนึ่งในข้อยกเว้นนั้น เราเดินจากจุดตั้งแคมป์เดิมไปอีกประมาณ 2 ชม. ทีมก็ให้เด็ก ๆ ลงเล่นน้ำตกกัน แล้วบอกว่าจะขึ้นไปทำค่ายกันที่ด้านบน เด็ก ๆ เหมือนจะผ่อนคลายกันนิดนึงวันนี้เดินกันมาได้ประมาณ 5 ชม. ระยะทางรวม ๆ แค่ 5 กม. เท่านั้น เป็นการวอร์มอัปที่ทำให้เด็ก ๆ บางคนถอดใจไปบ้าง อารมณ์เล่นน้ำวันนี้จึงดูไม่ครื้นเครงเท่าที่ควร เมื่อล้างเนื้อล้างตัวกันแล้ว เราก็ปีนเชิงเขาขึ้นไปดูที่ตั้งค่าย พื้นที่เล็ก ๆ พอจะมีจุดให้กางเตนท์ได้บ้าง มีลำธารขนาดเล็กใกล้ ๆ แต่เราก็ไม่มีพื้นที่มากเพียงพอสำหรับทุก ๆ กิจกรรม เราต้องใช้พื้นที่ใต้ Flysheet เดียวกันระหว่างพื้นที่รับประทานอาหารและสันทนาการ พร้อมกับกางเต้นท์ 6 หลังที่ต้องยกเข้าออกสลับหน้าที่ของพื้นที่นั้น เด็ก ๆ หิวและมากินมาม่าบ้าง โจ๊กบ้าง หรือขนมบ้างตามแต่ที่พกมาก อาหารเย็นมื้อแรก เด็ก ๆ ยังเลือกกินกันอยู่บ้าง เพราะแต่ละคนยังมีเสบียงส่วนตัว และยังไม่เห็นภาพที่ชัดเจนของชีวิตการเดินป่า ในคืนนั้นเด็ก ๆ ใช้เวลากลางคืนในบริเวณทำครัว ครูเกรียงเล่านิทานสอดแทรกความรู้ ช่วยให้เวลาค่ำคืนแรกในป่าดิบชื้นของเด็ก ๆ ผ่านไปได้ง่ายขึ้น ส่วนผู้ใหญ่อย่างผม กับรากไม้ทิ่มแทง เสียงป่า น้ำตก และเวลาค่ำคืนที่ยาวนาน เริ่มต้นที่ประมาณสามทุ่ม มันช่างผ่านไปเชื่องช้าเสียเหลือเกิน

คืนแรกนั้น ฝนกระหน่ำลงมาอีกครั้งราว ๆ ตีสาม รุนแรง จนผมคิดในใจว่าแล้วเราจะทำกันอย่างไรในวันรุ่งขึ้น ผมนอนกระสับกระส่ายเพื่อรอแสงแรกของวัน แต่ชิงลุกขึ้นมาหากาแฟร้อน ๆ ดื่มทันทีที่ได้ยินเสียง พื้นดินในค่ายเฉอะแฉะเต็มไปด้วยโคลน ระหว่างที่ทางทีมเตรียมอาหารเช้า บางส่วนเริ่มออกเดินสำรวจสภาพน้ำ ป่าเพื่อที่จะประเมินสถานการณ์ ครูบอยเรียกประชุมคร่าว ๆ บอกข่าวร้ายกับเราว่าในคราวนี้คาดว่าคงจะไม่สามารถเดินขึ้นไปถึงยอดได้อย่างที่คาดหวังไว้ ฝนตกหนักทั้งคืน คาดว่าเราอาจจะไม่สามารถข้ามน้ำไปได้ เส้นทางที่เราจะเดินขึ้นไปนั้น ลาดชัน และยาวไกล ไม่มีจุดที่จะสามารถพักค้างแรมใด ๆ ได้ ถ้าเรามุ่งหน้าไปแล้ว มีอย่างเดียวคือเราต้องไปให้ถึง สุดท้ายครูบอยจะออกไปสำรวจสภาพน้ำอีกครั้ง และจะพยายามหาที่ตั้งแคมป์ใหม่ที่เหมาะสมที่จะค้างคืนอีกสามวันที่เหลือโดยไม่ลำบากมากนัก ในขณะที่เราอาจจะใช้เวลาระหว่างวันในการทำกิจกรรมเดินป่าในพื้นที่ใกล้ ๆ บริเวณนี้แทน ตอนนี้เด็ก ๆ ตื่นกันหมดแล้ว บ้างก็นั่งเล่นกัน ผมเองในใจก็รู้สึกเสียดายอยู่บ้าง แต่อีกใจก็รู้สึกยินดีเล็ก ๆ ที่เหมือนกับว่าจะไม่ต้องดันทุรังฝ่าฝนฝ่าน้ำเดินทางกันเหมือนเมื่อวานอีก หลังจากนั้นไม่นาน ครูบอยก็กลับมาด้วยข่าวที่ปนดีปนร้าย พื้นที่ที่คาดว่าจะลงไปตั้งแคมป์ ในพื้นที่เปิดและจะใช้เวลาอยู่กันนั้น ไม่เปิดเท่าที่ควร มีน้ำในระดับที่ยังไม่น่าไว้วางใจที่จะตั้งแคมป์ การตั้งแคมป์ที่จุดเดิมนี้อีกหลายวันคงไม่เป็นทางเลือกที่ดี เด็ก ๆ คงไม่น่าจะทนเบื่อและเละเทะกันได้ ถ้าจะเดินกลับไปความเสี่ยงที่จะติดน้ำ ไม่ต่างกันไปกับเสี่ยงที่จะเดินขึ้นไปต่อ ครูบอยจึงเรียกประชุมอีกครั้ง พร้อมกับเสนอแผนที่ยิ่งใหญ่ ท้าทาย และต้องการความร่วมมือจากทุกคน

17861619_1662633073764575_8956256117690840938_n

ครูบอยวางแผนว่าเราจะเสี่ยงที่จะเดินขึ้นไปให้ถึงจุดพักใกล้จุดสูงสุด ในบริเวณที่เรียกว่าห้วยน้ำหนาว ซึ่งเป็นพื้นที่โล่งกว้าง มีลำธารสวยงามไหลผ่าน แต่เส้นทางไปนั้นจะต้องข้ามน้ำอีกสามครั้ง ทางเดินชันตลอดเส้นทาง จากความสูงในเวลานี้ประมาณ 300 เมตรจากระดับน้ำทะเล เราต้องเดินไปอีกประมาณ 10 กม. ขึ้นอีก 1000 ม. จากระดับน้ำทะเล ไปพักกันที่ 1300 เมตร ซึ่งเราไม่สามารถที่จะค้างคืนที่อื่นใดได้อีก นอกจากจะต้องเดินให้ถึงเท่านั้น เราจะต้องทิ้งของทุกอย่างที่นี่ไว้ครึ่งหนึ่ง นำสำภาระเท่าที่จำเป็นขึ้นไป แล้วเราจะกลับลงมาแคมป์กันที่นี่อีกครั้งในเที่ยวกลับ (ซึ่งปกติไม่เคยทำเช่นนี้มาก่อน นั่นคือ ค่ายมักจะเดินขึ้นทางหนึ่งแล้วเดินลงอีกทางหนึ่ง แต่ในครั้งนี้เป็นความจำเป็น) ในเวลานั้นใกล้ 10 โมงเช้าแล้ว ครูบอยให้เวลาทุกคนจัดสัมภาระ 15 นาทีก่อนที่จะรวมตัวกันเพื่อเดินฝ่าฝนกันออกไป เด็ก ๆ หลาย ๆ คนเมื่อต้องเปลี่ยนเป็นชุดเปียกอีกครั้ง ออกมายืนกลางฝน เริ่มออกอาการตัวสั่น ด้วยความหนาวเย็น เซนก็เช่นกัน เราก็ได้แต่หวังว่าการเดินจะค่อย ๆ ทำให้เราทุก ๆ คนอุ่นขึ้นเรื่อย ๆ ณ จุดนี้ ไม่มีป่าโปร่งอีกแล้ว เราเดินผ่านป่าทึบ หลายครั้งหากไม่รักษาระยะห่างดี ๆ อาจจะมองไม่เห็นคนด้านหน้า จนทำให้รู้สึกเหมือนหลงทางกันเลยทีเดียว เราต้องเดินลัดเลาะเลียบลำน้ำตกหลายครั้ง เพื่อหาตำแหน่งในการข้ามน้ำที่ปลอดภัย เส้นทางสูงชันต้องปีนขึ้นลงเขาแล้วเขาเล่า ครูบอยคาดว่าวันนี้เราน่าจะเดินในป่ากันจนมืดค่ำ ไฟฉายเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ครูบอยกำชับให้ทุกคนพกไว้ในตำแหน่งที่หยิบออกมาใช้ได้ง่าย เส้นทางเดินป่าของวันนี้ เรียกได้ว่าไม่ธรรมดาเลยทีเดียว ด้วยความอ่อนประสบการณ์ของผม จากเส้นทาง ความสูง ความชัน การเดินลัดเลาะไหล่เขา หน้าผาเช่นนี้ ถ้าผมต้องตัดสินใจด้วยตัวเอง ผมคงไม่มีวันปล่อยมือเซนเป็นแน่ อย่างไรก็ตาม ผมไว้ใจทีมงานในการประเมินสถานการณ์

หลายครั้งทีมงานมีการแบ่งหน้าที่เพื่อคอยเฝ้าระวังในจุดที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ทางลงเขาชันแล้วต้องเลี้ยวเลาะไหล่เขาในทันที ถ้าพลั้งพลาดในบางจุดคาดว่าคงไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ที่จะกลับขึ้นมาครบ 32 ได้ เห็นทีมงานทำงานเข้าขากันอย่างเงียบ ๆ ความอันตรายของเส้นทางถูก ป้องกัน สร้างระบบเพื่อลดความเสี่ยงอย่างมากจนคาดว่าคนมาเดินหลาย ๆ คนคาดไม่ถึงว่าความอันตรายของเส้นทางนี้มีสูงมากเพียงใด หากไม่ได้เดินทางมากับผู้เชี่ยวชาญอย่างเช่นวันนี้ อย่างไรก็ตามในความเหนื่อยล้าของการเดินทางทั้งวันนี้ แดดแทบไม่มีให้เห็น ป่าทึบ เมฆฝน แทบจะบังคับให้ต้องใช้ไฟฉาย ในเวลากลางวัน เราเริ่มไต่ความสูงขึ้นมาเรื่อย ๆ จนถึงยอดต้นไม้ใหญ่ เราเริ่มเดินเข้ามาสู่ระดับเดียวกันกับเมฆหมอก ครูบอยพาพวกเรามาดูหนึ่งต้นน้ำ และเล่าปรากฏการณ์ของการเกิดน้ำที่ต้นน้ำแห่งนี้ ที่นี่ไม่ได้มีตาน้ำ ไม่มีน้ำใต้ดินที่ไหลลงมา แต่หากว่าเมฆ หมอกที่มาพร้อมกับความชื้นที่พัดผ่านมาปะทะกับต้นไม้ ป่าในบริเวณนี้และรอบ ๆ ทำให้น้ำถูกก่อตัวลงสู่ใบ กิ่งก้านสาขาของต้นไม้เหล่านั้นแล้วไหลร่วงลงมาสู่พื้นดิน รวมตัวกันจนเป็นจุดเริ่มต้นของสายน้ำยิ่งใหญ่ที่เราพยายามข้ามกันมาทั้งวัน สองสามเที่ยว มันเป็นความน่ามหัสจรรย์ของธรรมชาติ เป็นจังหวะที่ทุกคนได้ผ่อนคลายกันเล็กน้อย เรายังต้องเดินทางกันอีกยาวไกลในวันนี้

17904202_1714509428566135_2691042292950774906_n

ท่ามกลางความเหน็ดเหนื่อยมีเสียงพร่ำสอนของครูเกรียงเป็นระยะ ๆ แมลงบ้าง เห็ดบ้าง ผมเดินค่อนข้างห่างไปทางด้านหลังจึงไม่ได้มีโอกาสที่จะได้เห็นว่าสิ่งเหล่านั้นคืออะไร ในบางช่วงเส้นทางมันช่างดูน่าหวาดกลัวสำหรับคนเป็นพ่อแม่ แต่เหมือนว่าเด็ก ๆ จะจัดการกับมันได้ดี เราเดินหยุดคอยกันเป็นระยะ ๆ การเดินป่านั้นมีเรื่องราวสองสามเรื่องที่ครูบอยและครูแจงสอนไว้ ครูแจงพยายามเร่งให้แต่ละคนเดินไม่ทิ้งระยะกันจนเกินไปนัก เพราะความรกของเส้นทาง ถ้ามองไม่เห็นหลังกันอาจจะหลงกันง่าย ๆ ส่วนครูบอยก็มีการสอนการแกะรอยแบบง่าย ๆ ไว้ให้บ้าง ในเส้นทางที่มีทางแยกก็อาจจะมีการบิดใบไม้ให้พอเป็นจุดสังเกตุ เส้นทางอันตรายอาจจะมีการหักกิ่งไม้พาดไว้ เป็นเรื่องราวที่พรานเขาทำกัน แต่สำหรับอย่างเรา ๆ ถ้าสายตาหลุดจากหลังคนด้านหน้าเมื่อไร ก็รู้สึกทันทีว่าหลงทาง มีเรื่องราวตื่นเต้นอึกครั้งเมื่อมีเสียงตะโกนโหวกเหวกโวยวายจากรีซ หนูน้อยตัวเล็กที่สุดวัย 7 ขวบ ช่วงนั้นรีซเริ่มงอแงบ้างแล้ว หลาย ๆ คนไม่ได้แปลกใจอะไรมาก ถ้าหากจะเกิดการร้องไห้โวยวายในเวลานี้ แต่ไม่นานนักเราก็รู้ว่ามันเกิดอะไรขึ้น เมื่อเหล่าผู้ใหญ่เมื่อเดินตามมาถึงต่างตะโกนกันว่า วิ่งเร็ววิ่ง ฝูงผึ้งแตกรัง เข้ารุมต่อย ใบหน้า หัว หลัง หลาย ๆ คน ตั้งแต่รีซและทุก ๆ คนที่เดินตามมา ทำให้ผมเริ่มนึกได้ว่า ผมเองก็โดนเหมือนกันไปสามสี่ครั้ง แต่ด้วยความที่ด้านต่อสิ่งเหล่านี้จึงไม่ได้รู้สึกอะไรมากมาย

วันนี้มีแสงอาทิตย์สอดส่องลงมาบ้างเป็นระยะ สลับกับฟ้ามืด และสายฝน ไม่ได้ถึงกับเลวร้ายเหมือนกับเมื่อคืน แต่เราเดินกันมาทั้งวันแล้ว ช่วงบ่ายแก่ ๆ ฟ้าค่อนข้างจะมืดลง การเดินทางในป่าเริ่มยากลำบากขึ้น แม้ว่ายังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ไฟฉาย หลังจากที่รู้สึกว่าความมืดจะเริ่มเข้าปกคลุมได้ไม่นาน ผมก็เห็นไข่มุก เด็กตัวเล็กที่สุดอีกคนลื่นไถล แล้วก็ตีลังกาลงข้างทางสูงชัน ก่อนที่จะไปค้างอยู่กับต้นไม้เล็ก ๆ ทันทีที่ไข่มุกตะโกนเรียก “ช่วยหนูด้วย” พรานเธียรก็กระโจนไปอยู่ข้างตัวเด็กน้อยแล้วช่วยผลักให้ไข่มุกกลับขึ้นมาได้ ไข่มุกตัวสั่นด้วยความกลัว ครูแจงต้องเข้ามาปลอบและเดินจูงมือไปด้วยกันจากจุดนั้น เด็กทุกคนในเวลานี้ เริ่มวิตก และร้องไห้กันทุกคน ยกเว้นสองคนที่อายุมากที่สุด ผมเริ่มมาเดินข้างเซน จูงมือกันไปสร้างกำลังใจให้เขาอีกครั้ง เรามีเวลาไม่มากนักถ้าไม่อยากเดินทางในความมืด จากจุดนั้น ไม่มีเสียงอื่น ๆ ใดอีกเลย นอกจากเสียงร้องไห้ สะอีกสะอื้นของเด็ก ๆ ทั้งหลาย ร้องไห้ไป เดินหน้าต่อไป จนในที่สุดเรามาถึงจุดหนึ่งที่เป็นลานเปิดกว้าง มีลำธารอยู่ใกล้ ๆ แล้วครูบอยก็บอกว่า ถึงแล้ว คืนนี้เราจะพักกันที่นี่ ให้อาบน้ำล้างตัวกันได้ แต่น้ำอาจจะเย็นอยู่สักหน่อย ตามชื่อสถานที่ “ห้วยน้ำหนาว” อุณหภูมิขณะนี้ประมาณ 15 องศา ทางทีมงานจัดเตรียมพื้นที่ กางเตนท์ หุงหาอาหาร ส่วนเด็ก ๆ ก็ค่อย ๆ กระจายกันไป ล้างเนื้อล้างตัว เปลี่ยนเสื้อผ้า แล้วออกมาหาอะไรกินรองท้อง มาม่าบ้าง โจ๊กซองบ้าง ขนมบ้างไปตามประสา อารมณ์ตื่นตกใจทั้งเรื่องของผึ้ง หรือ ไข่มุกตกผา ยังตราตรึง หลังจากอาหารค่ำ ทุกคนแยกย้ายกันเข้านอนแบบไม่อิดออด แต่ความหนาวเย็นก็เป็นอุปสรรคในการนอนหลับสนิทพอสมควร แม้ว่าวันนี้เราจะเดินขึ้นเขากันมากว่า 8 ชั่วโมง กับระยะทาง 10 กม. ไต่ระดับความสูงประมาณ 1000 เมตร

17904223_1714543015229443_4614302251025924284_n

เช้าวันถัดไป หลังจากตื่นขึ้นมาเราค่อย ๆ ซึมซับทีละเล็กละน้อย กับบรรยากาศรอบข้าง ความเขียวขจี อากาศที่สดชื่น หนาวเย็น สายน้ำ โขดหิน ทุกสิ่งอย่างมันค่อย ๆ ลงตัวมากขึ้น ครูบอยบอกให้ทุกคนเตรียมทานอาหารแล้วจะพาเดินไต่ระดับประมาณ 300 เมตรไปยังจุดสูงสุดในบริเวณนี้ที่ระดับความสูงประมาณ 1500 เมตรจากระดับน้ำทะเล บริเวณที่เรียกว่าหินสองเกลอ หลังมื้อเช้า เด็ก ๆ หลาย ๆ คนอิดออด ไม่อยากกลับมาใส่เสื้อผ้าเปียกอีกครั้งในความหนาว 15 องศาเช่นนี้ ความคิดเรื่องการเดินป่าอีกวันนึงนั้น มันช่างน่าสะอิดสะเอียน ทางครูแจงพยายามอธิบายว่าที่เราลำบากกันเมื่อวานนั้น ก็เพื่อความรื่นรมในวันนี้ ถ้าวันนี้เราไม่ออกเดิน ทุกสิ่งทุกอย่างที่เหนื่อยมาเมื่อวานก็คือสูญเสียไป ผมมองเหน้าเด็ก ๆ หลาย ๆ คน ก็เข้าใจว่า หลาย ๆ คนไม่แคร์ ถ้าเขาจะสามารถนั่งรออยู่ที่นี่ได้ พวกเขาเหล่านั้นก็คงเลือกเส้นทางนั้น แต่มันเป็นไปไม่ได้ เราค่อย ๆ ช่วยกันแต่งตัวเด็ก ๆ แล้วมารวมตัวกันเพื่อผจญภัยกันต่อ เราค่อย ๆ เดินลัดเลาะขึ้นไปตามลำธาร กระโดดจากหินก้อนหนึ่งสู่อีกก้อนหนึ่ง บางครั้งก็ลุยน้ำบ้าง แต่ในวันนี้หลาย ๆ คนพยายามไม่ให้เปียก ไม่กี่สิบนาทีผ่านไปความสดใสของเด็ก ๆ ค่อย ๆ กลับมาทีละคน ละคน วันนี้เราเดินนิด ๆ หน่อย ๆ แล้วหยุดเพื่อถ่ายรูป บางครั้ง เราพยายามจัดองค์ประกอบเพื่อถ่ายรูปกันจนเด็ก ๆ เริ่มโวยวายออกเดินกันต่อ พันธุ์ไม้ในความสูงระดับนี้แตกต่างจากด้านล่างพอสมควร ต้นไม่ได้สูงใหญ่มากนัก อากาศเย็น มีมอสขึ้นปกคลุมเขียวไปหมด เราเดินชมบรรยากาศ ดูกล้วยไม้ หลากหลายพันธุ์ รวมไปถึงนกต่าง ๆ ที่เป็นจุดเด่นของเทือกเขาหลวง ก่อนที่จะค่อย ๆ ลอดทะลุป่าโปร่งมาเจอกับโขดหินขนาดใหญ่สองก้อน ที่เรียกว่า หินสองเกลอ ในช่วงเวลาประมาณเที่ยงวันพอดี เราหยุดรับประทานอาหารเที่ยงกันบนโขดหิน ครูบอยเลือกมาแจกประกาศกันที่นี่ เด็ก ๆ ร่าเริงกันมาก เซนบอกกับผมว่า “ดีนะ ที่เซน เดินมาด้วยในวันนี้ เพราะตรงนี้มันสวยมากเลย” ในใจผมรู้สึกเล็ก ๆ ว่า เขาเริ่มเข้าใจในทัศนคติบางอย่างที่ผมต้องการให้เขาได้กลับไปจากการเข้าค่ายนี้บ้างแล้ว

17523374_1711167778900300_7324851528602095607_n

ช่วงบ่ายหลังจากนั่งกินอาหารเที่ยงบนตำแหน่งที่วิวสวยที่สุดแห่งหนึ่งบนยอดเขาหลวงเรียบร้อยแล้ว ฝนก็กลับมาไล่เราอีกครั้ง ครูบอยจึงพาเดินกลับย้อนลงไปอีกเส้นทางหนึ่ง เพื่อผ่านบริเวณที่เป็นป่าโบราณ ต้นไม้แปลกตา สวยงาม ป่าในโซนนี้ต้นไม้จะไม่สูงใหญ่มากนัก ต่างจากป่าด้านล่าง เราเดินชมป่า วิว กล้วยไม้ เรื่อยไป จนค่อย ๆ ย้อนลงไปถึงแนวลำธารที่เราเกาะขึ้นมา หลังจากนั้นครูบอยก็ค่อย ๆ ทิ้งระยะหายไป แต่ละคนก็ค่อย ๆ ไล่เดินตามแนวลำธารกลับมายังที่พัก วันนี้ทุกคนอิ่มเอิบหัวใจเป็นอย่างมาก เด็ก ๆ ล้างเนื้อล้างตัวมารออาหารเย็น หลังอาหารเย็นก็มีครูเกรียงคอยเล่านิทานความรู้ธรรมชาติให้ฟัง ก่อนที่ครูแจงจะให้เด็ก ๆ เขียนบันทึก วาดภาพเพื่อนำมาแบ่งปันกัน คืนนี้เราจะพักกันที่นี่เป็นคืนสุดท้าย เวลาช่างผ่านไปเร็วเหลือเกิน เมื่อเทียบกับความเชื่องช้าของคืนแรก

วันรุ่งขึ้นเราเดินกลับไปยังแคมป์เก่าอีกครั้ง เพื่อไปค้างคืนสุดท้ายกันที่นั่น การเดินลงเขาเราทำเวลากันได้ดีกว่าขั้นเขามาก เด็ก ๆ ทุกคนเดินนำหน้าไปกับครูบอย การเดินลงเขานั้น อันตรายมากกว่าการเดินขึ้นเขามากนัก ครูบอยค่อนข้างกำชับเรื่องความปลอดภัย มีการระวังภัยให้เป็นระยะ ๆ แต่ก็ไม่วาย เซนร่วงผาในตำแหน่งเดียวกันกับไข่มุกอีกครั้ง แต่มือคว้ารากไม้ไว้ทัน จึงไม่ได้มีเรื่องราวให้ตื่นเต้นกันอีกครั้ง เมื่อมาถึงแคมป์ที่พัก เราจึงใช้เวลาอยู่กับธารน้ำตกค่อนข้างนาน วันนี้เป็นวันแรกที่ผมเองได้อาบน้ำเป็นเรื่องเป็นราว ผมยังเหลือชุดแห้งอีกหนึ่งชุด ในใจมีความสุขเป็นอย่างมากว่าอย่างน้อยในวันพรุ่งนี้ ผมไม่ต้องเปลี่ยนชุดเปียกในตอนเช้า ช่วงคืนสุดท้าย เด็ก ๆ ใช้เวลาบางส่วนทำการบ้านที่ครูแจงให้ แล้วก็รวมตัวนั่งฟังครูเกรียงเล่านิทานกันคืนสุดท้าย เช้าวันถัดมาเราก็ได้มาฟังการเล่าเรื่องราวบันทึกของเด็ก ๆ และความประทับใจต่าง ๆ ที่เด็ก ๆ ได้รับ หลายคนบอกว่าจะไม่กลับมาแล้ว มันเหนื่อย ทำให้ผมคิดถึงการปั่นจักรยานทางไกลออแดกซ์ของผม ที่หลาย ๆ ครั้ง หลาย ๆ คน ก็ได้แต่บอกว่าไม่กลับมาอีกแล้ว แต่สุดท้าย ก็กลับมาอีกครั้ง

17903776_1714665928550485_4449359428701853905_n

ในวันสุดท้าย เราเดินกันเพียง 5 กม. กว่า ๆ เส้นทางง่าย ๆ ไม่เหลืออะไรที่ตื่นเต้นอีกแล้ว และเราก็ใช้เวลาไม่นานเพื่อมายังจุดเริ่มต้นของเรา ที่น้ำตกวังชุม และเราก็ใช้เวลาที่เหลือทั้งหมดเล่นน้ำ ฆ่าเวลา เด็ก ๆ ค่อย ๆ แยกย้ายกันกลับไป เมื่อพ่อแม่มารับ หลายคนก็เปลี่ยนชุด บอกลาครู และเพื่อน ๆ เพราะยังมีการเดินทางกลับบ้านอีกยาวไกลรอกันอยู่ หลายคนมาจากจังหวัดไกล ๆ ภูเก็ต ตรัง นครปฐม หรือ ปัตตานีอย่างเรา สำหรับเซนเอง เขาก็ยังตอบกลับไปกลับมา ว่าจะกลับมาอีกครั้งหรือไม่ แต่ที่แน่ ๆ ประสบการณ์ การเล่าของเซน ทำให้ซาช่ารอคอยเพื่อให้ถึงคิวของเขาในปีถัดไป เป้าหมายที่จะให้ลูกได้สัมผัสธรรมชาติอย่างที่มันเป็น เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของป่าใหญ่ ได้บรรลุแล้ว แต่ยังได้ของแถมเป็นการใช้เวลาร่วมกันสองต่อสอง ของพ่อกับลูก ผมมั่นใจว่าคุณค่าของ 5 วัน 4 คืนที่ผ่านมานั้น จะถูกฝังอยู่ในความทรงจำของเขา ภาพป่าดิบ ๆ การเดินฝ่าป่าเมฆ ข้ามสายน้ำเชี่ยว เพื่อนที่ตกหน้าผา วิวอันงดงาม ความเหนื่อย ความหนาว และเราสองคนในเตนท์เล็ก ๆ พื้นแข็ง ๆ อากาศหนาว ๆ สำหรับผมเอง ก็เช่นกัน

Ironman Langkawi : The final edition

ชีวิตเต็มไปด้วยความไม่คาดฝัน ผมเองไม่เคยคิดว่าจะได้เข้าร่วมกิจกรรมท้าทายเช่นนี้ 3 ปีติดต่อกัน แต่มันก็เป็นไปแล้ว วันนี้จะมาเล่าให้ฟังว่าทำไม แล้วเกิดอะไรขึ้น ผมได้อะไร ผมเสียอะไร จากการเดินทางครั้งนี้ หลายคนที่ติดตามงานเขียนของผมเกี่ยวกับ Ironman Langkawi ก็จะรู้ดีว่า ความหลังของผมกับ Ironman Langkawi นั้น อาจจะเป็นเรื่องราวที่เป็นส่วนตัวเล็กน้อย ในครั้งแรกที่มาเพราะต้องการวิ่งหนีจากการรักษาโรคดับอักเสบบีเรื้อรัง พร้อมทั้งการหาทุนเพื่อกองทุนเพื่อซูริ ในครั้งแรก ๆ ผมเรียกบทความแรกว่า Ironman Langkawi “For Zuri” หลังจากนั้นผมกลับมาอีกครั้ง เพื่อมาจบเป็น Ironman ครั้งแรกของผม เป็นหนึ่งบทความที่ไม่น่าเชื่อว่ามีหลาย ๆ คนเข้ามาบอกกับผมว่า มันทำให้เขามีกำลังใจในการตั้งเป้าหมายเพื่อการจบ Ironman เพียงสักครั้งในชีวิต ผมเรียกบทความนั้นว่า Ironman Langkawi ForZuri Episode II : ไม่หมู แต่ทุกคนทำได้ ในขณะเดียวกันก็สร้างแรงกระเพื่อมในวงการไตรกีฬาพอสมควร ที่กล่าวถึง holy grail ของวงการว่าเป็นสิ่งที่เอื้อมถึงกันได้ทุก ๆ คน รอบนี้เป็นรอบสุดท้ายของสัญญา Ironman ของที่นี่ ผมวางแผนเล็ก ๆ ไว้ว่าน่าจะกลับมาอีกครั้ง เพียงเพราะมันใกล้ และเดินทางค่อนข้างสะดวกสำหรับผม แล้วอีกอย่าง เด็ก ๆ ของผมชอบกิจกรรมบนเกาะนี้ ไม่ว่าจะเป็น Aquarium และ Wildlife Park และที่สำคัญรายการ Ironkids ที่ผมพาเด็ก ๆ มาเล่นสนุกเป็นปีที่ 2 แล้ว สำหรับปีนี้จะเป็นครั้งแรกของฮารุที่จะร่วมวิ่งกับพี่ ๆ แม้ว่าจะไม่ถึงวัยที่จะสามารถสมัครเข้าร่วมได้

This slideshow requires JavaScript.

อย่างไรก็ตามการตัดสินใจจริง ๆ นั้นเกิดขึ้นภายหลัง หนึ่งเหตุผลที่ทำให้ผมตัดสินใจกลับมาที่นี่อีกครั้ง เพราะมีเพื่อน Very Forty ของผมสองคนมาร่วมด้วย คนแรกคือ หมอนก ที่ต้องการกลับมาแก้เกมส์ที่พลาดไปเมื่อรอบที่แล้ว แต่จริง ๆ ผมคิดว่าหมอนกมาเพียงเพราะน้อง ๆ ทีมบางแสนไตรฯ ต้องการความท้าทายของชีวิตด้วย Ironman และที่สำคัญที่สุดสำหรับผมคือ ผมต้องการให้ตุ๊มาเป็น Ironman สักครั้ง ผมพยายามชวนตุ๊หลาย ๆ ครั้งในหลาย ๆ กิจกรรม ซึ่งตุ๊ไม่เคยปฏิเสธเลยสักครั้งเดียว ไม่ว่าจะเป็นระยะทางเท่าไร มาราธอนสองสามครั้งแรกที่วิ่งร่วมกัน การขยับระยะมาเป็น TNF50 TNF100 PYT66 Audax200 300 400 600 ต่าง ๆ เหล่านี้ ตุ๊ไม่เคยปฏิเสธ แม้ว่าจะไม่เคยได้ซ้อม ไม่วายยังมีผลงานที่ล้ำหน้าเกินที่ผมจะทำได้หลายต่อหลายครั้ง ทั้งที่โป่งแยง หรือ ปั่น 600 km. แต่ตุ๊ไม่เคยยอมตัดสินใจลอง Ironman เลยสักครั้ง ว่ายน้ำเป็นอุปสรรค ตุ๊พยายามขยับระยะของไตรกีฬาขึ้นมาทีละเล็กละน้อย แต่ผมว่าที่สำคัญที่สุดของตุ๊คือช่วงที่ได้ไปซ้อม Open water ระยะยาว ๆ กับกลุ่มบางแสน การได้โฟกัสการวิ่ง ultra trail ในช่วงปีที่แล้ว นั่นร่วมถึงการวิ่ง 200 miles ที่ผ่านมา ทำให้ปีนี้ตุ๊พร้อมมากที่สุด สิ่งที่ผมพยายามทำมากที่สุดในช่วงสมัครคือกระตุ้นให้ตุ๊ตัดสินใจสมัคร เพราะในทุก ๆ ความสำเร็จใด ๆ ที่จะเกิดขึ้นได้นั้น ก้าวแรกเป็นสิ่งที่สำคัญ ในทุก ๆ ขั้นตอนของการเดินทางสู่ไอรอนแมน การสมัคร เป็นขั้นตอนที่แบ่งแยกว่าใครจะได้เป็นไอรอนแมน และใครจะไม่ได้เป็นไอรอนแมน เมื่อมีตุ๊และนกสมัคร ผมก็มั่นใจว่าจะเป็นอีกหนึ่งความทรงจำของผม ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม

 

เมื่อเพื่อน ๆ และ ผมสมัครกันเรียบร้อยแล้ว ในใจของผมมันผ่านไปมากกว่าครึ่งหนึ่ง ผมคิดเสมอว่าสิ่งที่ยิ่งใหญ่ไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุด พร้อมที่สุด แต่การตัดสินใจที่จะก้าวไป ในช่วงปีนี้ผมมีรายการใหญ่ ๆ สามรายการ รายการแรกคือ Roth ซึ่งผมถือว่าเป็น A race เพราะมีเวลา cut off time ที่ 15 ชั่วโมงและคิดว่าคงไม่ได้ไปกันบ่อย ๆ อีกสองรายการที่ผมสมัครพร้อม ๆ กันคือ Langkawi และ Thailand ตอนนี้ผมผ่านมาแล้วรายการที่ Roth เป็นความประทับใจที่ผมเล่าให้หลาย ๆ คนได้ฟังไปแล้ว ในบทความที่ชื่อว่า Challenge Roth : The dream that you can all experience ถือได้ว่าการแข่งที่ลังกาวีครั้งนี้เป็นการแข่งระยะไอรอนแมนครั้งที่ 4 ของผม สอบตกไปแล้วหนึ่งครั้งในสนามเดียวกันนี้ และเป็นไอรอนแมนครั้งแรกที่สนามนี้ ส่วนอีกสนามเขาเป็นของ Challenge เค้าไม่เรียกว่าไอรอนแมน แต่สนุกมากเหมือนกัน

ในช่วงหนึ่งปีครึ่งที่ผ่านมาชีวิตผมมีความเปลี่ยนแปลงมากมาย หลังจากที่จบไอรอนแมนครั้งแรกที่ลังกาวีนั้น ผมเริ่มมีความฝันลาง ๆ ว่าจะสะสมสนามไอรอนแมนเพื่อสิทธิ์ที่จะสมัครไปสนามที่ Kona สักครั้งหนึ่งในชีวิต ผมจึงเริ่มวางแผน สถานที่แข่งต่าง ๆ ทั่วโลกที่ผมคิดว่าน่าจะเป็นสนามที่ควรจะไปเก็บเกี่ยวประสบการณ์ ผมเริ่มค่อย ๆ วาดไลฟสไตล์ของไอรอนแมน ที่เดินทางพร้อมครอบครัวไปตามเมืองต่าง ๆ แข่งขัน และท่องเที่ยวไปเรื่อย ๆ ประกอบการเรียนรู้ของลูก ๆ ของผมที่เป็นบ้านเรียนที่เน้นการเดินทาง หรือ Worldschooling สิ่งหนึ่งที่ผมรู้สึกไม่เหมาะกับผมในความเป็นไอรอนแมนนั้นคือ ตารางซ้อม 10-18 ชม. ต่อสัปดาห์เป็นระยะเวลา 16 สัปดาห์ ซึ่งถือว่าน้อยมากสำหรับระยะนี้ (ผมยังไม่เคยซ้อมได้สม่ำเสมอได้เลย) ทุกวันหยุดสุดสัปดาห์ ชีวิตผมกลายเป็นของไอรอนแมน มีเวลาให้กับครอบครัวน้อยมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งวันหยุด วันครอบครัวของเราถูกเบียดบังด้วยการปั่นยาว 130-150 km เป็นส่วนใหญ่ ในการไป Roth ผมจึงปรับการซ้อมใหม่เล็กน้อย โดย incorperate การปั่นออแดกซ์ และการแข่งขันระยะยาว ๆ เข้าไป เพื่อให้เป็นการเดินทางไปซ้อมของผม ซึ่งจะสร้างบรรยากาศที่ไม่น่าเบื่อสำหรับครอบครัวและลูก ๆ สิ่งที่กัดกินจิตใจของผมมากที่สุด คือ อนุกรมของคำถามจากภรรยาในตอนกลางคืนของทุก ๆ วันในช่วงที่ผมซ้อมค่อนข้างสม่ำเสมอ คือ พรุ่งนี้ทำอะไร เสร็จกี่โมง ถ้าเป็นวันเสาร์อาทิตย์ ผมจะรู้สึกผิดอย่างมากที่จะต้องตอบว่า บ่าย ๆ จะเสร็จ เพราะนั่นหมายถึง เวลาของครอบครัวของเราจะหมดไป หลังจากปั่นยาวกลับมาแล้ว ส่วนใหญ่ผมไม่สามารถทำอะไรได้มากไปกว่านอนพัก ถ้าหากว่าผมต้องการใช้ไลฟสไตล์ที่จะเก็บสะสมสนามไอรอนแมนผมต้องปรับเปลี่ยนอะไรบางอย่าง เพราะ 10 ปีในการสะสมสนามนั้น ผมจะเป็นเช่นนี้กับครอบครัวไม่ได้ ลูกผมจะอายุ 18 และ 17 ผมเองก็เข้า 55 เมื่อหันกลับมาแล้วนั้น ไอรอนแมน แม้จะเป็น Kona ไม่ได้สำคัญอะไรไปกว่าคนตรงหน้าตรงนี้เลย ในการแข่งขันมีคนถือป้ายว่า “If your wife complained, that mean you worked hard for this. Go Go” น่าจะสรุปใจความของชีวิตนักไตรกีฬาได้เป็นอย่างดี แต่ผมต้องการเปลี่ยน perception เหล่านี้ อย่างน้อยที่บ้านของผม

10622870_1376472892393523_2863681320746695892_n

Roth ไม่มีมีการซ้อมตามตารางอย่างตั้งใจ แต่ผมผ่านการปั่นระยะหนัก ๆ อย่าง 400 300 หลายต่อหลายครั้ง มีการปั่นเพื่อหาเส้นทาง ระยะ 100+ อีกหลาย ๆ ครั้ง มีการแข่งมาราธอนหนึ่งรายการ แม้ว่าไม่ได้ซ้อม แต่ไม่ได้ทิ้ง แต่รอบนี้ ผมแทบหาเวลาเพื่อซ้อมไม่ได้เลย จริง ๆ ไม่ใช่เวลา แต่เป็น rhythm ที่เสียไป การเดินทางที่เยอะมาก ๆ ทำให้จังหวะการซ้อมผมเสียไป ผมไม่ได้ตื่นขึ้นมา ซ้อมเล็ก ซ้อมน้อย เก็บเกี่ยวไปอย่างที่เคย ผมไม่สามารถวางแผนเพื่อไปแข่งระยะสั้น ๆ ต่าง ๆ อย่างที่เป็น การเดินทางทั้งหมดเกิดขึ้นจากงาน และไม่ได้มีการใส่การออกกำลังกายที่จะคอยช่วยเติมฐานฟิตเนสขึ้นพื้นฐานได้อย่างเพียงพอ ตั้งแต่ผ่าน Roth มาจนถึงก่อนวันแข่งผมปั่นจักรยานไปแค่ 400 km เฉลี่ยแค่ 32 km/week วิ่งรวมแค่ 60 km เฉลี่ยแค่ 9 กม.ต่อสัปดาห์ ว่ายน้ำทั้งหมด 8000 เมตรเท่านั้น เป็นความ out of shape มากที่สุดในรอบสิบปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม  ผมรู้ตัวดี แต่ก็มองการแข่งขันรอบนี้เป็นโอกาสที่จะได้เรียนรู้ ผมได้ทำกิจกรรมสนุก ๆ คือ การว่ายน้ำระยะ 3000 เมตรข้ามปากอ่าวปัตตานี แล้วปั่นจักรยาน 40 km รอบอ่าว ไปสุดด้วยการวิ่งประมาณ 8 km รอบ ๆ เมืองปัตตานี ในหนึ่งสัปดาห์ล่วงหน้า (จริง ๆ วางแผนเอาไว้สองสัปดาห์ แต่จำเป็นต้องเปลี่ยนแผน) แม้จะไม่ซ้อมมาเลย กิจกรรมที่ว่านี้ทำให้ปลุกกล้ามเนื้อที่หลับไหลของผมขึ้นมาบ้าง flush glycogen เก่า ๆ ใส่ของใหม่ ๆ เข้าไป ในวันถัดไปผมก็พายเรือสำรวจแม่น้ำปัตตานีอีกประมาณ 7 km ซึ่งผมมองว่ากิจกรรมนี้หนักไปเล็กน้อย ทำให้กล้ามเนื้อของผมล้า และเสียเวลาในการสะสมไกลโคลเจนไปอีกหนึ่งวันเต็ม ๆ ห่างเพียง 5 วันจากการแข่งขันครั้งนี้ อย่างไรก็ตาม The Show Must Go On การแข่งขันคราวนี้จะพาผมไปเจอกับ Lower Limit ของการเตรียมตัวสำหรับการแข่งขันระยะทางอย่างไอรอนแมน ในสนามที่ได้ชื่อว่ามีความโหดเป็นอันดับที่สามของโลก ซึ่งน่าจะเป็นเส้นทางปั่น ร่วมกับความร้อนของสภาพอากาศ

รอบนี้เนื่องด้วยความเชี่ยวชาญที่มากขึ้นของภรรยา เราเลือกจองที่พักที่ตำแหน่งใกล้จุดเริ่มต้น เพราะเห็นว่ามีรถ shuttle bus ที่จะคอยลำเลียงนักกีฬาจากจุดสำคัญต่าง ๆ (เอาเข้าจริง ๆ ไม่ค่อยเวิร์คครับ ตามคำบอกเล่าของภรรยา) แต่สำคัญกว่านั้น การเดินทางมารอบที่แล้วที่พักที่นี่ให้คำตอบได้ดี ทั้งร้านอาหารประจำที่เราใช้บริการแทบจะตลอดเวลาที่อยู่ที่ลังกาวี เป็นร้านของชาวออสเตรียที่มีภรรยาเป็นคนไทย อาหารรสชาดถูกปากและเด็ก ๆ ทานฟรี นอกจากนี้ความผ่อนคลายที่ได้จากการพักผ่อนที่นี่ทำให้ผมแทบไม่ได้ไปร่วมกิจกรรมกับทางผู้จัดเลย ด้วยความขี้เกียจ ทำตามความจำเป็น คือการลงทะเบียน ฝากจักรยาน และกระเป๋าต่าง ๆ และสุดท้ายก็รอปล่อยตัว ผมค่อนข้างรู้สึกผ่อนคลายจากประสบการณ์ที่มากขึ้น และแน่นอนการว่ายน้ำซึ่งเป็นกีฬาที่ผมถนัดที่สุด จากการว่ายซ้อมครั้งที่สอง หลังจากกลับมาจาก Roth คือ 6 วันล่วงหน้าระยะ 3000 เมตร ผมทำเวลาได้ค่อนข้างน่าพอใจ แบบสบาย ๆ ผมจึงกะว่าจะไปด้วยสโตรคแบบนั้น ก่อนออกตัวผมมีโอกาสได้พบเจอกับคนไทยแทบครบทุกคนที่มาร่วมกันในครั้งนี้ บรรยากาศแบบที่โรงแรม Alias เหมือนเมื่อปีที่แล้วผมไม่ได้สัมผัส Vangang ไม่ได้รวมตัวกันมาเหมือนปีก่อนหน้านี้ แต่การได้พบเจอคนไทยที่มาตามหาฝัน ก็ทำให้มีความสุขเล็ก ๆ ในใจของผม ยิ่งไปกว่านั้นหลาย ๆ คนมาทักทายผมด้วยคำว่า “ผมอ่านบทความของพี่แล้วเลยตัดสินใจมาลองดู” นั่นหมายความว่าบทความของผมประสบความสำเร็จที่จะทำให้คนไทยหลายคนก้าวออกมาจาก comfort zone ปีนี้ผมเลือก slot ว่ายน้ำตรงกับเวลาที่คาดว่าจะทำได้ เพราะในปีที่แล้ว ผมรู้สึกว่าต้องว่ายแซงมากเกินไปจนหงุดหงิด ผมมีโอกาสผ่านรอบแรกค่อนข้างน่าพอใน แม้ว่าจะเป๋ไปบ้างในช่วงว่ายเข้าหาฝั่งเพราะแดดส่องเข้าตา มองไม่ค่อยเห็นธง ผมทำเวลาได้เร็วกว่าแผนเกือบ 10 นาที แต่ในรอบที่สองผมเริ่มไปเกยอยู่กับช่วงท้าย ๆ ของ เวฟแรก หมวกสีเหลือง โดยเฉพาะช่วงกลับ ทำให้ต้องว่ายเลี้ยวไปมาตลอดเวลา บางครั้งก็หยุดรอเฉย ๆ เพราะมันเริ่มว่ายไม่สนุก สุดท้ายมาจบที่ 4200 กว่าเมตร เวลา 1.19 นาที ตามที่คาดไว้ (ระยะเกินไปหน่อย แต่รอบแรกทำเวลาเผื่อไว้) แตนทะเล หรือ แมงกระพรุนค่อนข้างชุก ตอนนี้ขณะเขียนผมกำลังคันเขยอเต็มไปทั้งหลัง มันคงเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ของนักไตรกีฬา ผมไม่เหนื่อยหรือเมื่อยเลยหลังจากว่ายน้ำ นั่นหมายความว่าผมคุมความเร็วได้ดี ไม่มีอาการที่ต้องหยุด sighting มากจนเกินจำเป็น คิดว่าเป็นเพราะการ marking ของ course ที่มีประสิทธิภาพสูง ติดแค่ช่วงว่ายกลับนั้น แสงแยงเข้าตา

15032372_10153920537457477_724865341_n

รอบนี้ ผมชิล ๆ กับการปั่น เนื่องจากผมไม่ได้ซ้อมจักรยานเลยแม้แต่ครั้งเดียว มีการปั่นไปกินข้าวที่ยะลาเพียงหนึ่งครั้ง และปั่นเพื่อสำรวจเส้นทางออแดกซ์ 200 กม. ในช่วงเดือนกันยายน เป็นครั้งสุดท้าย ผมยังไม่ได้เอา QR ออกมาปั่นเลยแม้แต่ครั้งเดียวหลังจากกลับจาก Roth ผมจึงเลือกที่จะใช้ Cannondale คันเก่าของผม ที่เคยเป็นรถไตรกีฬารุ่นแรก ๆ ของโลก แต่ผมมาแปลงเป็น Road Bike เพื่อใช้ปั่นซ้อม เล็ก ๆ น้อย ๆ พาไปออแดกซ์บ้าง ข้อเสียของคันนี้คือ เป็นรถที่ออกแบบสำหรับการปั่นระยะสั้น เร่งได้เร็ว แต่ปั่นยาว ๆ ไม่ค่อยสบาย และไม่ไหล ซึ่งจะพบว่าเป็นการตัดสินใจที่น่าจะ cost ให้เกิดการ DNF ของผมในที่สุด อย่างไรก็ตาม กว่า 25 ปีที่ผมเล่นไตรมา ผมพาคันนี้แข่งมากที่สุด แต่ยังไม่เคยได้สัมผัสระยะ ฮาร์ฟ หรือ ระดับไอรอนแมนเลยสักครั้ง ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม มันย่อมทำให้ผมมีความสุขเล็ก ๆ กับความหลังของผมบ้าง ผมเริ่มเห็นปัญหาของผมได้อย่างชัดเจนตั้งแต่เริ่มต้น ที่ power meter ผมแบตหมดทำให้ผมต้องใช้ HR ในการคุมการปั่นในสนามนี้ ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ ideal นัก สำหรับสนามที่มีความโดดเด่นที่เส้นทาง rolling แบบบาดหัวใจ พลังงานที่ใช้ในการไต่เขา มีความสำคัญมากสำหรับนักปั่นที่ไม่ฟิตอย่างผม ผมหาซื้อไม่ได้ (เช่นเดียวกันกับตอนที่ไป Roth) สุดท้าย Cyclocomputer ของผมก็มาตายในวันงานพอดี ตอนนี้ผมมีแต่  920xt อย่างเดียวซึ่งจะไม่เพียงพอต่อเวลาทั้งหมดที่ผมต้องใช้ กว่าจะคิดออกว่าผมสามารถใช้การปั่นในโหมด indoor ได้ เพราะจักรยานคันนี้ถูก set up เอาไว้ปั่น indoor เลยมีตัววัดรอบอยู่เพียงคันเดียว ผมก็ปั่นออกตัวมาแล้วประมาณ 2 กม. แต่ก็ยังนับว่ายังเป็นโชคดี ผมไม่ต้องใช้ GPS ในนาฬิกา ซึ่งน่าจะทำให้มีแบตเหลือไปวิ่ง ในขณะที่น่าจะยังพอได้ข้อมูลของ Average ซึ่งจะใช้ในการวางแผนการปั่น ปั่นไปได้ไม่นานนักผมก็เริ่มเห็นปัญหา  HR ผมคงที่ประมาณ 171 ตลอดเวลา ซึ่งอยู่ในระดับ Zone 5 สำหรับผม ผมรู้ว่านั่นไม่ดีแน่ เพราะ ที่ Zone 5 จะต้องใช้พลังงานมากกว่ากว่า Zone 2 เกือบสองเท่า ไม่รวมถึงสัดส่วนการใช้ไกลโคลเจนเทียบกับไขมันยังสูงกว่า ถ้าเป็นเช่นนี้ ผมจะไม่สามารถจบได้แน่ ๆ ถ้าเติมพลังงานไม่ทัน และไม่พยายามใช้ไขมันมากไปกว่านี้ แต่อีกใจก็คิดว่าความเร็วที่ผมได้มานั้นแค่ปริ่ม ๆ 26 เท่านั้นเอง ถ้าเราเลี้ยงตัวเลขนี้ในช่วงแรก ๆ ไม่ได้ ในรอบหลัง ๆ ก็คงไม่ไหว และนั่นเป็นจุดแตกหักในการตัดสินใจที่ส่งผลอันเลวร้ายที่สุดของวันนี้ แน่นอนว่าผมลาก HR 171 มาได้ไม่กี่กิโลเมตร ก็ต้องค่อย ๆ drop เป็น 160 แลกกับความเร็วที่ประมาณ 23-24 เท่านั้น ผมพยายามกินเจลหนึ่งซองทุก ๆ  20 กม. พร้อมทั้งจิบ Isotonic drink ทุก ๆ 15 นาที นรกรออยู่ข้างหน้า นี่คือผลโดยตรงของการไม่รักษาฐาน Cardiovascular ด้วย power เดิม ๆ ผมต้องทำงานหนักขึ้น HR ต้องเต้นสูงขึ้นเพื่อส่งเลือดไปยังตำแหน่งต่าง ๆ ร่างกายไม่สามารถเปลี่ยนพลังงาน จากแหล่งพลังงานที่สำคัญอย่างไขมันได้ทัน ต้องใช้พลังงานเร่งด่วนอย่างไกลโคลเจนที่มีจำนวนจำกัด นอกจากนี้กล้ามเนื้อที่ไม่ถูกฝึกฝนมาเพียงพอ ต้องทำงานหนักต้องการเลือดเข้ามาเลี้ยงเป็นพิเศษ อาการต่อไปที่ต้องตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้คือ GI distress เลือดเข้าไปเลี้ยงระบบย่อยอาหารน้อยกว่าที่ต้องการ ทำให้การย่อยไม่เป็นไปตามที่ต้องการ ร่วมกับการใช้อาหารที่ไม่คุ้นเคย หายนะกำลังค่อย ๆ คืบคลานเข้ามาอย่างช้า ๆ ผมรู้ตัวดี ผมผ่านเส้นทางนี้มาหลายครั้ง

15032387_10153920537807477_1218246198_n

ปีนี้ทางรายการเปลี่ยนจากการใช้ 100plus ซึ่งเป็นเกลือแร่แบบมีอัดลม มาเป็นอีกยี่ห้อนึงที่ไม่มีอัดลม รสส้ม ผมทดลองกินก่อนแข่งไปขวดนึงพบว่ารสชาดใช้ได้ จึงวางใจที่จะใช้ผลิตภัณฑ์ของเขาในการแข่งขัน เพราะส่วนใหญ่ผมจะมีปัญหาเรื่องรับรสชาดไม่ค่อยได้มากกว่าเรื่องอื่น ๆ แต่นั่นเป็นการตัดสินใจที่ผิดอีกเช่นกัน เป็นกฏเหล็กที่สำคัญของนักกีฬาระดับไอรอนแมน แต่เป็นสิ่งที่ผมพยายามจะหาทางออกที่ลงตัว กฏของไอรอนแมนเขาว่าไว้ว่าให้กินอาหารที่ซ้อม และซ้อมกับอาหารที่จะกิน นั่นรวมไปถึงของเหลวด้วย แต่จากปริมาณแกตเตอเรตที่เป็นเกลือแร่ที่ผมมีปัญหาน้อยที่สุด รวมไปถึงการซ้อมพร้อม ๆ กับการกินเจลเป็นระยะเวลานับสิบ ๆ ปีนั้น ไม่เป็นสิ่งที่น่าพิสมัยมากนัก ผมจึงพยายามหาทางออกที่ง่ายที่สุด ด้วยการกินอาหารหลากหลาย กินอะไรที่มีให้กิน แล้วค่อย ๆ รับรู้เรียนรู้กันไป มีอาหารบางอย่างควรต้องระวัง เช่น ผมกินกล้วยเกิน 8-9 ลูกจะเริ่มย่อยไม่ไหว หรือ การไม่ใช้แกตเตอเรด หรือเกลือแร่ในรูปแบบอื่น ๆ เลย เป็นอันตราย เกลือแร่จากอาหารนั้นไม่เพียงพอ อาการเคี้ยวบางครั้งช่วยให้การย่อย หรือการกินง่ายขึ้น สิ่งเหล่านี้เป็นประสบการณ์ที่สะสมเรื่อยมาจากการทดลองจริง ๆ ด้วยตัวผมเอง ถึงกระนั้นก็ตามความประมาทที่จะใช้เครื่องตื่ม Isotonic ที่ผมไม่เคยใช้มาก่อนเลยเป็นเครื่องดื่มพื้นฐานของการแข่งขัน เป็นสิ่งที่ไม่ควรเลยจริง ๆ รสส้ม กับท้องว่าง ๆ นี่ก็เป็นอีกปัญหาที่ไม่น่าเลยที่จะมองข้ามไป

15086217_1378129848894494_417475952_n

ผมกินด้วยตารางเช่นนี้คือ เจลทุก ๆ 20 กม. และจิบ isotonic ทุก ๆ 15 นาที ไปได้จนประมาณระยะ 120 km ผมก็เริ่มมีอาการปวดท้อง คล้าย ๆ จะเริ่มเรอ ย่อยไม่ค่อยดี แต่ผมยังไม่ได้กินอะไรที่ต้องย่อยมากนัก นั่นแสดงว่า sugar concentration ในกระเพาะของผมมันไม่ค่อยสมดุลย์นัก ปัญหาหลัก ๆ ก็มาจากสัดส่วนของอาหารที่ผมใส่ลงไปในระบบ ผมจึงค่อย ๆ หยุด isotonic แล้วเปลี่ยนเป็นน้ำเปล่าแทน แต่อาหารยังไม่หายดี ผมเริ่มกินอะไรไม่ค่อยได้ ก็คิดว่าจะรอจนกระทั่งรู้สึกดีขึ้นสักนิด แล้วค่อยใส่เข้าไปใหม่ แต่นั่นก็เป็นอีกความผิดพลาดหนึ่ง ความเร็วของค่อย ๆ ตกลงเรื่อย ๆ จนในที่สุด HR เหลืออยู่แค่ 140 กว่า ๆ แต่ขากดไม่ค่อยลงทำความเร็วให้ได้ 22 ยังไม่ใช่เรื่องง่าย นั่นมันเป็นอาหารของการขาดพลังงานอย่างชัดเจน แต่ผมยังกินอะไรไม่ลง มันอยากจะออกมาเสียมากกว่า แต่ยังดีที่โชคยังช่วย มีฝนตกลงมาห่าใหญ่ ใหญ่มาก ในช่วงระยะประมาณ 150 km หนักแทบมองไม่เห็นทาง ผมเริ่มหนาวเย็นและเหนื่อย ผมค่อย ๆ รูดซิปขึ้นร่างกายอบอุ่นขึ้นเล็กน้อย ผมชอบปั่นท่ามกลางสายฝน แต่เวลานั้น ผมมีความรู้สึกว่าถ้าเป็นเช่นนี้ต่อไปผมไม่ควรที่จะออกวิ่งต่อ เพราะความเหนื่อยอ่อนจะทำให้ผมรักษาความเร็วไม่ได้ และท้ายที่สุดร่างกายผมจะหนาวสะท้านจนป่วยในที่สุด ในใจตอนนั้นตัดสินใจแล้วว่าผมคงต้อง DNF อย่างแน่นอน เมื่อความเสี่ยงเริ่มค่อย ๆ กองสูงขึ้นมาทุกที แต่หลังจากรูดซิปขึ้นมาตัวอุ่นขึ้น ฝนที่กระหน่ำลงมาทำให้ผมรู้สึกดีขึ้นมาอย่างประหลาด คว้าเจลมาบีบเข้าไปหนึ่งซอง แล้วตามด้วยอีกซองในไม่กี่นาทีถัดมา พลังงานเหมือนเพิ่มขึ้นมาเล็กน้อย ผมจึงเร่งความเร็วเพื่อเข้า T2 แต่ยังเต็มไปด้วยความสับสนปนความไม่มั่นใจ DNF ยังคงวนอยู่ในใจ แต่พบว่าเจอกับคนไทยหลาย ๆ คนในห้อง เชียร์ ๆ กันไป เวลาของผมเหลืออีก 7.30 ชม สำหรับการวิ่ง ถ้าไม่เกิดเหตุการณ์อะไรเลวร้ายมากนัก คงไม่ต้อง DNF ผมคิดเช่นนั้นเลยลุยต่อไป และจะพยายามกินอะไรเท่าที่กินได้

ผมออกวิ่งมาพบกับลูก ๆ และภรรยาของผม ก็เลยเล่าเหตุการณ์ให้ฟังเล็กน้อย ภรรยาเริ่มเข้าใจปัญหา เพราะผมมีปัญหาเรื่องการกินเป็นหลักในทุกครั้งที่ต้อง DNF ผมเลือกที่จะเดินกินแตงโม สลับกับโค้กทุก ๆ สองกิโลเมตร ในใจคิดเช่นนั้น ตอนเริ่มวิ่งรู้สึกค่อนข้างดี กล้ามเนื้อไม่ตึง นั่นหมายถึงผมไม่ได้ใช้กล้ามเนื้อหนักเกินเหตุตอนปั่น นั่นก็เข้าใจได้เพราะไม่มีพลังงานให้ใช้กล้ามเนื้อนั่นเอง ผมวางแผนจะวิ่งไปเรื่อย ๆ แล้วเดินทุกๆ 2 km หลังจากนั้นก็ค่อย ๆ ลดลงเรื่อย ๆ จนเหลือ วิ่ง 800 เมตรแล้วเดิน 200 เมตร พลังงานจาก แตงโม และโค้ก เริ่มเติมไม่พอ แต่ในขณะเดียวกัน ผมค่อย ๆ คลื่นไส้มากขึ้นเรื่อย ๆ ผมไม่แน่ใจว่าขาดโซเดียมหรือไม่ แต่ผมไม่กล้าเติมด้วย Isotonic อาหารที่ให้ก็มีแค่ แตงโม กล้วย และเจล แตงโมผมกินได้ แต่พลังงานไม่ค่อยพอ กล้วยกินแทบไม่ได้ เจลนี่ไม่กล้าแตะเลย ผมก็ลากสภาพร่างกายแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จนระยะประมาณ 25 กม. คนไทยแทบทุกคนแซงผมไปหมดแล้วในระยะนี้ เหลือเพียงตุ๊เพื่อนของผมคนเดียว ส่วนหมอนกแซงผมตั้งแต่ระยะ 14 km แล้ว ท้ายที่สุดมาเจอกับกองเชียร์คนไทย และกองเชียร์เบอร์หนึ่งอย่างซี ท่าทางซีจะเห็นท่าไม่ค่อยดีจึงเรียกให้นั่งพักเพื่อเติมน้ำตาล ได้ลูกอมมาลูกนึงนั่งอมแบบพะอีดพะอมมาก และได้ M&M มาถุงนึงที่ตอนนี้ยังไม่กล้ากินเลย สรุปนั่งพักแป๊บนึง แล้วซีก็ตัดสินใจเดินเป็นเพื่อน ตอนนั้น เริ่มเดิน 500 วิ่ง 500 แล้ว แต่พอซีมาด้วยก็บ่น ๆ ว่าผมเดินที่ความเร็วช้ามาก วิ่งก็ช้าเมื่อเทียบกับความเร็วตอนเดิน ซึจึงตัดสินใจให้ผมเดินเร็ว ๆ โดยจะคอย pace ให้ที่ประมาณ pace 11 ซึ่งจะทำให้ผมเข้าเส้นใจทันเวลาพอดี ผมยังกินอะไรเป็นเรื่องเป็นราวไม่ได้สักที ซีโทรหาภรรยาผมเล็กน้อยเมื่อเจอกับผมในตอนแรก หลังจากนั้นคาดว่ามีการคุยกันผ่านสื่อออนไลน์ อย่างสม่ำเสมอ เพราะผมได้ยินเสียงตลอดเวลา แล้วซีก็เขียนตอบ ในท้ายที่สุด ผมรู้สึกว่ามันทรมานมากเกินไปกับความพะอีดพะอม ความมึนงง ความซวนเซของตัวผมเอง และเลือกที่จะ DNF ตัวเองในที่สุดที่ระยะ 30 km ที่มีซีเดินมาเป็นเพื่อนร่วม 5-6 km ซึ่งมาทราบในภายหลังว่าภรรยาอยากให้ผมหยุด ในขณะที่ซีเริ่มมองว่าผมเดินเซค่อนข้างมาก และอยากให้หยุดเช่นกัน แต่ต้องการให้ผมพูดออกมาจากปากของผมเอง

This slideshow requires JavaScript.

ในฐานะของคนที่เล่นกีฬาโหด ด้วยสภาพของผู้ป่วยโรคตับที่มี ภรรยาเป็นแม่บ้าน พร้อมกับลูกตัวเล็ก ๆ สามคน ในครอบครัวที่ผ่านประสบการณ์เสียลูกไปแล้วหนึ่งคนนั้น ผมไม่ใช่ตัวคนเดียวที่จะสามารถตัดสินใจได้อย่างอิสระ ความเสี่ยงที่ยอมรับได้สำหรับผมนั้นต้องได้รับการยอมรับ ได้รับการเข้าใจจากภรรยาอีกด้วย ไม่เช่นนั้น การใช้ชีวิตแบบนี้จะไม่ส่งผลดีต่อครอบครัวเลย ผมจึงต้องมั่นใจว่าภรรยาเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นกับผม ความเสี่ยงมีมากแค่ไหน และต้องมั่นใจว่าผมเข้าใจตัวเองดี พร้อมกันนั้นผมจะไม่เสี่ยงมากเกินความจำเป็น นี่คือกฏของนักกีฬา extreme ที่มีครอบครัวแบบผม สุดท้ายเมื่อผมค่อนข้างคิดว่าผมมาสุดทางสำหรับปีนี้แล้ว ภรรยาเริ่มมีความกังวลมากแล้ว ซีเองก็เริ่มลังเลบ้างแล้ว (สังเกตุจากการถามให้นั่งพักหลายครั้งขึ้น) ผมบอกซีให้บอกภรรยาผม ว่าวันนี้ผมจะพอเพียงแค่นี้ เราหาที่นั่งพักที่ medic หลังจากนั้น ก็ปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการ ผมเองก็เลื่อนลอยเล็กน้อย มีซีคอยดูแล ความทรงจำก็คล้าย ๆ คนเมาที่เพิ่งฟื้นเช่นเคย แต่ต่างกันกับที่เกิดที่โป่งแยง ที่ค่อนข้างจะเป็นอาการ Hyponat ซึ่งอาการกลับมาดีขึ้นแทบจะทันที่ทีเติมมาม่าเค็ม ๆ เต็มไปด้วยเกลือแร่ แต่สำหรับรอบนี้ผมยังไม่เคยประสบจริง ๆ แต่โดยทั่ว ๆ ไปน่าจะเป็นเพียงการขาดน้ำตาล ที่ทำให้ขาดพลังงาน แต่อาจจะร่วมกับอาการ GI distress ที่เป็นมาตั้งแต่เที่ยง ทำให้อาจจะสับสนเล็กน้อยว่าเกิดอะไรขึ้น ผมกลับมาห้องไม่รู้สึกว่า dehydrate มากนัก เพราะเคยเป็นมากกว่านี้ ในช่วงสุดท้ายของการปั่น กรุงเทพ หาดใหญ่ ที่เหลือปั่นอยู่คนสุดท้าย แต่ไม่มีอาการอื่นร่วมในลักษณะนี้ สุดท้ายคงน่าจะเป็นแค่น้ำตาล ที่เหมือนว่าร่างกายของผมในระยะหนึ่งที่ขาดน้ำตาลนั้นจะไม่สามารถเติมกลับมาได้ทันทีจนทำให้ร่างกายทำงานได้เหมือนเดิม ก็นับว่าโชคดีที่มีซีคอยเดินข้าง ๆ ไม่เช่นนั้น 5 กม. สุดท้ายของผมคงยาวนานกว่านี้อีกมากนัก รอบนี้ผมใช้เวลาพักฟื้นนานกว่าเคย ผมต้องทานข้าวมื้อสุดท้ายของวันประมาณ สองทุ่มของอีกวันถัดมาจึงจะพบว่าร่างกายเริ่มกลับสู่สภาพปกติอีกครั้ง อาจจะเป็นอาการร่วมของโรคตับ ซึ่งผมไม่ค่อยแน่ใจ และอาจจะไม่มีวันได้เข้าใจ

15027484_1159108114138743_3159324946003359463_n

สุดท้าย ผมมาแข่ง Ironman Langkawi 3 ครั้ง ผ่านเพียงครั้งเดียว สุดท้ายสนามนี้เป็นความทรงจำดี ๆ ของผม ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องใด ๆ กับการจบหรือไม่จบ ผมมาลองเป็นครั้งแรกที่นี่ ผมได้แข่งเพื่อระดมทุนครั้งแรกกับรายการนี้ ผมดีใจที่สุดที่หมอนก จากที่ไม่กล้าว่ายน้ำ มาลงครั้งแรกที่นี่กับผม ผมดีใจที่สุดที่ตุ๊ที่มีว่ายน้ำเป็นอุปสรรค จากที่เขาไม่เคยมองอะไรเป็นอุปสรรค มาก้าวข้ามมันกับผมที่นี่ สนามนี้ยังคงเป็นความทรงจำดี ๆ ไม่ใช่หมู แต่ผมยังเชื่อว่าคนที่ตั้งใจจริง ๆ จะทำได้กันทุก ๆ คน ลังกาวีในสามปีที่ผ่านมานี้สอนผมหลาย ๆ อย่าง ให้ผมหลาย ๆ อย่าง ผมเรียนรู้การก้าวข้ามจุดที่ไกลโคลเจนไม่เพียงพอ ถึงสองครั้งสองครา ในครั้งแรกจากอาการร่วมของการใช้ยาอินเตอฟูรอน ในครั้งที่สองเกิดจากการเผาหัวตั้งแต่เริ่มต้นเหตุจากความอ่อนซ้อมอย่างหนัก และลังกาวียังสอนผมถึงการเดินทางสู่ไอรอนแมน ที่นำมาสู่ความสำเร็จบนสนาม Challenge Roth ในเวลาต่อมา สนามนี้ยังคงเป็นความทรงจำที่ลูก ๆ ทุกคนของผมพบสัมผัสแรกของการแข่งขัน เป็นสนามที่เพื่อนร่วมทีมทั้งสองคนของผม ได้ก้าวข้ามอุปสรรคของการว่ายน้ำสู่ความเป็นไอรอนแมน ผมเองไม่มั่นใจว่าเพื่อนทั้งสองมีเป้าหมายใด กับคำว่าไอรอนแมน ที่จริง ๆ แล้วพวกเขาก้าวผ่านความท้าทายยากยิ่งกว่าไปแล้ว ถ้านี่เป็นเพียง bucket list ของพวกเขา นี่อาจจะเป็นครั้งสุดท้ายในสนามไอรอนแมนที่เราสามคนจะได้แข่งร่วมกัน แม้ว่าผมจะไม่ได้มีโอกาสไปร่วมยินดีกับพวกเขาในวันนั้น ผมก็ขอแสดงความยินดีกับพวกเขาในตอนนี้

15049541_1521040467913033_1176135719_n

สำหรับผมเอง ลังกาวี ได้เปิดประตูของผมกับครอบครัว ผมเริ่มมองเห็นแล้ว ใคร ๆ ก็เป็นไอรอนแมนได้จริง แต่ฐานความฟิตของร่างกายต้องรักษาไว้ระดับหนึ่ง ระดับที่สามารถยืนความเร็ว 23-24 km/hr ที่โซนสองได้ สามารถว่ายน้ำ 3.8 km ในเวลาประมาณ 2 ชม. ได้ และวิ่ง ๆ เดิน ๆ ภายใน 7 ชม. ได้สำหรับระยะมาราธอนที่เหลือ สิ่งที่สำคัญกว่าคือ โซนสองโซนสาม ไม่มากไปกว่านั้น ไม่เหนื่อยจนกินไม่ได้ เพราะท้ายที่สุด การเติมพลังงาน การรักษาสมดุลย์ของเกลือแร่จะเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด และสุดท้ายผมพอที่จะรู้แล้วว่า ผมและครอบครัวจะเดินทางไปสู่ Legacy Program แบบมีความสุขร่วมกันทั้งครอบครัวได้อย่างไร

Ironman is not for selected few but only few possess Ironwill.

ปรุงชีวิต :ปัจฉิมกถา

หากจะเปรียบเทียบชีวิตของอ.อาร์ม เป็นเมนูอาหาร ชีวิตอาจารย์น่าจะเป็นอาหารจานเดียว ที่มีครบรสชาติ สีสัน และสารอาหาร อาจจะเป็นสลัดเนื้อย่าง ข้าวยำไข่ต้ม หรือนาซิดาแก ชีวิตของอาจารย์ไม่แยกจานหรือสำรับ ไม่มีถ้วยน้ำแกง น้ำซุป หรือซอสมะเขือเทศ ที่แยกภาชนะโดดเดี่ยว แต่ทุกภาคส่วนในชีวิตถูก “ปรุง” ให้กลายเป็นจานเฉพาะของตัวเอง และเชื่อมโยงกับปัจจัยอื่น ๆ ของชีวิตอีกด้วย

การทำงานประจำด้วยการเป็นอาจารย์และนักวิจัยคิดค้นด้านนวัตกรรมยางพารา เป็นส่วนเสริมของกันและกันกับงานธุรกิจของครอบครัวที่คิดค้นและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่นอนจากยางพารารายแรกในประเทศไทย นอกจากนี้ อาจารย์เป็นนักกีฬาประเภทไตรกีฬาที่ได้เชื่อมโยงชีวิตครอบครัวที่มีภรรยาและลูก ๆ อีกสามชีวิต เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการซ้อมและการแข่งขัน จนกีฬาเหล่านี้ทั้งวิ่ง ปั่นจักรยาน และว่ายน้ำกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมครอบครัวได้อย่างกลมกลืน

กิจกรรมล่าสุดที่อาจารย์ได้เป็นทั้งผู้ริเริ่มผลักดันและลงมือทำกิจกรรมนั้นอย่างจริงจังสม่ำเสมอในตอนนี้คือ กิจกรรม Pattani Trash Hero ซึ่งเป็นกิจกรรมเพื่อบ้านเกิดจากสองมือเปล่าของกลุ่มคนที่จะช่วยกันเก็บกวาดขยะในบ้านของเราให้หมดไป โดยเน้นพื้นที่ไปที่ชายหาดในอำเภอยะหริ่ง กิจกรรมริเริ่มมาจาก Trash Hero ของชาวต่างประเทศในพื้นที่ฝั่งอันดามัน กิจกรรมนี้ก็เชื่อมโยงไปสู่การนำเอาขยะจากทะเลจำนวนหนึ่งกลับมาผ่านกระบวนการผลิตเป็นรองเท้าที่ชื่อว่า “ทะเลจร” ที่ได้สร้างแรงสะเทือนการรับรู้ไปในวงกว้างมากขึ้นเรื่อย ๆ ในหมู่นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทั้งภายในและต่างประเทศ

ในทุก ๆ สถานะและทุก ๆ กิจกรรมที่ทำ อาจารย์อาร์มได้ย้ำเสมอถึงจุดสำคัญของการลงมือทำอย่างสม่ำเสมอ จะเล็กจะใหญ่ จะมากจะน้อย ไม่ใช่เป็นสิ่งที่สำคัญไปกว่า “ความสม่ำเสมอ”

ข้างต้น เป็นคำกล่าวแนะนำองค์ปาฐกที่คณบดีคณะวิทยาการสื่อสารได้กรุณาเรียบเรียง ในวันที่เชิญผมไปพูดคุยให้กับนักศึกษาที่กำลังจบการศึกษา แม้ว่าการพูดคุยไม่ใช่เรื่องที่ยุ่งยากนักสำหรับผม แต่การปาฐกไม่ใช่สิ่งที่ง่ายสำหรับผม และในวันนั้นผมไม่คิดว่าผมทำได้ดีนัก จากความทรงจำที่ยังพอมีอยู่ แต่เพื่อไม่ให้โอกาสที่มีการตั้งคำถาม ด้วย keywords หลาย ๆ คำที่ได้ถูกโยนออกมา และผมได้โยนออกไป ผมจึงถือโอกาสเขียนความคิดความเห็นไล่เรียงไว้อีกครั้ง เพื่อเตือนความทรงจำว่าครั้งหนึ่งผมต้องการเล่าอะไรประมาณนี้ออกไป แม้ว่าอาจจะไม่ได้สื่อสารได้ตรงอย่างที่ใจคิด

13245287_241692246197831_5594295152584959871_n

จากวันที่เริ่มคุยกันถึงความเป็นไปได้ในการเป็นองค์ปาฐก ในเบื้องต้นเราคุยกันถึงแง่มุมของความแตกต่างในการเลือกใช้ชีวิต เรามองถึงความขวางโลกอย่างสร้างสรรค์ ทำให้ผมมองไปถึงประเด็นของ group psychology ประเด็นของ stereotype และ personal judgement เป็นส่วนใหญ่ในการที่จะคิดว่าจริง ๆ แล้วทางคณะมองเห็นผมในประเด็นใด แต่สุดท้ายเมื่อชื่อของการปัจฉิมกถา ออกมาเป็นคำว่า “ปรุงชีวิต” ทุกสิ่งทุกอย่างที่คิดเตรียมไว้ ก็ต้องเปลี่ยนไป ซึ่งในคำ ๆ นี้ ผมสามารถคิดได้อย่างเดียวคือคำว่า “สมดุลย์” และในความสมดุลย์นั้น ผมอยากที่จะสื่อให้ทุกคนมองว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องง่าย ๆ ที่หลาย ๆ คนแม้แต่องค์ปาฐกในหลาย ๆ งานนั้นพยายามทำให้มันดูเป็นเรื่องยาก เป็นความสำเร็จที่มีน้อยคนเท่านั้นที่จะทำได้ แต่ผมอยากจะบอกว่าเราเพียงใช้ชีวิตที่สมดุลย์ และความสมดุลย์นั้นเป็นสิ่งง่าย ๆ ที่มาตามธรรมชาติถ้าเราไม่ได้ไปฝืนอะไรมัน แล้วใคร ๆ ก็ตามก็สามารถทำได้ง่าย ๆ ตามคำพูดของโจน จันได ปราชชาวบ้านที่ผมเรียกเป็นครู ในฐานะที่ผมได้มีโอกาสไปเรียนรู้วิธีการทำบ้านดิน แต่ได้ปรัชญาชีวิตง่าย ๆ นี้กลับมา

ในวันที่เริ่มมีการประชาสัมพันธ์ ผมก็มาสะดุดกับหัวข้อของกิจกรรมที่เรียกว่า วิชาสุดท้ายที่มหาลัยไม่ได้สอน ซึ่งทางคณะได้ขออนุญาตินำเอาชื่อหนังสือแปลปาฐกชื่อดังของหลายมหาวิทยาลัยมารวมเล่มไว้ด้วยกัน ในใจผมเมื่อได้เห็นชื่อกิจกรรมก็อดที่จะถามตัวเองติดตลกไม่ได้ว่า มีวิชาอะไรอีกหรือที่มหาวิทยาลัยไม่ได้สอน ในเมื่อวันแรก ๆ ที่ผมกลับมาทำหน้าที่อาจารย์ในมหาลัยก็พบรายวิชาที่สอนการ save file เปิดปิดคอมพิวเตอร์ การใช้ Word Excel การใช้ชีวิตอย่างชาวมุสลิมให้กับนักศึกษา 90% ที่เป็นมุสลิม มันยังเหลือวิชาอะไรอีกหรือ ผมโยนคำถามนี้ลงไปใน Facebook เพื่อขอความเห็น และมีคำตอบหนึ่งที่น่าสนใจ ชนกับความคิดของผมพอดีนั่นคือ “Life is not that fucking complicated and people are full of shit. That’s what they are not telling you in the university.” ผมตีความหมายเข้าข้างตัวเองว่า นั่นหมายถึงชีวิตเป็นเรื่องง่าย แต่คนส่วนใหญ่พยายามบอกหรือทำว่ามันยากนั่นเอง ผมพยายามเอาสองสามคำนั้นมายำ ๆ กันแล้วคิดคร่าว ๆ ว่าควรจะเล่าอะไรให้ฟังบ้าง

12741983_1287010017982747_5970979906565796934_n

เมื่อถึงวันจริง เมื่อได้ยินคำกล่าวแนะนำ จึงได้ตระหนักว่าจริง ๆ แล้ว สิ่งที่ผมต้องการจะบอกเล่านั้น ได้ถูกกลั่นกลองออกมาแล้ว สิ่งที่ผมควรจะเสริมจึงควรจะเป็นเรื่องราวที่เป็นส่วนตัวมากสักหน่อย แล้วน่าจะเป็นความเห็น รวมไปถึงเนื้อหาประมาณ How To แต่ในเสี้ยววินาทีที่พยายามเรียบเรียงทุก ๆ อย่างนั้น ผมก็หลุดไปกับอารมณ์เล่าให้ฟัง ตามนิสัยที่คุ้นเคย ผมชอบเล่า ชอบถูกถาม เพื่อจะได้เล่า มากกว่าที่จะให้แต่งเรื่องมาเล่าให้ฟัง ซึ่งอาจจะต่างจากการเขียนที่ผมชอบแต่งเรื่องมาเล่าให้ฟังในรูปแบบของการเขียน แต่เมื่อมีผู้ฟัง ผมอยากมากกว่าที่จะ be spontanious และตอบสนองกับผู้ฟังที่อยู่ตรงหน้า ทำให้การพูดคุยของผมแทบทุกครั้ง จับเอาสาระอะไรออกมาไม่ค่อยได้

คลิปของการพูดคุยในวันนั้น

ตั้งแต่วัยเด็ก ในใจลึก ๆ ของผมบอกตัวเองเสมอว่าผมนั้นมีความสนใจที่จะเรียนรู้หลายสิ่ง ในความหมายของคำว่าเรียนรู้ ผมหมายถึงการขุดเข้าไปลึกถึงจุดหนึ่ง ในคำว่าหลากหลายสิ่งอย่างนั้นผมแทบจะไม่กำหนดข้อแม้ใด ๆ ไว้เลย ด้วยลักษณะนิสัยเช่นนี้ทำให้ผมพยายามสร้างชีวิตตัวเองให้หลากหลายโดยเมื่อมองจากระยะไกลนั้นจะถูกมองว่าเกิดความสมดุลย์ ในวัยเรียน การเรียน กีฬา สังคม และดนตรี เป็นความสมดุลย์ เป็นสิ่งที่ผมแบ่งเวลาให้อย่างสมดุลย์ ผมมีผลการเรียนระดับแนวหน้าของประเทศในวัยเด็กที่ยังไม่เล่นดนตรี เมื่อโตขึ้นแบ่งเวลาให้สังคม การเรียนก็ตกมาในระดับเพียงที่สามารถชิงทุนได้ เมื่อรับทุนเรียนในมหาวิทยาลัยที่มีอันดับในสาขาสูงสุด Top 5 ของโลกได้ การเพิ่มเรื่องของดนตรีเข้าไป เพิ่มความเข้มข้นของกีฬา และการแสวงหาตัวตนด้านอื่น ๆ การเรียนก็ต้องตกลงมาในระดับที่เพียงสามารถผ่านจบการศึกษาได้เพียงเท่านั้น นั่นคือความสมดุลย์ในความจำกัดของทรัพยากรที่เรียกว่าเวลา แต่ในความสมดุลย์นั้นทำให้ผมเป็นหนึ่งในวิศวกรเครื่องกล ที่เรียนทุกรายวิชาของวิศวกรรมอุตสาหการ จบ Ph.D. ด้านวิศวกรรมพอลิเมอร์ ด้าน processing and rheology ที่มีเพียงไม่กี่คนในโลก เป็นนักไตรกีฬาระดับ Top 5 ในสนามแถบ ๆ Ohio ที่มีเพื่อนหลากหลายทั้งไทย ฝรั่ง เอเชีย ประสบการณ์เรียนกีตาร์คลาสสิคที่ Cleveland Institue of Music อีกสองปีกว่า ๆ ไปจนสามารถทำกีตาร์คลาสสิคด้วยตัวเอง รวมไปถึงการฟังดนตรีคลาสสิคและแจ๊สอย่างถึงกึ๋น แน่นอนว่าผมสามารถคุยเรื่องราวเหล่านี้กับคนทั่วไปได้ลึกกว่า 80-90% ของคนปกติ แต่ไม่ได้เชี่ยวชาญเหมือนมืออาชีพในด้านนั้น ๆ

ในวัยประถมในวันที่เพื่อน ๆ ชวนกันไปเรียนว่ายน้ำผมก็ร่วมด้วย แต่ไปให้ถึงจุดที่แข่งขันข้ามจังหวัด ชัยชนะแรก ๆ ของผมเริ่มต้นที่ ป.1 ชีวิตเริ่มเข้าใจคำว่าฝึกซ้อม ม.ต้น ผมก็เลือกที่จะเล่นกรีฑาเสริมจากว่ายน้ำ ทั้งประเภทลู่และลาน เก็บเหรียญ ประสบการณ์ ฝึกซ้อมเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต สมดุลย์ระหว่างเรียน เล่น ซ้อม สุขภาพ วินัย สังคมในมุมต่าง ๆ ก่อตัวอย่างช้า ๆ เมื่อโอกาสเปิดผมทุ่มเทให้กับการเป็นนักดนตรีในช่วงสุดท้ายของมัธยมต้น ซ้อมหนักขึ้นอีกหลายระดับ เข้าแข่งขันในระดับประเทศ เป็นประสบการณ์และการฝึกตนที่สำคัญ ในขณะที่ด้านการเรียนยังคงไปได้ดี ไม่ใช่ที่หนึ่งของโรงเรียน แต่เป็นที่พึ่งของเพื่อน ๆ ห้องบ๊วย และเป็นตัวแทนของโรงเรียนบ้างตามแต่โอกาสจะอำนวย ในมัธยมปลายที่ย้ายโรงเรียนมาเป็นโรงเรียนเด็กเรียนที่กีฬาเป็นเรื่องรอง ผมก็เลือกที่จะซ้อมว่ายน้ำอยู่คนเดียวแทนที่จะไปเรียนพิเศษเหมือนคนอื่น แล้วใช้เวลากลางคืนอ่านหนังสือ น่าจะเป็นช่วงที่เป็นจุดสูงสุดของการเรียนเพราะเป็นช่วงที่สอบได้ระดับต้น ๆ ของประเทศ ผมใช้เวลาเหลือทั้งหมดของผมในการเล่นกีฬา ไม่ว่าจะเป็นว่ายน้ำหรือเทนนิส การเตรียมสอบทำเท่าที่จำเป็น เพื่อที่จะสอบได้คะแนนสูงกว่าคนสุดท้ายของคณะไปเพียง 10 คะแนน แต่ก็เป็นคณะที่คะแนนสูงที่สุดในยุคนั้น นี่คือความสมดุลย์ ระดับมหาวิทยาลัยทักษะว่ายน้ำของผมไม่สามารถแข่งขันกับเด็กเมืองได้ ผมต้องเปลี่ยนมาเล่นโปโลน้ำ ซึ่งก็อยู่ในระดับประเทศ แม้ว่าจะไม่เคยชนะแชมป์ประเทศไทย หรือ อุดมศึกษา แต่ส่วนใหญ่ทีมของผมก็ได้เหรียญเงิน โลกของมหาวิทยาลัยกว้างขึ้น ความสมดุลย์ถูกแบ่งสรรปันส่วนมากขึ้น งานคณะที่ผมเลือกเป็นทีม entertain ในกิจกรรมรับน้อง การเป็นนักกีฬาของคณะ ของมหาวิทยาลัย ผมเริ่มทำงานแปลก ๆ เช่น รณรงค์การปั่นจักรยาน เริ่มจากตัวคนเดียว ไปช่วยชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย เริ่มแข่งขันกีฬาแบบใหม่ วิ่งมาราธอน ต่อด้วยทวิกีฬา การเรียนจึงต้องลดเหลือเพียงเท่าที่จำเป็น จาก Top 10% ของคณะไปจนเหลือเพียง 2.76 ในวันจบการศึกษาเพียงเพื่อสิทธิ์ในการสอบชิงทุน ผมยังคงนำทักษะทางกีฬาไปใช้ในการเรียนต่อที่ต่างประเทศ ทั้งเตรียมทีมโปโลน้ำแข่งขันกับมหาวิทยาลัยอื่น การเป็นนักไตรกีฬาในอเมริกา ตะเวณแข่งไปทั่ว ขณะที่เรียน ป.โท ป.เอก ตีพิมพ์เพียงเท่าที่จำเป็น แม้ว่าทางหลักสูตรจะไม่บังคับแต่ที่ปรึกษามักจะขอให้มี ป.โทหนึ่ง ป.เอกสอง ผมต่อรองจนเหลือแค่ ป.เอกสอง เพราะในช่วงปลาย ๆ ของการศึกษาผมเริ่มใช้เวลากับการเรียนดนตรี ทำกีตาร์ เริ่มอาชีพการสร้าง template ของ website และการขายของออนไลน์ ซึ่งจะเห็นว่าในช่วงชีวิตตั้งแต่เด็กจนจบการศึกษานั้น ผมไม่เคยทุ่มเทให้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพียงอย่างเดียวเลย และเปิดโอกาสให้ตัวเองได้เรียนรู้ ทักษะใหม่ ๆ ประสบการณ์ใหม่ ๆ โดยยอมสูญเสียความเป็นหนึ่งในด้านอื่น ๆ ไปตามที่จำเป็น ในมุมมองผม ผมเรียกมันว่าสมดุลย์ แต่คนอื่น อาจจะมองว่าไม่ทุ่มเท ก็เป็นได้ แต่ผมคิดจริง ๆ ว่า ผมไม่รู้ว่าคำตอบของชีวิตคืออะไร เส้นทางใด ๆ นั้นล้วนแล้วแต่ใครจะตัดสิน จึงไม่ต้องสนใจใคร

10399943_1318573188159763_5051189311191381631_n

ผมใช้หลักการเดียวกันนี้เมื่อกลับมาทำหน้าที่ที่ประเทศไทย ทั้งหน้าที่ของลูกที่มารับหน้าที่ต่อจากพ่อแม่ในกิจการของครอบครัวและหน้าที่ชดใช้ทุนของกระทรวงวิทย์ในฐานะอาจารย์ ความสมดุลย์จึงต้องถูกสร้างระหว่างหน้าที่ในกิจการเอกชน และราชการ แน่นอนว่าเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงที่สุดผมต้องพยายามหาจุดร่วมกันให้มากที่สุด ในความเป็นอาจารย์นั้นมีภาระงานที่ถูกจัดออกเป็นงานสอน งานวิจัย บริการวิชาการ และทำนุบำรงวัฒนธรรม ซึ่งในสองหัวข้อหลังมีความคลุมเคลือจนผมคิดว่ามีไม่กี่คนเข้าใจว่าจริง ๆ มันคืออะไร ในขณะเดียวกันก็ถูกจัดให้แบ่งงานไปให้ไม่มากนักรวมกันไม่เกิน 20% ผมจึงแบ่งชีวิตด้านการงานของผมออกเป็นงานสอน งานวิจัย และงานโรงงาน ส่วนชีวิตส่วนตัวก็เป็นเรื่องของสังคม ดนตรีและกีฬา ในช่วงแรก ผมสร้างสังคมจากเรื่องราวของดนตรี ทั้งเรื่องดนตรีคลาสสิค แจ๊ส คอนเสริต จนกระทั่งมีเรื่องราวของครอบครัวเข้ามา ก็เริ่มแบ่งเวลาจากดนตรีมาให้ครอบครัว เริ่มผสมกีฬาและครอบครัวเข้าด้วยกัน จนสุดท้ายเมื่อต้องมีการ homeschool ลูก ๆ ก็เริ่มเอางานกับครอบครัวมาปนกัน ตอนนี้ใกล้ถึงจุดที่ลูก ๆ เริ่มเข้าใจดนตรีมากขึ้น ก็กำลังพยายามเอาดนตรีกลับเข้ามา ชีวิตในช่วงนี้จึงเป็นเหมือนกับอาหารจานเดียวที่มีครบทุกสิ่ง ในทุกมิติอย่างที่คณบดีได้กล่าวไว้ในช่วงต้น แต่มันไม่ได้เป็นเช่นนั้นในวันแรก และไม่ได้เป็นอาหารจานนั้น ๆ ในทุก ๆ ช่วงของชีวิต แม้จะเป็นอาหารที่ค่อนไปทางอาหารจานเดียวมากกว่าอย่างอื่น

อย่างไรก็ตามชีวิตครอบครัวไม่สามารถดำเนินไปได้อย่างราบรื่นถ้าการตัดสินใจเลือกคู่ชีวิตผิดพลาด แม้จะดูว่าไม่มีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับเนื้อหานี้เลย แต่เป็นเหตุผลที่ยิ่งใหญ่ ผมค่อนข้างเป็นคนที่ให้ความสำคัญในเรื่องของคู่ชีวิตค่อนข้างมาก แม้ว่าภายนอกผมจะถูกมองว่าเป็นคนเจ้าชู้ แต่มันก็แฟร์ที่จะมองเช่นนั้นจากคำจำกัดความ เนื่องจากเรื่องคู่ชีวิตเป็นสิ่งที่สำคัญผมจึงเปิดโอกาสให้ตัวเองอย่างมากในการศึกษาคนที่จะมาเป็นคู่ชีวิตของผม และผมเชื่อในหลักสถิติ จำนวนมาก ๆ ย่อมได้เปรียบ แม้กระนั้นก็มีหลายคนที่ผมคบหาดูใจเป็นเวลาหลาย ๆ ปี แต่สำหรับผู้โชคร้ายที่ถูกเลือกนั้น ผมใช้เวลาในการทำความรู้จักเพียงแค่ไม่เกินหนึ่งหรือสองเดือน และรวบรัดแต่งงานภายในระยะเวลาเพียงสามเดือนเท่านั้น มี value หลัก ๆ เพียงไม่กี่ข้อ แต่หักงอไม่ได้เลยสำหรับผม นั่นคือ ผมต้องการชีวิตครอบครัวที่คำว่าครอบครัวต้องมาก่อน สมดุลย์ของผมเริ่มจากครอบครัว เวลา ความสุข ผมจึงต้องการที่จะมีลูกค่อนข้างเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ (แม้จะไม่ได้เร็วดั่งหวัง) ผมต้องการให้ภรรยาเป็นแม่บ้านเพราะงานดูแลลูก เราจะไม่ให้ใครอื่นมาแย่งไป นั่นหมายถึงเราจะต้องสูญเสียรายได้ครึ่งหนึ่งที่ภรรยาจะสามารถจัดหาได้ ผมบอกอย่างชัดเจนเรื่องความประหยัดในรูปแบบของผม กฏกติกามารยาท เพื่อที่จะเข้าใจกันตั้งแต่วันแรก หลังจากนั้น ผมวัดจากปฏิกิริยา ผมจึงเลือกคนที่มาเป็นคู่ชีวิต ทุกสิ่งทุกอย่างภายหลังการแต่งงานนั้น เป็นไปได้เพียงเพราะอีกครึ่งหนึ่งของชีวิตของผมเห็นด้วย แม้ว่าผมจะมีความคิดย้อนแยงกับสังคม ในเรื่องใด ๆ สมดุลย์ในรูปแบบของผมที่ต้องทิ้งรายได้ที่น่าจะได้ การใช้ชีวิตประหยัดกับหลาย ๆ สิ่งที่สังคมไม่ต้องการประหยัด เช่น รถ บ้าน เสื้อผ้า แม้แต่ first impression ทุกสิ่งล้วนต้องขอวีซ่ามาแล้วทั้งนั้น แน่นอนว่ากิจกรรมกีฬาท้าความตายอย่างการปั่นจักรยานเดี่ยวข้ามวันข้ามคืนจากกรุงเทพเพื่อลงมาหาดใหญ่ ก็ต้องมีวีซ่ามาแล้ว สิ่งเหล่านี้เหมือนเป็นความบังเอิญแต่เป็นการจัดตั้งที่มีการเตรียมงานมาอย่างแยบยล ผมเชื่อว่าภายหลังแต่งงาน ผลงานทุกอย่าง สิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดเป็นสิ่งที่เกิดจากผมและคู่ชีวิต ไม่ใช่ตัวคนเดียวอย่างที่หลาย ๆ คนพยายามมอง และนี่เป็นอีกหนึ่งความสมดุลย์ภายในครอบครัวที่เราสร้างไว้

สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งหมด ถ้าจะว่าไปแล้วไม่ได้มีอะไรยิ่งใหญ่เกินธรรมดา การทำให้เกิดขึ้นได้นั้นไม่ใช่เรื่องราวที่ใช้ความทุ่มเทหรือความสามารถพิเศษใด ๆ ทั้งสิ้น เพียงแต่การยอมรับในข้อจำกัดของเวลาที่มีเพียง 24 ชั่วโมง ความสำนึกในหน้าที่ทั้งต่อครอบครัว ต่อพ่อแม่ ต่อประเทศชาติ และต่อตนเอง ทางออกเช่นอื่นนั้นจึงไม่มี  นอกจากจะต้องทำทุก ๆ อย่าง ไม่เลือกที่จะทิ้งภารกิจครอบครัวให้เป็นของภรรยา หรือทิ้งเรื่องของสุขภาพเพื่อสิ่งอื่น ๆ การมองอนาคต และการจัดความสำคัญจึงมีส่วนเข้ามาเกี่ยวข้อง ในช่วงแรกงานวิจัยก็เลือกทำงานวิจัยเกี่ยวกับฟองน้ำเพื่อที่จะใช้ในโรงงานได้ด้วย แต่ท้ายที่สุดมีการตำหนิว่าเป็น conflict of interest จากผู้ประเมินงานวิจัยท่านหนึ่ง แม้ว่าจะแค่เปรย ๆ ท้ายที่สุดจึงเปลี่ยนเป็นงานวิจัยด้านอื่นแทน แต่แล้วงานวิจัยชุดหลัง ๆ ก็กำลังจะกลายเป็นโรงงาน เพราะหลักสูตรถูกออกแบบมาให้ผลิตคนให้อุตสาหกรรม และสร้างงานให้อุตสาหกรรม มันเป็นไปไม่ได้เลยที่งานวิจัยที่เสร็จสิ้นจะไม่กลายมาเป็นธุรกิจใหม่ ๆ ส่วนรางวัลต่าง ๆ หรือ สิทธิบัตรที่ถูกมองว่าเป็นผลงานต่าง ๆ โดยบุคคลอื่นนั้นก็เป็นไปตามเส้นทางของงานวิจัยที่จะต้องเกิดอย่างเลี่ยงไม่ได้ แม้ว่าจะไม่ใช่แผนการ ไม่ใช่เป้าหมายเลยก็ตาม ในขณะที่งานด้านกีฬาก็ขยายจากนักกีฬา ที่หลากหลายขึ้นตามบริบทที่เปลี่ยนไปของชีวิตและครอบครัว จากผู้เล่น ค่อย ๆ กลายเป็นผู้จัด จากการแข่งกีฬาเริ่มแบ่งปันความรู้ในฐานะผู้รู้ รุ่นพี่ โคช ตามแต่บริบทและโอกาส ในที่สุดก็ได้มีโอกาสเริ่มงานที่เป็นงานทางสังคมมากขึ้นแม้ว่าในความเป็นจริงแล้วไม่ได้ชอบเข้าสังคมวงกว้างมากนัก งานวิจัยที่เริ่มส่งประโยชน์กับสังคม งานกีฬาที่ตอบโจทย์ด้านสังคม ทั้งหมดทั้งสิ้นก็เปิดโอกาสให้กับครอบครัวได้มีส่วนร่วมในทุก ๆ เรื่องทุก ๆ งาน ให้โอกาสลูก ๆ ได้เรียนรู้ ได้สัมผัสเมื่อพร้อม

10906391_1013371925346559_3845583309141289464_n

ผมได้มีโอกาสแชร์เรื่องราวชีวิต งาน ครอบครัว และสิ่งต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นมาผ่าน Facebook  ไปบ้างแล้ว หลาย ๆ คนที่อ่าน blog ของผม ก็น่าจะเป็นเพื่อนกันใน Facebook กันหมดแล้ว หลากสิ่ง สมดุลย์ ทำให้ง่าย แค่ได้ทำ เป็น keywords ที่ผมเลือกใช้ตลอดชีวิต conflict ต่าง ๆ ที่ถูกมองจากภายนอกจริง ๆ เป็นสัดส่วนที่ทำให้เกิดความสมดุลย์ ความเจ็บป่วยที่ถูกตอบด้วย extreme sport, introvert ที่สร้างสรรค์งานเพื่อสังคมที่หลากหลาย, บุคลากรทางการศึกษาที่ตอบคำถามความล้มเหลวของระบบด้วยการ homeschool ลูก ๆ ทั้งหมดทั้งสิ้นเป็นกระบวนการ just do it แบบไม่คิดมากเพื่อให้เกิดความสมดุลย์ทั้งสิ้น สมดุลย์นี้ถูกมองจากทุก ๆ มิติ เท่าที่ความลุ่มลึกในชีวิต อายุ ของผมจะสามารถทำความเข้าใจได้ เฉกเช่น อาหารจานเดียวที่สมดุลย์ทั้งรสชาติเปรี้วหวานมันเค็ม สมดุลย์ด้วยคุณค่าทางอาการ แป้ง โปรตีน ไขมัน วิตามิน ไปจนถึงกลิ่น เนื้อสัมผัส เสมือนการหาคำตอบของชีวิต หรือตั้งคำถามกับชีวิต โดยที่ยังไม่มีคำตอบว่าชีวิตคืองาน เงิน สุขภาพ ครอบครัว สังคม ในเมื่อยังไม่ได้คำตอบ สมดุลย์ในทุกสิ่งจึงเป็นคำตอบที่เสี่ยงน้อยที่สุด ผมเชื่อเสมอว่าผมต้องเรียนให้หนัก หรือทำงานให้หนัก หรือหาเงินให้เพียงพอเผื่อว่าผมจะต้องอยู่ในโลกนี้อีกนาน ในขณะเดียวกันผมต้องเล่นให้หนัก เดินทางให้มาก ค้นหาให้เพียงพอ มีความสุขให้เต็มที่ เผื่อว่าเวลาของผมในโลกจะหมดลง ชีวิตของผมจากเกิดจนตายจึงสมดุลย์ ถ้าเรียกเป็นอาหาร นั่นคือ “กลมกล่อม”

ในโลกที่ให้รางวัลและชื่นชูความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน การเรียนมุ่งเป้าลงไปหาสิ่งที่แคบลงไปเรื่อย ๆ เรียกว่าความเชี่ยวชาญ ในตำแหน่งงานหรือวิชาการก็มอบรางวัลให้กับความเชี่ยวชาญเฉพาะทางจนแทบจะลืมกันว่าเรานั้นเชี่ยวชาญกันไปเพื่ออะไรและเรื่องอะไร กระบวนการคิดของผมนั้นค่อนข้างเป็น contrarian หลายครั้งที่ผมถูกชื่นชมว่ามีความคิดสร้างสรรค์ คิดนอกกรอบ จริง ๆ แล้วผมแค่มองไปในฝั่งตรงกันข้าม ทำที่คนอื่นเขาไม่อยากทำ ไม่คิด หรือไม่ทำ ซึ่งไม่ต้องอาศัยความสร้างสรรค์ใด ๆ ความเชื่อในกาลามสูตรของผมมีมากกว่ากฏระเบียบที่องค์กร หรือแม้กระทั่งสังคมตั้งไว้ ความง่ายของ motto “Just Do It” ถูกนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ที่ผลักดันให้ผมนั้นมีประสบการณ์หลากหลาย มากมาย และดูเหมือนลึกซึ้งเพียงเพราะ ไม่เชื่อ และ ทดลองทำ แต่เมื่อมองเข้ามาในระยะใกล้นั้น ผมเป็นแค่เป็ด ในกีฬาที่เล่นผมแม้ว่าจะสามารถโคชได้และมีสถิติส่วนตัวที่น่าสนใจแต่ผมไม่เคยชนะรายการใดมาก่อน ในการเรียนแม้จะจบขั้นสูงที่สุดแต่ความเชี่ยวชาญนั้นไม่ได้เคยถูกใช้ประโยชน์อีกเลย งานวิจัยใหม่ ๆ ก็ทำเพื่อตอบโจทย์อุตสาหกรรมยางของประเทศที่มีความหลากหลาย ไม่ได้เชี่ยวชาญด้านใดด้านหนึ่ง ในชีวิตครอบครัวก็ไม่ได้โดดเด่นใด ๆ เพียงแค่เลือกใช้ชีวิตร่วมกันไปด้วยกันทั้งครอบครัว ปฏิเสธข้อกำหนดของสังคมที่บอกว่าลูก ๆ ต้องไปโรงเรียน พ่อแม่ต้องหาเงิน เราเพียงแบ่งงานกันทำ พ่อทำงาน แม่สร้างครอบครัว เมื่อความพร้อมถึงระดับหนึ่ง ครอบครัวก็ไปทำงานด้วยกันได้ เดินทางด้วยกันได้ เล่นกีฬาด้วยกันได้ เรียนรู้ไปด้วยกันได้ นี่ไม่ใช่ความเชี่ยวชาญพิเศษ มันคือความเป็นเป็ดที่หลาย ๆ คนเลือกที่จะไม่เป็น

ผมเชื่อว่าทุก ๆ คนสามารถเลือกใช้ชีวิตของตนเองให้มีความสมดุลย์ได้ เพราะมันง่าย เพียงแค่ทำ ด้วย keyword ว่าทำนั้น มันไม่ได้หมายถึงความยิ่งใหญ่ ก้าวที่ลงทุนสูง เพียงแค่เจตนารมว่าทำ และทำมันอย่างสม่ำเสมอ วันละเล็กละน้อย เราไม่ได้ต้องการความเชี่ยวชาญอย่างที่เราถูกสอนให้เชื่อ เพราะเพียงความรู้เบื้องต้นเล็กน้อย บวกการปฏิบัติก็จะพาเราไปยืนในแถวหน้าของทักษะนั้น ๆ เมื่อพ่วงอีกสักหนึ่งหรือสองทักษะเราก็มีความโดดเด่นในความสามารถเฉพาะ เมื่อหาจุดร่วมกันของทักษะเหล่านั้นได้ ก็จะเกิด synergy และเมื่อนั้นเราก็สร้างประโยชน์ได้มากขึ้น การดำเนินชีวิตไม่มีสิ่งใดยุ่งยาก คนบางคนมองหาแรงบันดาลใจจากคนรอบ ๆ ข้าง แต่ความเป็นจริงนั้นการทำ ๆ ไปง่าย ๆ ทุก ๆ วันนั้น ก็สร้างแรงบันดาลใจให้คนรอบ ๆ ข้างได้โดยไม่ต้องไปมองหาแรงบันดาลใจจากไหน

 

 

Shower in hell : มหันตภัยใกล้ครอบครัว

เช้าวันเสาร์ ผมตื่นมานำจักรยานออกไปปั่นไม่ต่างจากทุก ๆ เสาร์ แต่คราวนี้ระยะทางไม่ยาวมากนักเพราะผมเพียงต้องการสัมผัสเส้นทางบางส่วน คุณภาพถนน และบรรยากาศทั่ว ๆ ไปของเกาะบินตัน ประเทศอินโดนีเซีย เกาะชายขอบของประเทศที่สิงคโปร์เช่าพื้นที่พัฒนาให้รีสอร์ทระดับไฮเอนท์เข้ามาพัฒนา เพราะห่างจากสิงคโปร์เพียง 1 ชั่วโมงด้วยเรือ เฟอร์รี่ เราเข้าพักในห้อง type ใหญ่ที่สุดของโรงแรมที่วางตัวเองให้เป็นระดับห้าดาว แต่ผมมอง ๆ สภาพความเก่าและระดับการบริการแล้วผมคงให้แค่สี่ แต่ราคานั้นไม่ต้องพูดถึงเพราะเป็นราคาสิงค์โปร์ เสาร์นี้เหมือนกับอีกหลาย ๆ เสาร์ที่ผมใช้เวลาในการผ่อนคลายและจัดการเกี่ยวกับการลงทะเบียนเพื่อการแข่งขันในวันรุ่งขึ้น สำหรับชีวิตที่แข่งเฉลี่ยสองเดือนครั้งมาตลอดยี่สิบกว่าปี มันกลายเป็นกิจวัตรที่ไม่สร้างความตื่นเต้นหรือกังวลใด ๆ เลย ผมแทบไม่ทราบว่าวันนี้นั้นจะเปลี่ยนแปลงชีวิตของผมอีกครั้ง

11921711_1162948117065099_4941339402021949332_n-2

ผมกลับมาที่โรงแรมพอให้มีเวลาเหลือสำหรับอาหารเช้านิดหน่อย แต่เด็ก ๆ ต้องการที่จะให้พาไปว่ายน้ำผมจึงพาพวกเขาไปเปลี่ยนเสื้อผ้าบนห้อง เพื่อให้เวลากับภรรยาอีกเล็กน้อยกับอาหารเช้า เด็ก ๆ โตก็เปลี่ยนเสื้อผ้าได้เองแล้ว ส่วนเจ้าตัวเล็ก ฮารุ ผมยังต้องเปลี่ยนชุดให้เขาอยู่ ผมถอดเสื้อผ้าและผ้าอ้อมเขาออกแล้ววางเขาลงที่อ่างอาบน้ำ เพื่อจะล้างก้นให้เขาเล็กน้อยก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นชุดว่ายน้ำ ผมเปิดน้ำที่อ่างอาบน้ำ แล้วคว้ามือจับฝักบัวสายอ่อนไว้ในมือข้างซ้าย สายน้ำพุ่งของจากก๊อกลงอ่างรวดเร็วรุนแรง เป็นไปตามปกติของระบบน้ำของโรงแรมระดับห้าดาวทั่วไปที่ผมเองก็มองว่าความดันน้ำในระบบก็เป็นส่วนที่สำคัญต่อประสบการณ์ที่โรงแรมชั้นนำจะให้กับผู้เข้าใช้บริการเกิดความประทับใจหรือผิดหวังกลับไปได้ แต่ไม่เคยรู้เลยว่าสิ่งที่เราเรียกร้องในฐานะผู้ใช้บริการนั้นจะกลับมาย้อนให้เกิดสิ่งที่เลวร้ายที่สุดในชีวิตของผมอีกครั้งหนึ่ง

11899992_1163209050372339_4184867395235895141_n-2

ผมยื่นมือขวาเอื้อมไปเพื่อที่จะดึงจุกเปลี่ยนทิศทางของน้ำจากก๊อกลงอ่างจะให้ไปสู่ฝักบัวสายอ่อนที่ถืออยู่ในอีกมือหนึ่ง ในขณะเดียวกันก็ยื่นนิ้วไปสัมผัสกับนำ้ที่ไหลลงมาเพื่อทดสอบอุณหภูมิของน้ำ เมื่อทุกอย่างปกติผมจึงดึงจุกเปลี่ยนน้ำนั้น ทั้งหมดทั้งสิ้นใช้เวลาประมาณไม่เกินสามวินาที ผมได้ยินเสียงตะกุกตะกักเหมือนเสียงการเดินทางของน้ำผ่านท่อเข้ามาอีกเส้นหนึ่ง น้ำพุ่งแรงเหมือนน้ำห้องน้ำโรงแรมชั้นนำทั่วไป แต่สิ่งหนึ่งที่แตกต่างออกไป ลูกสาวตัวน้อยของผมกรีดร้อง ตะเกียกตะกาย ขึ้นจากอ่างอาบน้ำอย่างทุกทักทุเล ภรรยาซึ่งเห็นเหตุการณ์กรูเข้ามาช่วยดึงตัวขึ้น ยังไม่มีใครรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น ทันใดนั้นก็มีควันพวยพุ่งออกจากฝักบัว อ่างอาบน้ำ เราทุกคนจึงรับทราบว่าน้ำร้อนคงลวกฮารุตัวน้อยของเราเสียแล้ว ภรรยารีบนำฮารุมาราดด้วยน้ำเย็นที่อ่างล้างหน้า ความตระหนกตกใจแสดงผ่านออกมาผ่านเสียงร้องไห้และสายน้ำตาของภรรยา ท่ามความฉุกละหุกปนเสียงร้องโหยหวนของฮารุ เด็กโตทั้งสองที่ยืนรอที่จะไปว่ายน้ำในห้องน้ำยืนมองตัวแข็งด้วยความตกใจ เหตุการณ์นี้รวมเวลาทั้งหมดประมาณสิบวินาที หนังบริเวณหว่างขาของฮารุหลุดลอกจนเห็นเนื้อแดง ๆ ภายใน ในขณะที่บริเวณอื่น ๆ แดงก่ำ ตั้งแต่บริเวณก้นลงไปยังขาทั้งสองข้าง ภาพเหตุการณ์นี้เวียนวนไปมาในหัวของผมเป็นภาพช้า ราวกับเป็นเหตุการณ์ยาวนานนับชั่วโมง

IMG_0225IMG_0230

เราพาฮารุผู้น่าสงสารลงไปที่ล๊อปบี้เพื่อหาสถานพยาบาล เจ้าหน้าที่ของโรงแรมพยายามให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่ ขับรถพาไปคลีนิคระยะทางไม่เกินห้านาที พยาบาลที่คลินิคนำผ้าชุบน้ำแข็งมาประคบ หลังจากนั้นใช้น้ำเกลือล้างแผลแล้วทาด้วย ครีม Bioplancenton แล้วบอกกับเราว่าเป็น ยาฆ่าเชื้อ พร้อมให้ยาระงับปวดลดไข้ แล้วแนะนำให้ไปโรงพยาบาล หลังจากได้เห็นการปฐมพยาบาลที่แม้แต่เราก็ยังวิตก ความหวังต่อไปของเราคือโรงพยาบาลเนื่องจากเราคิดว่าที่นี่น่าจะมีอุปกรณ์ไม่เพียงพอ เรากลับไปที่โรงแรมอีกครั้ง ผู้ช่วยผู้จัดการแนะนำว่าเราควรกลับขึ้นไปที่สิงคโปร์ ไม่แนะนำให้ไปโรงพยาบาลที่นี่ ผมเริ่มวางแผนการในหัวอย่างช้า ๆ แล้วบอกว่าในขณะที่เราต้องรอ เฟอร์รี่ ข้ามกลับไปสิงค์โปร์เราขอไปดูที่โรงพยาบาลของเกาะดูดีกว่า เพราะในขณะนี้แผลของน้องเปิดกว้าง เรากลัวเรื่องการติดเชื้อและการดูแลทั่ว ๆ ไป โรงพยาบาลอยู่ห่างจากโรงแรมพอสมควรต้องขับรถข้ามไปใช้เวลาถึง 45 นาที คนขับรถของโรงแรมขอเข้าใช้เส้นทางลัดข้ามเขา ลัดเลาะคดเคี้ยวขนาดที่ว่าเมื่อถึงจุดหมายภรรยาของผมถึงกับต้องลงไปอาเจียร ระหว่างที่นั่งรถข้ามภูเขาไปนั้น แผลของฮารุก็ค่อย ๆ พัฒนาขึ้นไปเรื่อย ๆ เริ่มมีตุ่มน้ำพุพองเกิดขึ้นทีละเล็กละน้อย และดูเหมือนว่าจะยังไม่มีท่าทีว่าจะหยุดลง ผมโทรศัพท์ทางไกลไปหาหมอนกเพื่อนของผมที่เป็นเสมือนหมอเด็กประจำครอบครัวของผม แล้วส่งภาพให้ดู หมอนกเห็นภาพขณะนั้น ซึ่งเป็นรอยแดงและมีตุ่มพุพองเป็นหย่อม ๆ ก็ประเมินคร่าว ๆ ว่าน่าจะเป็น 1st degree burn หมอบอกว่าโดยทั่วไปก็พยายามไม่ให้แผลแตกเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ ในการรักษาหมอน่าจะขัดผิวหนังที่ตายออกเพื่อเปิดแผลแล้วใช้ครีมขาว ๆ ลักษณะเป็นฟอง ๆ ทาให้ความชุ่มชื้นกันติดผ้าแล้วพันผ้ารอบ ๆ ป้องกันการติดเชื้อพร้อมให้ยาแก้ปวด และ ยาฆ่าเชื้อ ผมทำเช่นนี้ทุกครั้งเมื่อมีเหตุการณ์ความเจ็บป่วยในครอบครัวของผม ทำความเข้าใจกับปัญหา เรียนรู้วิธีมาตรฐานในการจัดการกับปัญหา และเรียนรู้ถึงความเป็นไปของโรครวมไปถึงภาวะเสี่ยงต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น

IMG_0190IMG_0226

เมื่อไปถึงโรงพยาบาลซึ่งเป็นโรงพยาบาลขนาดเล็กมาก ๆ ไม่แน่ใจว่ามีห้องผ่าตัดหรือไม่ พยาบาลก็เข้ามาทำแผลให้ฮารุอีกครั้ง ในตอนนี้ตุ่มพุพองเริ่มเยอะมากและดูน่ากลัว ขั้นตอนการทำแผลก็ไม่ต่างจากเดิม ใช้ยาตัวเดิมในการทาบนแผล ให้เพิ่มสองหลอดกลับโรงแรม สั่งยาชื่อว่า Sibro มาให้นอกเหนือจากยาแก้ปวดและ ยาฆ่าเชื้อ บอกว่าเป็นยาช่วยสร้างผิวใหม่ คุณหมอขอถ่ายภาพร่วมกับผมเมื่อทราบว่าเป็นนักกีฬามาแข่งไอรอนแมน 70.3 พร้อมกับบอกว่าแผลใหญ่แต่ไม่ลึก ไม่มีการไหม้ลงไปที่เนื้อหรือเส้นประสาทใด ๆ ไม่ต้องกังวล เป็นเพียงการไหม้ผิวหนัง ผมพยายามถามว่าระดับนี้เรียกว่า 1st degree burn หรือไม่เพื่อจะมาใช้สื่อสารกับเพื่อน ๆ หมอของผมในคราวต่อไป แต่ไม่ได้คำตอบที่ชัดเจน หมอแนะนำให้เปิดแผลทิ้งไว้เพราะจะทำให้หายเร็วกว่า ไม่ควรโดนน้ำ เราก็มองหน้ากันแบบงง ๆ เพราะบริเวณที่ไหม้นั้นจะต้องเปื้อนสิ่งขับถ่ายของฮารุอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แล้วการจัดการต้องเป็นอย่างไร สามารถใส่ผ้าอ้อมได้หรือไม่ ผมถามหมออีกครั้งหมอบอกว่าไม่ต้องทำอะไร แค่หวังว่าในวันรุ่งขึ้นแผลน่าจะแห้ง แล้วสามารถใส่ผ้าอ้อมได้ แต่วันนี้นั้นแนะนำให้ปล่อยแบบนี้ไว้ก่อน ผมสบายใจขึ้นเล็กน้อยแผลไหม้ไม่ลึกมาก แม้ว่าจะเป็นบริเวณกว้างก็เป็นความเจ็บปวดชั่วคราว ไม่น่าจะมีเรื่องของการซ่อมแซมระยะยาว การปลูกถ่ายเนื้อเยื่อ ที่ต้องกังวล หมอบอกว่าไม่ต้องปิดแผลไม่ต้องทำอะไรพิเศษ ไม่ต้องกลับมาทำแผลในวันรุ่งขึ้น เพียงแค่ล้างด้วยน้ำเกลือแล้วทาครีมที่สั่งให้ไป ไม่ควรปิดแผลและใส่ผ้าอ้อมเท่าที่จำเป็น เราจึงขอให้คนขับรถและผู้ดูแลส่วนตัวของเราในการพักครั้งนี้ให้ช่วยหายาตามที่หมอสั่งไว้ให้ แล้วหาอาหารการกินให้เราสักนิด เพราะคาดว่าเราคงไม่น่าจะออกเดินทางไปสิงค์โปร์ในคืนนี้แน่นอน

IMG_0185IMG_0186IMG_0188

ในตอนนี้ฮารุเริ่มหยุดร้องแล้ว แต่ยังอารมณ์ไม่ดีนัก เราไปทานอาหารเที่ยงกันที่ร้านอาหารพื้นเมือง ภรรยาผมร้องไห้จนไม่มีน้ำตาเหลืออีกแล้ว ผมเพิ่งเข้าใจคำว่าร้องไห้จนน้ำตาเป็นสายเลือดก็ตอนนี้ ไม่ใช่จากฮารุที่ร้องด้วยความเจ็บปวด และความตกใจ แต่จากภรรยาที่ร้องไห้ใจจะขาดรอน ๆ ภรรยาของผมทานอะไรไม่ลงในขณะที่ฮารุมีอาการทางจิตใจดีขึ้น สภาพของเขาทำให้เราอุ้มเขาไม่ได้ และเขาเองก็นั่งลงไม่ได้ เราจะเห็นภาพของเด็กหญิงตัวน้อย ๆ ตาหวานใส รูปร่างเล็ก น้ำหนักตกเกณฑ์กว่าครึ่งหนึ่ง ยืนโยกเยกดูดน้ำมะพร้าวจากลูก ผมเร่ิมตั้งสติได้มากขึ้นมาก เริ่มคิดและวางแผนชีวิตในช่วงต่อไป ในขณะเดียวกันก็เริ่มสำรวจร่างกายของลูกสาวที่ตอนนั้นหมอชาวอินโดประเมินว่าเป็นการไหม้เพียงผิวหนัง และจากรูปที่ให้หมอนกไปนั้นก็มองคร่าว ๆ ว่าเป็น 1st degree burn จากการสำรวจคร่าว ๆ ของผมเองก็น่าจะเป็นพื้นที่ประมาณ 25-30% ของร่างกาย ผิวที่เคยเป็นแดง ๆ ก็มีตุ่มน้ำขึ้นทั่วทั้งพื้นผิว ตุ่มน้ำที่ขึ้นในช่วงแรก ๆ ก็ขยายตัวใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ จากเมล็ดถั่วเหลือง ค่อย ๆ กลายเป็นขนาด M&M ผลองุ่น มีบางลูกขยายจนมีขนาดประมาณลูกกอล์ฟ หนังรับน้ำหนักไว้ไม่ไหว ห้อยโตงเตงไปมาตามจังหวะการขยับตัวของฮารุ ผิวหนังส่วนใหญ่เปลี่ยนเป็นสีดำคล้ำหมดแล้วในเวลานี้ จากสีที่เคยแดง พื้นที่ที่เคยดูเหมือนไม่โดนน้ำร้อนบางส่วนก็เริ่มเปลี่ยนเป็นสีแดง เช่น ฝ่าเท้าทั้งสองข้าง

IMG_0189

หลังจากอาหารเที่ยงเรามุ่งหน้ากลับโรงแรมเพื่อพบกับผู้จัดการซึ่งเข้ามาดูเหตุการณ์ถามไถ่แล้วให้เจ้าหน้าที่ตรวจตราระบบน้ำร้อน ซึ่งผมคาดว่าได้มีการเดินไล่ตรวจมาแล้วในช่วงที่เราไม่อยู่ แต่ก็มีการเรียกให้ช่างมาตรวจปรับในห้องนอนของเราอีกเป็นระยะเวลานาน ภายในห้องนอนของเรา ผมยังไม่เข้าใจว่าช่างเข้ามาทำอะไร เพราะระบบต้มน้ำของโรงแรมนั้นอยู่ด้านนอก คิดว่าน่าจะมีความพยายามในการที่จะปรับก๊อกผสมที่อยู่ภายในห้องน้ำ เพราะผมย้ำว่าเขาต้องมั่นใจว่าเขาปรับทุกอย่างให้ปลอดภัย เท่าที่คุยกับผู้จัดการ เขาย้ำอยู่ในสองสามเรื่อง คือเรื่องแรกทิศทางของก๊อก ฝั่งร้อนและเย็นที่พยายามให้ผมคิดว่าผมเองอาจจะพลาดได้ เรื่องที่สองคืออุณหภูมิของน้ำที่จะตั้งไว้ไม่เกิน 80 องศา ในขณะที่ผมพยายามบอกให้รู้ว่าผมเป็นวิศวกรเครื่องกล และเข้าใจได้เองว่าการตั้งอุณหภูมิค่าเท่าไรนั้นไม่ได้บ่งบอกเลยว่าน้ำจริง ๆ จะมีอุณหภูมิเท่าไร ในขณะเดียวกันในเวลาที่ผมขอให้ปรับอุณหภูมินี้ลงเหลือ 60 นั้น เขาย้ำผมหลายครั้งด้วยเหตุผลที่ว่าการปรับนั้นจะกระทบกับห้องอื่น ๆ ด้วยซึ่งผมก็ยืนยันเช่นนั้น ด้วยเหตุว่าน้ำร้อนขนาดที่ลวกเด็กได้ในเสี้ยววินาทีนั้นไม่ใช่อุณหภูมิที่ควรจะมีอยู่ในอ่างอาบน้ำไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด ๆ แต่นี่ก็เป็นสิ่งผิดปกติที่ผมไม่ค่อยชอบเพราะผมเห็นหม้อต้มที่แยกกันในแต่ละห้องพร้อมกับสวิทช์ปิดเปิดที่แยกอิสระสำหรับหม้อต้มแต่ละตัว พร้อมคำอธิบายให้เปิดสวิทช์ก่อนใช้น้ำร้อนประมาณ 40 นาที นั่นหมายความว่าข้อมูลที่ผู้จัดการให้ผมนั้นไม่เป็นความจริง จะด้วยเจตนาหรือรู้เท่าไม่ถึงการแต่นั่นหมายความว่า เขาพยายามให้ผมคิดว่าน้ำร้อนที่ลวกลูกสาวของผมนั้นเป็นอุณหภูมิเดียวกันกับห้องอื่น ๆ เขาถามผมเรื่องการแข่งขัน แต่ผมได้ตัดสินใจแล้วว่าในสภาพเช่นนี้ผมไม่มีอารมณ์ไปแข่งขัน 7-8 ชม. แต่จะกลับเมื่อไรอย่างไรนั้นผมขอคุยกับภรรยาของผมก่อน ผมดูท่าทางผู้จัดการแล้วไม่มีท่าทีที่จะแสดงความรับผิดชอบอื่นใดนอกเหนือจากที่ได้พาเราไปโรงพยาบาลแม้แต่อาหารระหว่างที่เราจะต้องรอเวลากลับในอีกสองวันข้างหน้า ผมมีอาหารอยู่เล็กน้อยจากที่ซื้อเข้ามา พร้อมกับข้าวและหม้อหุงข้าวที่ผู้ดูแลส่วนตัวของเราหามาให้ ผู้ดูแลและคนขับรถย้ำกับเราว่าควรจะเรียกร้องกับผู้จัดการให้มากที่สุดเพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องที่อันตราย ผมเองก็เริ่มเข้าใจบรรยากาศเล็กน้อย

IMG_0192IMG_0193

ผมนั่งคุยกับภรรยาที่ตอนนี้เริ่มค้นหาตั๋วเครื่องบินเที่ยวกลับหาดใหญ่ และร้อนใจถึงขนาดที่จะต้องนั่ง เฟอร์รี่ เที่ยวต่อไปเพื่อไปหาตั๋วอะไรก็ได้กลับประเทศไทยไว้ก่อน ผมมองว่ามันเป็นความเสี่ยงที่ไม่จำเป็น ฮารุมีจิตใจดี แผลไม่ลึก มีความเสี่ยงเรื่องของการติดเชื้อ ซึ่งต้องใช้เวลาอีกวันสองวัน ความร่าเริง และอารมณ์ที่ดีของฮารุ ทำให้เขากินอะไรสม่ำเสมอ ความเสี่ยงของการ dehydrated ก็น้อยลง การรออีก 1-2 วันยังมีความเป็นไปได้ เราจึงตัดสินใจกันว่าเราจะกลับกันในวันรุ่งขึ้น ในสายการบินเดิมจากสิงค์โปร์ไปหาดใหญ่ จึงขอให้ผู้จัดการเปลี่ยนตั๋วเฟอร์รี่ให้กับเรา แต่เราต้องรอลุ้นกันถึงตอนสองทุ่มในเวลาที่เฟอร์รี่เปิดทำการเที่ยวสุดท้ายของวัน การเปลี่ยนตั๋วเป็นไปอย่างราบรื่นเราได้ตั๋วกลับเที่ยวแรกของวันถัดไป เราจึงจองตั๋วเครื่องบินกลับในวันรุ่งขึ้นทันทีซึ่งก็โชคดีที่ไม่ใช่เที่ยวบินที่เป็นที่นิยมตั๋วสี่ใบจัดหาได้ในราคาไม่ต่างจากตั๋วที่จองหนึ่งเดือนล่วงหน้า

11911225_1163471590346085_49435683_n

ฮารุเหนื่อยหลับไปแล้ว เขาต้องนอนคว่ำหน้าเท่านั้นในเวลานี้ มีตื่นมาเรียกหาแม่เพื่อกินนมบางครั้ง ซึ่งผมต้องออกไปเรียกแม่ที่นอนอยู่ในห้องถัดไป ด้วยความทรมานทางจิตใจของผู้เป็นแม่ที่ยังไม่ลดเลือน ไม่สามารถทำใจให้นอนกับลูกที่ในเวลานี้ถุงน้ำพุพองหลาย ๆ ถุงได้แตกออกหมดแล้ว เห็นแต่เนื้อสด ๆ สีแดงเรื่อ ๆ ทั่วทั้งบริเวณบั้นท้ายและขา ภรรยาผมใช้ช่วงเวลาที่นอนไม่หลับนี้ เยียวยาจิตใจตนเองด้วยการคุยกับทุกคนที่ติดต่อได้ ไม่ว่าจะเป็นน้องสาวและแม่ที่เมืองไทย น้องสาวที่อเมริกา เพื่อนของผม หรือเพื่อนของเธอเองที่เมืองไทย บางครั้งเพียงเล่าเรื่อง บางครั้งขอคำปรึกษาในการรักษา ผมเองนั้นนอนหลับอยู่กับฮารุ โชคดีที่ภรรยาเลือกที่จะปรึกษากับหมอแป๊ะหมอที่ทำคลอดให้กับลูกเราทุก ๆ คน เมื่อแป๊ะรู้เรื่องจึงได้เตรียมการรักษาฉุกเฉินไว้ให้ที่เมืองไทย คืนนั้นจริง ๆ แล้วไม่มีใครนอนหลับเราเก็บของทุกอย่างลงกระเป๋า รวมทั้งจักรยานที่เพิ่งประกอบได้ไม่นานนัก

จากการพูดคุยของภรรยาทำให้เราเรียนรู้ว่าเราเองนั้นขาดความรู้พื้นฐานในการปฐมพยาบาลผู้ป่วยน้ำร้อนลวกอย่างแท้จริง ในความจริงนั้นเราต้องพยายามลดความร้อนที่ระอุภายใต้ผิวหนังด้วยการประคบน้ำ แช่น้ำ หรือผ้าชุบน้ำตลอดเวลาและยาวนานที่สุดที่จะทำได้ระหว่างที่รอคอยการรักษาที่เหมาะสม แต่ด้วยความรู้ที่ไม่มากพอเราใช้เพียงน้ำราดในช่วงแรก ๆ หลังจากนั้นเราก็ได้แต่ปล่อยเวลาให้ผ่านไปไม่ได้ช่วยอะไรกับแผล สิ่งที่จำ ๆ กันมาประเภททายาสีฟัน ว่านหางจรเข้ หรือใช้บัวหิมะอะไรนั่นเอามาใช้ประโยชน์ในยามฉุกเฉินแบบนี้ไม่ได้เลย เราเรียนรู้ว่าในแผลเปิดขนาดใหญ่ความเสี่ยงของการ dehydrated นั้นน่ากลัวกว่าการติดเชื้อในวันแรก ๆ และที่สำคัญมาตราการในการรักษาของแต่ละที่ แต่ละโรงพยาบาลนั้นมีความแตกต่างกันเนื่องจากเขาให้ความสำคัญของผลของการรักษาในแง่ต่าง ๆ กันที่แตกต่างกัน

IMG_0217IMG_0218

เช้าวันรุ่งขึ้นเราต้องเตรียมตัวตั้งแต่หกโมงเช้า เพราะภรรยาต้องการไปคลีนิคเพื่อปิดแผลเท่าที่ทำได้ เราได้ขอให้ทางโรงแรมจัดหาอุปกรณ์ปิดแผลไว้ให้ แต่ต้องการไปทำที่คลีนิคเพราะคิดว่าน่าจะสะอาดกว่าการทำเองที่โรงแรม เมื่อไปถึงก็พบว่าอุปกรณ์ปิดแผลที่ทางโรงแรมเตรียมไว้ให้นั้น ไม่เป็นอย่างที่เราคิด ทางคลินิคไม่ได้ปิดแผลหรือทำอะไรที่แตกต่างไปจากเดิมนั่นคือล้างด้วยน้ำเกลือและทาด้วยครีม ยาฆ่าเชื้อ ลงบนผิวเปิดแดง ๆ ทั่วท่อนล่างของฮารุ วันนั้นเราให้ฮารุใส่ dress ผ้าลูกฟูกน่ารัก เนื้อผ้าบานออกเล็กน้อย และเราไม่ให้ใส่ผ้าอ้อมเพราะยังไม่จำเป็น เราเพียงต้องคอยเช็ดอุบัติเหตุที่เกิดระหว่างการเดินทางข้ามเรือจากบินตันไปสิงค์โปร์เท่านั้น ทางโรงแรมจัดให้เราอยู่ในห้อง VIP ทำให้ไม่ต้องปะปนกับผู้คนส่วนใหญ่ที่มาขึ้นเรือ แต่ทุกครั้งที่ต้องยกตัวฮารุ เสื้อที่เปิดขึ้นให้เห็นร่องรอยของแผลนั้น ก็เรียกสายตาสงสัยรอบ ๆ ตัวอย่างมากมาย เราผ่านการเดินทางข้ามทะเลจากเกาะบินตัน มายังเกาะสิงค์โปร์อย่างราบเรียบ เสียเวลาที่ ตม. ไม่มากนัก เหมือนว่าการ transit จากบินตันไปยังประเทศอื่น ๆ นั้นเป็นเรื่องปกติมาก ๆ เราเรียกแทกซี่พิเศษเพื่อตรงไปสนามบินชางกีในทันที ขณะนั้นเวลาประมาณ 10:30 น. เครื่องบินที่จองไว้ออกเวลา 13:20 น. มีเวลาไม่มากนักสำหรับการ check in ต่างประเทศ พร้อมจักรยาน แถมด้วยการทำแผลให้ฮารุ

IMG_0202IMG_0203

ขั้นตอนการทำแผลให้ฮารุนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่เราคาดไม่ถึง ในใจเราเพียงต้องการปิดแผลให้ลูกเพื่อความสะดวกในการเดินทาง เพื่อช่วยให้สามารถใส่ผ้าอ้อมเป็นไปได้มากขึ้นเนื่องจากหนังที่ก้นของฮารุทั้งสองข้างเปิดทั้งหมดเห็นเป็นเนื้อสด ๆ แดง ๆ ภรรยาผมพยายามหาผ้าปิดแผลแบบเปียก ๆ โดยไม่รู้ว่ามันเรียกว่าอะไร นั่นก็เป็นความลำบากอีกอย่างหนึ่ง ภรรยาได้ Bactigras : Medicated Paraffin Gauze Dressings มาพร้อมกับผ้าก๊อซแบบยืด ๆ ไม่รู้เรียกว่าอะไร ซึ่งเพียงพอที่จะทำแผลชั่วคราวสำหรับการบินข้ามประเทศ เจตนานี้ร่วมกับภาวะทางอารมณ์ของฮารุที่มั่นคง กลายเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้เราได้เดินทางกลับมารักษาต่อที่เมืองไทยได้ เราปิด Bactigras ทั่วทุกแผลที่มองเห็น แล้วพันผ้าก๊อซทุกที่ที่พันได้ ส่วนบริเวณก้นก็ใช้ผ้าอ้อมใส่ซ้อนเข้าไป ขณะนี้ฮารุเริ่มไม่สามารถยืนได้ดั่งใจแล้ว 1st degree burn ที่ฝ่าเท้าเริ่มระบม การอุ้มแทบเป็นไปไม่ได้เลยมันยากลำบากมาก ปกติเราจะช้อนรักแร้แล้วให้ยืนบนฝ่ามือ ช้อนก้นที่เต็มไปด้วยแผลไหม้นี่เป็นไปไม่ได้ แต่เท่านี้ก็เพียงพอให้เราสามารถทำตัวเนียนพาเด็ก ๆ ขึ้นเครื่องบินได้ ถึงขนาดกลุ่มหมอที่มารอรับเราที่สนามบินหาดใหญ่ถามด้วยความสงสัยว่าเขายอมให้ขึ้นเครื่องบินได้อย่างไร เพราะโดยปกติเด็กที่มีอาการป่วยระดับนี้จะไม่อนุญาติให้ขึ้นเครื่องบินได้ เพราะค่าใช้จ่ายในการลงฉุกเฉินที่ใดที่หนึ่งนั้นมันสูงกว่าที่สายการบินจะยอมรับความเสี่ยงนั้นได้

IMG_0205

ที่สนามบินหาดใหญ่คณะแพทย์ รพ. มอ. เตรียมรับเราไว้อย่างดี ตั้งแต่รถพยาบาลพร้อมทีมแพทย์รอที่สนามบิน คณะแพทย์ศัลยกรรมพลาสติก แพทย์วิสัญญีเตรียมตัวพร้อมสำหรับการดมยา เพื่อขูดแผลทั้งหมดซึ่งเป็นวิธีการรักษาที่เป็นมาตรฐานของที่นี่ เราแจ้งทางทีมแพทย์ว่าเราได้รับแจ้งจากแพทย์ช้าไม่ทันเวลาเราจึงให้ฮารุอดอาหารไม่ทัน แต่นั่นก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้การเดินทางขึ้นเครื่องเป็นไปได้ง่ายขึ้น เพราะฮารุแม้ว่ามีแผลไหม้ครึ่งตัว แต่เขายังร่าเริงอยู่ได้ด้วยขนมและอาหารต่าง ๆ ที่มีให้เลือกทานเล่นตลอดการเดินทาง รวมไปถึงการดูดนมแม่ที่ช่วยได้หลาย ๆ อาการ ถ้าเราทราบเรื่องการอดอาหารเพื่อมาดมยาก่อนหน้านี้ การเดินทางกลับอาจจะเป็นไปไม่ได้เลย ฮารุอาจจะมีอาการงอแงจนเป็นที่สงสัยแล้วไม่ถูกอนุญาติให้ขึ้นเครื่องได้เช่นวันนั้น ผมให้ฮารุและภรรยาล่วงหน้าไปก่อนบนรถพยาบาล ส่วนเซน ซาช่าอยู่กับผม เก็บสัมภาระแล้วขับรถตามไป

IMG_0208IMG_0206

ผมมารอด้านหน้าห้องฉุกเฉินเพราะในช่วงนั้นไม่สามารถติดต่อภรรยาได้ ภรรยาเล่าให้ฟังว่าเนื่องจากฮารุไม่ได้อดอาหารมาก่อน ทำให้การดมยาเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ มีความเสี่ยงมาก แต่จะรอเพื่อทำแผลอีก 5-6 ชม. ก็เป็นสิ่งไม่ดี ทำให้มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากเพราะแผลใหญ่ นอกเหนือจากความเสี่ยงของการ dehydrated แล้วก็ยังต้องมีเรื่องติดเชื้อที่จะทำให้การรักษาเป็นเรื่องซับซ้อนมากขึ้น คุณหมอศัยลกรรมพลาสติกซึ่งเป็นรุ่นน้องโรงเรียนสาธิตเช่นกันจึงตัดสินใจที่จะขูดสด ฮารุผู้น่าสงสารจึงต้องถูก buff แผลสด ๆ ครึ่งตัว เป็นไหวพริบของแม่ที่ท่องนิทานให้กับฮารุ กลายเป็นกิจกรรมสนุกที่ทดแทนเสียงกรีดร้องที่คิดว่าจะเกิดขึ้น เหล่าแพทย์และพยาบาลถึงกับตะลึงในความอึดถึกทนของฮารุตัวน้อย เมื่อขูดแผลเรียบร้อย ก็ถูกปิดแผลด้วยแผ่นพอลิยูรีเทนโฟมที่มียาฆ่าเชื้อ เป็นนวัตกรรมที่ก้าวหน้ากว่าที่หมอนกเคยบอกเอาไว้ แผ่นวิเศษนี้จะช่วยซับน้ำเหลืองและให้ยาไปพร้อม ๆ กัน ทำให้สามารถปิดแผลนี้ไว้เป็นระยะเวลานานไม่ต้องเปิดออกเพื่อทำความสะอาด ส่งผลให้เวลาในการรักษาลดสั้นลงเป็นอย่างมาก แพทย์สรุปว่าฮารุไม่อาการ 2nd degree burn แบบตื้น ประมาณ 25-30% อาจจะมีบางจุดที่เป็น 2nd degree burn แบบลึกแต่คาดว่าไม่น่าจะมีมากนัก และมี 1st degree burn บางส่วนบริเวณเท้าและฝ่าเท้า

เราย้ายเข้าพักในห้องพิเศษ ฮารุรับน้ำเกลือพร้อมยาอีกประมาณ 2-3 ขวดก็หยุด เพราะร่าเริง ทานอาหารได้ตามปกติ แต่ก็ยังคงต้องอยู่โรงพยาบาลเพื่อรอให้แผลหายในระดับหนึ่ง รอเปิดแผลดูอาการอีกครั้งประมาณ 3, 5, 7 วันเพื่อประเมินตามลำดับ ความซับซ้อนของการรักษาอยู่ที่แผลบริเวณบั้นท้ายที่จะต้องคอยทำความสะอาดให้ดีทุกครั้งที่ฮารุถ่ายหนัก และระยะหลัง ๆ ที่ฮารุเริ่มมีอาการคันบริเวณแผล และรอบ ๆ ที่ปิดแผลมากจนรบกวนการนอนของเขา มีการทายา ทาโลชั่น และให้ยากินบ้างเล็กน้อย เราคาดว่าต้องอยู่โรงพยาบาลอย่างน้อยประมาณ 5-7 วัน เพื่อเปิดแผลดูครั้งแรก เปลี่ยนแผ่นปิดแผลประเมินสภาพของแผลว่าจะสามารถกลับไปดูแลที่บ้านแล้วกลับมาทำแผลเพียงอย่างเดียวได้หรือไม่ แต่ 6 วันผ่านไปเปิดแผลดูครั้งแรก ไม่เป็นไปตามที่หวังไว้แผลที่ขาแห้งดีพอสมควรแล้ว แกะแผ่นปิดแผลและปิดใหม่ได้ทันที แต่บริเวณที่มีปัญหาคือบริเวณบั้นท้ายที่มีการดูแลที่ลำบากกว่าแผลยังไม่แห้งและแผ่นปิดแผลยังติดกับแผลอยู่ นวัตกรรมชิ้นนี้ไม่ได้ทำงานได้ไร้ความผิดพลาดอย่างที่หวัง แผลยังไม่แห้งดี มีการเปิดออกเมื่อลอกบ้างเล็กน้อยสร้างความทรมาณให้กับฮารุอีกครั้ง เรายังไม่รู้ว่าจะมีโอกาสได้ออกจากโรงพยาบาลเมื่อไร เรามีแผนที่จะเดินทางไปญี่ปุ่นในอีกสองสัปดาห์ข้างหน้า เราก็ได้แต่หวังว่าแผลคงปิดสนิทพอที่จะเดินทางและดูแลแผลด้วยตัวเองได้ก่อนไป เราได้แต่คาดหวังว่าคำวินิจฉัยเบื้องต้นของหมอที่บอกว่าทุกอย่างเกิดที่ผิวหนังไม่น่าจะเกิดปัญหาหรือแม้แต่แผลเป็น เพราะการดูแลแผลน้ำร้อนลวกใหญ่ขนาดนี้น่าจะไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ

11923211_10154233576708009_7872921284934627575_n

มีหลาย ๆ อย่างที่เราได้เรียนรู้จากประสบการณ์นี้ การปฐมพยาบาลและดูแลแผลน้ำร้อนลวก รวมไปถึงความเสี่ยงและความซับซ้อนที่จะตามมา สิ่งที่ต้องระวัง การออกแบบที่น่าจะสร้างความเสี่ยงในระบบน้ำร้อนของโรงแรม ทุก ๆ โรงแรมที่เราจะต้องเดินทางไปพานพบอีกมาก ผมคิดว่าสิ่งที่เป็นไปได้มากที่สุดตามความคิดของผมที่เป็นวิศวกรเครื่องกลคือ โรงแรมใช้ระบบหม้อต้มที่อาจจะมีปัญหาเรื่องอุณหภูมิของน้ำสูงเกินไม่ ไม่ว่าจะเป็นเพราะตั้งไว้สูงเกินไปหรือเป็นความเสียหายของระบบควบคุมอุณหภูมิ ระบบเพิ่มความดันของน้ำร้อนที่ออกจากหม้อต้ม การออกแบบระบบความดันให้สมดุลย์กับระบบความดันของน้ำเย็นที่น่าจะใช้ระบบความดันแยกกับน้ำร้อนไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะมีการใช้น้ำระหว่างทางระหว่างท่อค่อนข้างมาก สิ่งที่ผมคาดว่าเกิดขึ้นกับผมคืออุณหภูมิน้ำที่หม้อต้มที่สูงร่วมกับปั้มเพิ่มความดันของน้ำร้อน เมื่อมีการปรับน้ำก๊อกจากน้ำลงอ่างไปยังสายฝักบัวความดันที่ตกลงในทันทีไปสั่งให้ปั้มความดันน้ำร้อนทำงาน ปั้มน้ำร้อนซึ่งอยู่ใกล้กว่าปั้มน้ำเย็นมีพลังสูงกว่า ใกล้กว่า ทำงานได้เร็วกว่าปั้มน้ำเย็น น้ำร้อนที่ร้อนเกินความปลอดภัยจึงพุ่งแทรกน้ำเย็นออกมาทันที หลายคนพูดถึงเรื่องประกัน ซึ่งผมขอบอกเป็นครั้งสุดท้ายว่าเรื่องเงินไม่เคยเป็นปัจจัยของผม การทำประกันหรือไม่ไม่ทำให้เกิดความแตกต่างใด ๆ ในกรณีนี้ หลายคนถามเรื่องการร้องเรียนการเรียกร้องความรับผิดชอบของโรงแรม ผมกำลังรวบรวมความคิดในเรื่องนี้อยู่ ผมไม่มีความต้องการเรียกร้องด้านเงินตรา แต่ผมอยากเห็นการแสดงความรับผิดชอบ อยากสร้างประสบการณ์ทดแทนให้กับเด็ก ๆ และครอบครัว อยากเห็นมาตรการป้องกัน การแก้ไขระบบของเขานี่เป็นสิ่งสำคัญที่ผมต้องการเห็น

IMG_1659

สิ่งที่เกิดขึ้นตอนต่อไป ผมจะค่อย ๆ มารายงานให้ทราบต่อไปครับ หวังว่าเรื่องราวของครอบครัวเราจะสามารถช่วยป้องกันขั้นพื้นฐานให้กับครอบครัวอื่น ๆ ในขณะที่ความพยายามอีกระดับในอนาคตของผมนั้นจะสร้างความปลอดภัยขึ้นกับระบบ รวมถึงปรับมาตรฐานความรับผิดชอบของโรงแรมทั้งระบบโดยรวม และที่สำคัญที่สุดทำให้ภรรยาของผมพอใจกับเหตุการณ์นี้ ซึ่งผมเองยังไม่สามารถเข้าใจได้ว่าภรรยาของผมต้องการอะไร ในระยะยาวถ้าผมเรียกร้องได้ไม่ตรงใจกับภรรยาของผม ชีวิตครอบครัวของผมต้องสั่นคลอนเพราะความไร้ความรับผิดชอบของโรงแรมเครือหนึ่งเพียงเท่านั้น

HepB / Langkawi / PBP แด่ความพ่ายแพ้ที่ยิ่งใหญ่

เมื่อต้นปี 2014 ผมมีกำหนดเข้ารักษา Chronic HepB โดยการใช้ Interfuron ฉีดใต้ผิวหนังทุกสัปดาห์เป็นระยะเวลา 48 สัปดาห์ แม้ว่าจะมีกระแสฮือฮาอยู่ช่วงหนึ่งที่ว่า “ไวรัสตับอักเสบปี อันตรายกว่า เอดส์ 100 เท่า” มันไม่ใช่เรื่องที่ผมกังวลมากนัก แม้ว่าจะมีเพียง 10% ที่โรคตับอักเสบบีจะไม่สามารถรักษาตัวเองจนกลายเป็นเรื้อรังแบบที่ผมเป็น และแม้ว่าจะมีเพียง 10% ของผู้ป่วยเรื้อรังเหล่านั้นที่จะพัฒนาไปจนกลายเป็นมะเร็งตับในที่สุด หรืออย่างน้อย ๆ ต้องมีภาวะตับแข็ง ตับวายเมื่ออายุมากขึ้น สิ่งที่ผมกังวลมากที่สุดคือ การฉีดยา การเจาะตับ สำหรับคนที่กลัวเข็มเป็นชีวิตจิตใจ การที่จะต้องใช้เข็มยาว ๆ แทงสีข้างเพื่อเก็บตัวอย่างตับ การที่จะต้องฉีดยาเข้าบริเวณรอบสะดือ หรือต้นขาทุก ๆ สัปดาห์ เจาะเลือดจำนวนมากทุก ๆ เดือน เป็นเรื่องที่ทำให้ผมกังวลมากที่สุด อุบายเพียงอย่างเดียวที่ผมนึกออกในตอนนั้นคือ ผมต้องสร้างความท้าทายอย่างที่ไม่เคยทำมาก่อน เพื่อจะดึงจิตใจผมให้อยู่กับความท้าทายเหล่านั้น และปล่อยให้การรักษาดำเนินไปตามตารางของมัน ความท้าทายที่ผมกำหนดขึ้นคือ การแข่งขันไอรอนแมนลังกาวี และการเตรียมตัวเพื่อไปแข่งขัน Paris-Bret-Paris (PBP) จักรยานทางไกลที่มีระยะทางถึง 1200 กม.

Screen Shot 2558-06-29 at 10.54.52 PM

ในการแข่งขันไอรอนแมนลังกาวีนั้น ผมต้องเตรียมตัวซ้อมประมาณ 16 สัปดาห์ อย่างเข้มข้นเพื่อยกระดับจากระยะการซ้อม 60-80 km ไปเป็น 130-150 จากการวิ่ง 15-18 กม. ไปเป็น 25-35 กม. ในช่วงเวลา 16 สัปดาห์นั้น ในขณะที่ต้องค่อย ๆ เก็บ qulification และซ้อมเพื่อการปั่นจักรยานระยะไกลที่ผมไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน ที่ระยะทาง 200, 300, 400 และสุดท้ายคือ 600 กม. ให้ทันภายใน 1 ปี จะเห็นได้ว่าการมีเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่กว่าตัวผมเองอย่างมากมายเช่นนี้ ทำให้จิตใจผมแทบไม่มีเวลาเหลือที่จะโอดครวญกับกระบวนการรักษาต่าง ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นเลยแม้แต่น้อย ผมฉีดยาเข้าตัวเองเข็มแรก ก่อนการปั่นระยะทาง 200 กม. ครั้งแรกของผมจะเกิดขึ้นบนเส้นทาง BRM200 อยุธยา ในช่วงเข็มแรกนั้น ร่างกายกำลังปรับตัวทำให้เกิดไข้สูงตลอดคืน ร่างกายหนาวสั่น เกิดตะคริวทั่วตัว ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อไปจนวันแข่งขัน เข็มแล้วเข็มเล่า อาการต่าง ๆ ก็ทุเลาลงเรื่อย ๆ ผลการเจาะเลือดก็ดูดีขึ้นเรื่อย ๆ ขณะที่ร่างกายของผมอ่อนแอลงทุกที ๆ การแข่งขันในสาย Audax BRM ก็เข้มข้นขึ้นทุกที ๆ

img_5819

อาการทางร่างกายของผมเริ่มตั้งแต่การเบื่ออาหาร รสชาดปากเปลี่ยนไปอย่างมาก อาหารหลาย ๆ อย่างเค็มไปหมด จนแทบจะกินอะไรไม่ได้ น้ำหนักลด เหนื่อยง่าย เพลีย ย่อยยาก ท้องอืด ตับเป็นอวัยวะที่สำคัญและมีหน้าที่หลายอย่างมากกว่าที่ทุกคนจะเข้าใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับกีฬาอดทนที่ต้องการใช้พลังงานเป็นจำนวนมาก ต้องพึ่งพาการย่อยอาหาร การตูดซึมอาหารที่มีประสิทธิภาพที่เป็นหน้าที่โดยตรงของตับ ความท้าทายของผมมันมากขึ้นทุกวัน ทุกวัน แม้ว่าอาการเฉียบพลันที่เกิดจากการฉีดยาแทบจะไม่หลงเหลืออีกต่อไป BRM300 เขาใหญ่ ที่ระดับเม็ดเลือดแดง ระดับฮีโมลโกลบิน ผมลดลงเรื่อย ๆ เม็ดเลือดขาวก็โดนทำลายจนเข้าขั้นวิกฤติลงไปทุกที ผมผ่าน BRM300 อย่างฉิวเฉียด อย่างที่ผมได้บันทึกความประทับใจของประสบการการปั่นทางไกลแบบ Audax เอาไว้ก่อนหน้านี้แล้ว (กดเพื่ออ่าน)

img_6252

ในช่วงเข็มหลัง ๆ ของการรักษา อาการเฉียบพลันเรียกได้ว่าหายไปหมดแล้ว เหลือแต่เพียงแผลไหม้ตามรอบสะดือ และหน้าขาที่ถูกฤทธิ์ยาแผดเผาจนไหม้ดำ แต่อาการที่เปลี่ยนผมไปอย่างถาวรคือ ปริมาณเม็ดเลือดแดงที่น้อยลง ฮีโมลโกลบินที่น้อยลง ในการปั่นที่ความเร็วเดิม ๆ หัวใจผมต้องทำงานหนักขึ้น เพื่อส่งออกซิเจนให้กับร่างกายให้ได้ในระดับเดิม HR ผมสูงขึ้นอย่างน้อย 10 bpm ในทุก ๆ กิจกรรม ผมจำเป็นต้องซ้อมทุกอย่างให้ช้าลง เพราะการทำงานที่ระดับ HR สูง ๆ น้ันสิ้นเปลืองพลังงานที่เป็นส่วนสำคัญในการกำหนดผลลัพธ์ของกีฬาอดทนอย่างไอรอนแมนที่ใกล้เข้ามาทุก ๆ ที และเมื่อวันนั้นมาถึง ผมก็ต้องพบกับความพ่ายแพ้ครั้งแรกในชีวิตของผม เมื่อผมสามารถกินได้น้อยลง ๆ เรื่อย ๆ จนในที่สุดพลังงานก็ถูกใช้ไปจนหมดสิ้นโดยไม่สามารถเติมเข้าไปในระบบได้อีก ผมสิ้นสุดการแข่งขันไอรอนแมนแรกในชีวิตผมด้วย DNF แรกในชีวิตเช่นกัน ผมใช้เวลาอยู่กับตัวเองค่อนข้างนานในคืนนั้น ก่อนที่จะรวบรวมกำลังใจกำลังกายเดินกลับที่พัก พบกับภรรยาและลูก ๆ และ เพื่อแจ้งข่าวนี้ให้กับเพื่อน ๆ ทุกคนที่คอยลุ้นได้รับรู้ (กดเพื่ออ่าน)

10384459_946104222073330_6550812990853246579_n

ผมไม่มีเวลาเสียใจ เสียดายมากนัก เพราะยังมีรายการหนักหน่วงที่รอผมอยู่นั่นคือการแข่งขัน Back-to-back-to-back-to back สี่สัปดาห์ที่ต่อเนื่อง จากการปั่น BRM200 ไตรกีฬา LPT ไตรกีฬา CLP และ BRM400 เป็นการปิดท้าย แม้ว่าในปีนี้ ปีที่ผมไม่สามารถคาดหวังกับสถิติความเร็วได้ แต่ความต่อเนื่องและหนักหน่วงของการแข่งขันก็ทำให้หลาย ๆ คนเครียดได้พอสมควร ผมสามารถจบการแข่งขันทั้ง 4 รายการได้อย่างน่าพอใจ ทั้งนี้อาจจะเป็นช่วงที่ผมมีเม็ดเลือดขาวตกต่ำมากจนถึงขึ้นวิกฤติ จนหมอต้องงดการใช้ยา เพื่อน ๆ ที่เป็นหมอเริ่มตักเตือนเสียงแข็ง แต่ความอยากอาหารที่เพิ่งกลับมา ความอ่อนเพลียที่หายไปในฉับพลันนั้น ทำให้กำลังใจในการแข่งขันทั้งสี่รายการให้จบสิ้นภายในสี่สัปดาห์นั้นมีเปี่ยมล้น ผมค่อย ๆ กลับมาซ้อมวิ่งอีกครั้งหลังจากพักผ่อนชั่วคราวหลังการแข่งขันอันหนักหน่วง

img_0317

ผมลงแข่งขันรายการจอมบึงมาราธอนเป็นครั้งแรก และเป็นรายการที่น่าประทับใจ แม้ว่าผมและเพื่อน ๆ ในทีมจะวิ่งแบกถึงคอยแจกตุ๊กตาให้เด็ก ๆ ที่มาคอยเชียร์ตลอดทาง หลังจากนั้นผมก็ไปแข่งวิ่งเทรลที่เกาะสวรรค์ที่ญี่ปุ่น ซึ่งผ่านไปอย่างน่าประทับใจ จนผมสัญญากับตัวเองว่า มันคงถึงเวลาแล้วที่ผมจะเริ่มทำความรู้จักกับการแข่งขันที่เรียกว่าเทรลรันนิ่ง (กดเพื่ออ่าน) หลังจากนั้นมีการนัดกันในกลุ่มนักปั่น  Audax ที่ต้องการไปแข่งขัน PBP ที่จะซ้อมปั่นระยะทาง 1200 km ภายในเวลา 90 ชม. โดยเริ่มจากกรุงเทพ เพื่อมาปั่น BRM300 สงขลา ผมจึงตอบตกลงโดยไม่ลังเล ประสบการณ์นี้ทำให้ผมได้พบกับสิ่งที่ไม่เคยพบมาก่อนหลาย ๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นการ break down ของอุปกรณ์ การล้มเหลวของกล้ามเนื้อเล็ก ๆ บางส่วน เช่น คอ หลัง  ผลกระทบของการอดหลับอดนอน การ dehydrate และอื่น ๆ ผมจบการซ้อมใหญ่ของผมที่ระยะประมาณ 820 กม. และไม่สามารถเข้าร่วมการปั่น BRM300 ได้ เป็น DNS แรกในชีวิตของผม (กดเพื่ออ่าน) ช่วงนี้ผมหยุดการรักษา HepB ไปแล้วเนื่องจากเม็ดเลือดขาวตกต่ำเป็นเวลานาน จนหยุดยานานเกินไป รวมระยะเวลาการรักษา 32 สัปดาห์ ผลเลือดสองครั้งสุดท้ายพบว่าไม่พบไวรัสในร่างกายของผมอีกแล้ว อย่างไรก็ตามผมทราบดีว่า HepB จะไม่หายไปเพราะ HepB เป็นโรคที่รักษาไม่หาย

IMG_1975

ผมเหลือเพียงรายการ BRM600 อีกเพียงรายการเดียวที่ต้องสอบให้ผ่าน เพื่อที่จะ qualify ในการไปปั่น PBP ที่ฝรั่งเศส ซึ่งผมมีความกังวลน้อยมากเพราะเพื่อน ๆ หลายคนบอกว่า BRM400 จะหนักกว่าเนื่องจากการออกแบบ CP ที่มีเวลาเหลือให้นอนได้ไม่มาก ก่อนรายการ  BRM600 ผมจึงจัด BRM300 และ BRM400 ไปอีกครั้ง และนั่นทำให้ผมเริ่มสังเกตความผิดปกติในร่างกายของผม ผมเหนื่อยผิดปกติมาก ๆ แม้ว่าจะปั่นไปเพียงร้อยกิโลเมตรเศษ ๆ การที่จะบอกว่าเพื่อนผมที่มาช่วย pacing ให้กับผมนั้นใช้ความเร็วมากเกินไปก็คงไม่ใช่ เพราะเราปั่นในช่วง 25-30 km/hr เท่านั้น ซึ่งปกติระยะ 200 ผมสามารถปั่นเดี่ยวที่ความเร็ว 27-32 ได้มาก่อน อย่างไรก็ตาม BRM300 นั้น เรามีกัน 4 คน ก็มีการจอดรอกันเป็นช่วง ๆ ทำให้ผมยังพอมีเวลาหายใจ แต่สำหรับ BRM400 นั้น อำนวย pacer ของผมต้องการเข้าจุดพักตามกำหนดเพื่อให้มีเวลานอน ซึ่งนั่นเป็นกลยุทธ์ที่เขาวางให้ผมใช้เพื่อไปพิชิต PBP เมื่อการเดินทางกลายเป็น 4 วัน 4 คืน การอดนอนอย่างต่อเนื่อง มันเป็นระเบิดเวลาที่จะทำให้การพิชิต PBP เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ด้วยแผนนี้ BRM300 และ BRM400 ทั้งสองรายการนี้เป็นรายการที่ทำเวลาได้ดีกว่ารายการอื่น ๆ ก่อนหน้าค่อนข้างมาก แม้ว่าผมจะเหนื่อยแทบขาดใจก็ตาม

IMG_0806

รายการสุดท้ายที่จะชี้ชะตาก็มาถึง ผมไม่ได้ซ้อมมากนักเพราะรู้สึกว่าตัวเองมีอาการคล้าย ๆ กับ Overtrain หัวใจเต้นเร็วผิดปกติจากเดิมก่อนรักษาในเวลานี้ 15-20 bpm เข้าไปแล้ว การปั่น 27-30 km/hr อาจจะทำให้หัวใจเต้นสูงถึง 160-170 bpm เข้าโซน 4 ปริ่ม ๆ โซน 5 ก่อนวันแข่งไม่กี่วัน ผมไปฟังผลติดตามการตรวจเลือด ได้พบกว่าความจริงที่ว่าไวรัสกลับคืนมาอีกครั้ง นั่นหมายความว่า หนึ่งปีที่ผมได้ต่อสู้กับมันจนมาจบที่คำสรุปว่าผมไม่สามารถเอาชนะมันได้ และคงต้องอยู่กับสภาวะตับอักเสบไปอีกตลอดชีวิต เมื่อวันที่ต้องปั่น 600 มาถึง ผมเตือนอำนวย pacer ของผมให้เริ่มช้า ๆ เพราะผมอาจจะจำเป็นต้อง warm up นาน กว่าปกติ ซึ่งอำนวยก็ทำตาม แต่ก็มาเลียบ ๆ เคียง ๆ ถามไถ่อยู่เสมอ ว่าพร้อมหรือยัง ช่วงแรก ๆ เราเจอกับพี่อ้อ อารมณ์พาไปจึงเร่ง ๆ ตามพี่อ้อขาแรง ทำให้ผมมาหมดก่อนในช่วงเที่ยง ๆ ต้องจอดหาน้ำดาลชดเชย และในที่สุดต้องหาอาหารเที่ยงกินก่อนถึง CP ไม่กี่กิโลเมตร เพิ่งผ่านไปเพียงร้อยกิโลเศษ ผมเริ่มกินอาหารไม่ค่อยลง ผมปั่นตามไปเจอเพื่อน ๆ ที่ CP ที่เป็นปั้มน้ำมัน อำนวยให้ผมพักนิดหน่อยก่อนที่จะออกตัวไป ในช่วงหลังนี้ผมเริ่มมีปัญหากินไม่ได้มากขึ้น ปริมาณน้ำที่พยายามใส่เข้าไปชั่วโมงละขวดค่อย ๆ ลดลงเรื่อย ๆ จนเหลือ สองสามชั่วโมงไม่ถึงครึ่งขวด จาก CP หนึ่งไป CP หนึ่งห่างกันร่วม 80 กม. ใช้เวลากว่าสามสี่ชั่วโมงผมแทบไม่ต้องเติมน้ำเลย แต่ผมก็เปลี่ยนนำ้เย็นทุก ๆ ครั้ง ผมเหนื่อยจนคิดอะไรไม่ออก จากที่ควรจะพยายามกินน้ำหรืออาหารชดเชย ผมได้แต่เปลี่ยนน้ำเย็นใส่ขวดแล้วพยายามนั่งพักให้หายเหนื่อยแทนที่จะพยายามกิน พลังงานเริ่มหมด ขาเริ่มกดไม่ค่อยลง ท้ายที่สุดอำนวยเห็นว่าต้องพักบ่อยจนไม่ได้การ จำเป็นต้องแก้แผนให้ใหม่ พาผมเข้าพักที่ปั้มน้ำมันในนอนรอเพื่อนอีกกลุ่มที่ตามหลังอยู่ประมาณ 1 ชั่วโมง ผมจะได้พักก่อน 1 ชั่วโมงเพื่อดูว่าจะมีกำลังมาอีกหรือไม่

1977283_10206693321549445_8820775100374244395_n

เมื่อเพื่อน ๆ ตามมาถึงเราก็ออกตัวไปด้วยกัน แต่ผมก็ไม่สามารถทำความเร็วตามทุก ๆ คนได้ เมื่อเลี้ยวเข้าเขางอบ เจอเนินแล้วเนินเล่า ผมก็ค่อย ๆ ถูกทิ้งห่างออกไปเรื่อย ๆ ผมปั่นช้า ๆ ด้วยความเร็ว 10 กว่า ๆ ไปเรื่อย ๆ จนถึงที่ รพ.เขางอบตอนตีสอง ช้ากว่าแผนการที่วางไว้ถึง สามชั่วโมง รวมเวลานอนพัก 1 ชม. ไปด้วย เพิ่งผ่านมาได้ครึ่งทาง 305 กม. เท่านั้น แต่ผมไม่เหลืออะไรอีกแล้วในร่างกาย โรงแรมที่พักที่จองไว้ 20 กม. ข้างหน้ามันดูไกลเกินไปที่ผมจะปั่นไปให้ถึงในตอนนี้ ผมจึงขอนอนข้างทางที่นั่น ข้าง ๆ ถ้วยถั่วเขียวที่กินไปได้เพียงสามคำ ผมมีเวลานอนสองชั่วโมงก่อนที่จะต้องออกตัวตอนตีสี่เพื่อไปให้ทันอีก CP หนึ่งที่ห่างออกไป 80 กม. ที่เส้นตาย 9 โมง ผมปั่นไปได้เพียง 15 km  เริ่มเกิดอาการเซไปมา หน้ามืดมองด้านหน้าไม่เห็นหลายครั้ง ผมคิดหลายต่อหลายครั้งว่าถ้าผมแพ้ในตอนนี้ PBP เป็นอันจบกัน แล้วก็กดขาไปเรื่อย ๆ จนในที่สุดผมคิดว่าผมได้พาชีวิตผมเข้าไปเสี่ยงจนล้ำเส้น ครั้งนี้ล้ำเส้นแบ่งถนนจนเริ่มเสียวว่า ชีวิตอาจจะสูญไปเพียงเพราะรถสวน ผมจึงยอมเข้าข้างทางที่ร้านน้ำเต้าหู้ สั่งน้ำเต้าหู้ทาน message บอกผู้จัดการทีม แจ๊ค และหยิน ที่คาดว่าจะเพิ่งเข้านอนได้ไม่นาน ให้มาเก็บศพผมด้วย ก่อนที่จะเปิดโลเกชั่นในโทรศัพท์ทั้งไว้ ก่อนที่จะผลอยหลับไป ผู้จัดการมารับผมตอนไหนผมจำไม่ค่อยได้ ไปอาบน้ำทานอาหารเช้า แล้วเราก็ออกรถตามเพื่อนคนอื่น ๆ ไป

11391329_822997454458731_3160123015741880084_n

ผมใช้เวลาส่วนใหญ่หลับ แทบไม่รู้สึกตัวอีกเลย กว่าจะเริ่มขยับตัวคุยรู้เรื่องราว ก็บ่ายแก่ ๆ ใจผมวนเวียนอยู่กับความพ่ายแพ้ที่ถาโถมเข้ามา การสอบตก BRM600 ครั้งนี้หมายความว่า  PBP เป็นเพียงความฝัน แม้ว่าจะมี BRM600 Singapore รอให้แก้ตัว แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่อยู่ในแผนของผม ผมคิดว่านี่คือความพ่ายแพ้ที่ผมต้องยอมรับ ใช้เวลาสามสี่วันกว่าผมจะเริ่มจับต้นชนปลายได้ และเริ่มวางแผนแก้มือใหม่อีกครั้ง ปลายปีนี้ผมจะเผชิญหน้ากับความพ่ายแพ้ครั้งแรกที่ลังกาวีอีกครั้ง อีกสี่ปีข้างหน้า ผมจะกลับไปจัดการกับมันให้ได้ PBP เมื่อบทหนึ่งได้สิ้นสุดลง ไม่ว่าตอนจบมันจะเป็นเช่นไร บทใหม่ย่อมเริ่มต้นขึ้นเสมอ เรื่องราวทั้งเล่มจะเป็นเช่นไร ก็ขึ้นกับหลาย ๆ บทที่เราค่อย ๆ เขียนขึ้น ไม่มีหนังเศร้าเรื่องใดที่จะเศร้าทุกบททุกตอน และไม่มีหนังสุขสมเรื่องใดที่จะสุขทุกบททุกตอน เรื่องราวจะ happy ending หรือไม่ ชีวิตเราขึ้นกับเราจะเขียนให้มันจบแบบแฮปปี้หรือไม่ก็เท่านั้น

พี่อาร์มนักสู้ผู้มากประสบการณ์ (บทสัมภาษณ์ใน Fit 4 Fun)

บทสัมภาษณ์จาก Fit 4 Fun

Arm-1Arm-8

พี่อาร์มนักสู้ผู้มากประสบการณ์ แม้แต่ไวรัสตับอักเสบไม่สามารถขัดขวางชายคนนี้เข้าแข่ง Ironman ที่ลังกาวีได้

ชื่อ : ณัฐพงศ์ นิธิอุทัย (อาร์ม)
อายุ : 42 ปี
น้ำหนัก : 57 Kg.
ส่วนสูง : 171 cm.
สถานะภาพ : แต่งงานแล้วมีลูก 3 คน จริงๆมี 4 ครับ แต่เสียไป 1 คน ตอนนี้ผมก็เลยทำกองทุนในชื่อลูกที่เสียไปด้วยครับ
การศึกษา :
ประถม – วรคามินอนุสรณ์ (ปัตตานี)
มัธยม(ต้น) – อัสสัมชัญ ศรีราชา
มัธยม(ปลาย) – สาธิตสงขลานครินทร์ (ปัตตานี)
ป.ตรี – จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย (วิศวกรรมศาสตร์)
ป.โท – ป.เอก Case Western Reserve University, USA (Polymer Engineering)
อาชีพ :
– เป็นอาจารย์ที่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ภาควิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์
– ดูแลกิจการของครอบครัวผลิตและจำหน่ายเครื่องนอนยางพารา
ประวัติกีฬาที่เล่น : ว่ายน้ำก๊อกๆแก๊กๆ ได้มาอยู่ทีมโปโลน้ำจุฬา ในตำแหน่งที่ไม่ต้องว่ายน้ำมาก

Arm-9Arm-10

Fit4fun : รางวัลและสถิติ
คุณอาร์ม : ไม่เคยได้รางวัลอะไรเลย เล่นเพราะรักเพราะชอบ แต่ผมแบกคำว่า DNF (DID NOT FINISH หรือ แข่งไม่จบ) มานานมากแล้ว ไม่เคยไม่จบ ทรมาน เจ็บ ไข้ ลากสังขารจนจบทุกครั้ง เพิ่งได้ลอง DNF ในงานล่าสุดนี่แหละ

Arm-4Arm-2

Fit4fun : เป้าหมายในการออกกำลังกายและการเล่นไตรกีฬา
คุณอาร์ม : เคยคิดว่าแก่ๆน่าจะวางมือได้แล้ว การแข่ง Ironman ที่ลังกาวีที่ผ่านมากับผมก็ต้องใช้ยา อินเตอฟิวรอน (ฉีดยาอินเตอฟิวรอนเข้าไปในร่างกายเหมือนคีโมอ่อนๆทุกสัปดาห์เป็นเวลาหนึ่งปี เพื่อรักษาอาการตับอักเสบบีเรื้อรัง) ช่วงหลังนี่ผมเป็นลมบ่อยขึ้น แต่ก็ยังฝืนเล่น มันมีเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่พอ ๆ กัน ทั้งการซ้อมและการแข่งขัน สุดท้ายผมก็ไม่สามารถเป็นไอรอนแมนได้นะ เป็นลมไปเสียก่อน dehydrate น่ะ

Arm-5Arm-7

Fit4fun : การแบ่งเวลาการซ้อม การแข่งและเวลาของครอบครัว
คุณอาร์ม : ผมตั้ง priority ให้ครอบครัว ชีวิตและสุขภาพเป็นที่หนึ่ง ในส่วนการทำงานที่ทำอย่างเป็นทางการคืออาจารย์มหาวิทยาลัย ก็ต้องเสียสละเรื่องความก้าวหน้าไปบ้าง ส่วนธุรกิจของครอบครัวก็วางตัวห่าง ๆ ให้น้องๆไปดูแล และเข้าไปช่วยตามความจำเป็น ผมจะซ้อมตอนเช้าอย่างเดียว ตอนเย็นเป็นเวลาครอบครับ นอกจากต้องเดินทางก็จะอดซ้อมไปบ้าง ผมมีแนวคิดแบบนี้ครับ คือผมซ้อมเพื่อจะไปแข่ง และสมัครแข่งขันเตรียมไว้เพื่อบังคับให้ซ้อมและแข่งเวียนกันไป ไม่ว่างเว้น สุขภาพจะได้ดีๆตลอดครับ ทีนี้เราก็เพิ่มเรื่องของครอบครัวเราเข้าไปด้วย เช่นเลือกรายการที่เราอยากไปเที่ยว อยากพักผ่อนจากการทำงาน เลือกประเทศที่เราอยากพาลูกๆและภรรยาไป พอเลือกแล้วก็วางเป้าหมายในการแข่งขันนั้นๆ เช่น ถ้าเป็นระยะทางใหม่ เราอาจจะตั้งเป้าเวลา อาจจะขอแค่แข่งจนจบ ถ้าเป็นระยะทางเดิม เราอาจจะทำเวลาให้ได้ดีกว่าเดิม แล้วจึงมาวางแผนการซ้อมเพื่อจะทำให้สำเร็จตามเป้าหมาย ผมพาไปหมดนะ แต่งงานใหม่ ๆ ท้องเล็ก ๆ ท้องแก่ ๆ ลูกหนึ่งเดือน ลูกสอง ลูกสาม ไม่เคยไปแข่งโดยไม่มีครอบครัวเลยแม้แต่ครั้งเดียว หลัง ๆ เริ่มลากเพื่อน ๆ ไปด้วย รวมตัวเป็นทีมกีฬาสุขภาพ V40 (Very Forty) เล่นมันทุกกีฬาคนอึด ผมเป็นหัวหน้าเผ่าในปัจจุบัน

Arm-13Arm-16

Fit4fun : ทำไมจึงเลือกเล่นไตรกีฬาและมีเป้าหมายต่อไปอย่างไร
คุณอาร์ม : ผมเล่นไตรกีฬา เพราะมันหลากหลายดี ผมชอบการใช้ชีวิตตรงตามคอนเซปต์ของไตรกีฬา คือ จริง ๆ เป็นเป็ด มันไม่เก่งสักอย่าง แต่ก็เล่นมาเรื่อยๆ บางปีก็เน้นวิ่ง บางปีเน้นปั่นจักรยานสลับกันไป สมัยก่อนมันมีองค์ประกอบหลายอย่างที่ต่างจากกีฬาประเภทอื่น คือหลักๆ เราแข่งร่วมกับโปร (ไม่เหมือนสมัยนี้) ต้องเดินทางไปแข่งไกลๆ เพราะรายการแข่งขันมีน้อยมาก ทุกคนจะเดินทางไปถึงสถานที่แข่งขันล่วงหน้าหนึ่งวัน เพื่อร่วม pasta party เพื่อที่จะกินอาหารร่วมกัน พูดคุยทำความรู้จักกัน ผู้จัดก็จะมาคุยเล็กๆน้อยๆ เกี่ยวกับการแข่งขันในวันรุ่งขึ้น เราก็จะมีโอกาสได้พูดคุยทำความรู้จักกับโปรด้วย จริงๆ pasta party ก็ไม่ได้อร่อยอะไรนะครับ แต่มันเป็นอาหารง่ายๆน่ะครับ แต่ที่สำคัญคือการได้มีโอกาสพูดคุย ทำความรู้จักกันมากกว่าสนามการแข่งขันจะเป็นมิตรกว่าปัจจุบันพอสมควร

Arm-3Arm-6

จริงๆไตรกีฬาในยุคแรกเป็นกีฬาของคนที่ทำอาชีพ หมอ ทนายและเจ้าของกิจการ คือด้วยความที่เป็นกีฬาที่ต้องใช้ระเบียบวินัยและการจัดการในการซ้อมมาก ใช้งบประมาณมากทั้งอุปกรณ์และการเดินทาง ซึ่งกลุ่มคนพวกนี้ไม่ได้มีเวลามากกว่าคนอื่นเลย แต่ดูเหมือนว่าจะจัดการเวลาได้เก่งกว่า สมัยที่ผมเริ่มแข่ง ผมใส่กางเกงใน (speedo) ตัวเดียวแข่งตั้งแต่ว่ายน้ำจนวิ่งเข้าเส้นชัยเลย 555 เดี๋ยวนี้อะไรๆ มันก็เปลี่ยนไป ถอดเสื้อปั่น-วิ่งไม่ได้แล้ว ผิดกฎ

Arm-21
โดยรวมแล้ว เป้าหมายของการเล่นทั้งหมดก็คือทำอย่างไรให้ชีวิตเรา active ได้ทั้งชีวิต ไม่เบื่อไปซะก่อน ผมเริ่มพาลูกๆ แข่งๆโน่นแข่งนี่บ้าง อย่างคน 5 ขวบนี่เริ่มแข่งจักรยาน 25 กม. 30 กม. มาสองสนามแล้ว ว่ายน้ำ 50 – 100 ม. ก็พอว่ายได้ ก็ต้องแล้วแต่ลูกๆจะชอบ

Arm-19Arm-20

Fit4fun : ช่วยอธิบายถึงกองทุนเพื่อซูริ (For Zuri)
คุณอาร์ม : เรา (ผมและภรรยา) มีปัญหามีบุตรยากต้องพึ่งหมอ พอทำมาแล้วมันมี complication ได้ลูกแฝดต้องคลอดก่อนกำหนด ซูริแฝดน้องน้ำหนักน้อยสุขภาพไม่ค่อยดี ต้องอยู่ในห้องฉุกเฉินทารก (NICU) ระหว่างนั้นพบว่าเพราะที่ซูริตัวเล็ก อุปกรณ์ที่มีจะใช้ไม่ค่อยได้ โน่นนี่นั่น เคยมีแต่เสียไปแล้วบ้าง แต่ผมไม่คิดอะไรมาก เพราะเราวุ่นกับการเฝ้าและคอยให้กำลังจะเขาทุกวัน สุดท้ายเขาก็จากไปอยู่กับเราได้ 49 วัน ผ่านมาแล้ว 5 ปี ผมเริ่มคิดว่าความรับผิดชอบของ NICU ที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์นี่ค่อนข้างมาก รับผิดชอบภาคใต้ตอนล่าง และถ้าเป็นไปได้ถ้าผมช่วยระดมทุนให้อาจจะมีสักวันหนึ่ง ทุนที่เราระดมมาอาจจะทำประโยชน์ช่วยให้ “ซูริ” ของใครบางคนได้กลับบ้าน ไม่เหมือนกับซูริของผม

Arm-14Arm-15

Fit4fun : ช่วยฝากข้อคิดดีๆให้กับคนที่อยากเริ่มเล่นกีฬาประเภท endurance sport หรือ ยังลังเลกับการออกกำลังกายครับ
คุณอาร์ม : ผมมีความเชื่อแบบ extreme ที่ว่ากีฬาแก้ได้ทุกอย่าง ออกซิเจน ระบบภูมิคุ้มกัน ล้วนแล้วส่งผลดีต่อสุขภาพโดยรวมทั้งนั้น เจ็บเข่า เจ็บหลัง เจ็บขา มันมากับกีฬาบางประเภท ถ้าเราสร้างนิสัยการออกกำลังกายเอาไว้แล้ว มันจะเป็นแบบผม พอคิดว่าจะวิ่งไม่ได้เราก็จะหากีฬาอื่นแทนทันที ไม่งั้นลงแดง กีฬา endurance สามารถช่วยเรื่องความต่อเนื่องแบบนี้ได้มาก เพราะมีการแข่งขันที่มือสมัครเล่นเข้าร่วมได้เยอะ มีกีฬาหลากหลายให้เลือก และอาจจะทำได้ทั้งหมดเลยก็ยังได้ และส่วนใหญ่เริ่มได้ ทำได้ด้วยตัวคนเดียว ไม่ต้องคอยรอคู่หู เรามีชีวิตบนโลกนี้ประมาณ 30,000 วันผมใช้มาแล้วมากกว่าครึ่ง เหลือไม่น่าเกิน 10,000 ในช่วงวันท้าย ๆ เราจะใช้ชีวิตอย่างไรมันขึ้นกับช่วงประมาณนี้แหละครับ เป็นการลงทุนที่สำคัญสำหรับบั้นปลายของชีวิต

     Arm-17 Arm-18

Grand Training Bkk-HDY and 300 km more.

ชีวิตคือการเดินทาง ค้นหา ตอบคำถาม และอีกหลายๆนิยามที่เราหลายคนคงได้ยินกันมา สุดท้ายแล้วแล้วแต่ละคนถ้าโชคดีก็นิยามชีวิตในอย่างที่ตนเองเป็น ถ้าโชคร้ายก็มีนิยามของชีวิตที่ต่างไปจากสิ่งที่ตนเองเป็น ในช่วงสงกรานต์ปี 2558 ผมมีโอกาสได้ทำบางสิ่งบางอย่างที่ลดคุณค่าของการมีชีวิตลงเหลือเพียงเม็ดทรายเล็กๆในทะเลทรายโกบีในขณะเดียวกันยกคุณค่าของชีวิตเหนือสิ่งที่เม็ดทรายจ้อยๆพยายามให้คำนิยามเป็นหมื่นแสนเท่า สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นภายในและผมไม่แน่ใจว่าจะถ่ายทอดออกมาได้หรือไม่ แต่นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นที่ผมจะเล่าให้ฟัง

 

IMG_0265IMG_0254

ตั้งแต่วันที่รู้จักออแดกซ์ มุมมองของกิจกรรมของผมเปลี่ยนไปเรื่อยๆจากความท้าทายที่จะปั่นระยะ 200 กม. ในเวลาที่กำหนด ไปสู่การต่อสู้กับการอดหลับอดนอน การช่วยเหลือกันในรูปแบบของทีมในกิจกรรมที่ออกแบบให้เป็นเรื่องส่วนบุคคล การจัดการกับความสงสัยในศักยภาพและข้อจำกัดต่างๆ การเตรียมตัว เตรียมพร้อมและสัดส่วนของความไม่พร้อมที่ยอมให้เกิดขึ้นได้ ในวันที่ผมเริ่มรู้จักสิ่งที่เรียกว่า Paris-Brets-Paris ความคิดผมก็เปลี่ยนไปอีกครั้ง ผมเริ่ม plot เส้นทางจากปัตตานีไปกรุงเทพ ประมาณ 1000 กม. จากความคิดในการปั่นปีละ 500 ใน 8 วันทุกๆปีทั่วไทย กลายไปเป็น power ride 1000-1200 ในเวลาจำกัด แต่นั่นเป็นเพียงความฝัน ถึงแม้ว่าผมจะมีนิสัยไล่ล่าความฝันเพียงใดมันยังคงฝันไม่ใช่แผนการ
IMG_0312
กระทั่งมีการจัดตั้งกลุ่ม Thailand Go PBP ขึ้น ผมหาข้อมูลและตัดสินใจไป PBP มีกลุ่มพี่ๆที่มาจากสายทัวริ่งคิดจัดการทดสอบปั่นจากกรุงเทพมายังหาดใหญ่เพื่อเข้าร่วม BRM300 Songkla รวมระยะทาง 1200 เศษๆ โดยจะกำหนดเวลาให้เหมือนกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นที่ PBP ผมไม่ลังเลที่จะเข้าร่วมในทันที แต่เป็นครั้งแรกที่ผมไม่กล้าที่จะบอกใครจนกระทั่งวินาทีสุดท้าย เมื่อมองในแง่ของความไม่สมเหตุสมผลแล้ว ผมคงไม่สามารถค้านความเห็นของทุกคนได้ การปั่นเต็มระยะ 1200 เพื่อเตรียมไปแข่ง 1200 เป็นเรื่องไม่จำเป็น นักกีฬาอัลตราทุกคนเข้าใจมันดี ไม่มีนักวิ่งอัลตราคนใดซ้อม 100 ไมล์เพื่อเตรียมแข่ง 100 ไมล์ ผมมาจากสายนักกีฬาซึ่งเข้าใจเรื่องนี้ดีว่าความเสี่ยงมันมากเกินกว่าผลลัพธ์ที่จะได้ เพื่อนที่สนใจความท้าทายของระยะทางก็เห็นว่าการปั่นแบบไม่มีกลุ่มเซอร์วิสอดหลับอดนอนในฤดูร้อนที่สุดของเมืองไทยนั้นไม่ได้เรียกว่าท้าทายแต่น่าจะออกไปทางสิ้นคิด แม้กระทั่งกลุ่มคนที่สนใจ power ride ระยะทางสุดประเทศยังให้ความเห็นว่าการปั่นแบบอ่อนล้าใน 7 วันที่อันตรายที่สุดในรอบปีของประเทศไทยมันไม่ต่างกับการกระโดดจากหอไอเฟลแล้วคาดหวังว่าจะรอดชีวิต มีเพียงกลุ่มที่เลือกออกเดินทางด้วยกัน 5 ชีวิต ที่เหมือนว่าจะต้องการทดสอบอุปกรณ์ และไปด้วย mindset ของทัวริ่งที่ยอมรับการปรับเปลี่ยนของแผนการปั่นในทุกชั่วโมง ผมเองเข้าใจความเสี่ยง ข้อเสีย และข้อจำกัดเหล่านี้ได้ดี แต่ในทุกการตัดสินใจมนุษย์เราย่อมสามารถหาเหตุผลมารองรับการตัดสินใจของเราได้เสมอ
IMG_0364IMG_0315
สำหรับผมแล้วการปั่นจากบ้านที่กรุงเทพไปยังบ้านที่ภาคใต้มันเติมเต็มความฝันบางส่วนของนักปั่นจักรยานของผมพอควร การที่จะได้ทดสอบความรู้สึกของการอดหลับอดนอนแล้วปั่นให้ไกลที่สุดเท่าที่จะทำได้แม้ว่าจะไม่ได้ผลดีทางกายภาพแต่ถ้าตั้งเป้าประสงค์ที่ถูกต้องย่อมสร้างผลดีทางจิตใจ ผมใช้มันมาตลอดในชีวิตนักกีฬาอดทนของผม การลองอุปกรณ์ ขนของที่คล้ายความจริงจะช่วยในการวางแผนสำหรับผมเองที่ไม่มีประสบการณ์ปั่นทัวริ่งมาก่อนเลย และสุดท้าย การใช้เวลากับตัวเองมันสร้างงานให้กับผมที่ใช้ผลจากความคิดเป็นหลักในการทำงานเป็นอย่างมาก และสุดท้ายสำหรับคนที่ใช้ชีวิตกับครอบครัว 24-7 อย่างผม การปล่อยให้แม่บ้านได้จัดการความเรียบร้อยในบ้านโดยไม่มีผมเป็นการฝึกฝนเป็นอย่างดีถ้าวันใดวันหนึ่งพวกเขาต้องใช้ชีวิตแบบนั้น การตั้งอยู่ในความไม่ประมาทย่อมเป็นสิ่งที่ดี
IMG_0271IMG_0290
ต่อจากนี้เป็นสิ่งที่ผมบันทึกไว้ทันทีหลังจากการปั่นสิ้นสุดลง เสริมเกร็ดเล็กน้อยที่ผมแทรกลงไปในวันนี้ จากแผน 1240 กม. 93 ชม. แต่ทำได้ 810 กม. 65 ชม. เกิดอะไรขึ้นบ้าง ผมพยายามเตรียมชุดและอุปกรณ์ตามที่คิดไว้ รองเท้า MTB ใหญ่ขึ้นสองเบอร์ กระเป๋าหน้าหลัง ผมขนเสื้อผ้าไปสองชุด เสื้อจักรยานแขนสั้นและยาว และชุดนอนหนึ่ง ถุงเท้าสี่คู่ ปลอกแขนสอง ผ้าบัฟสองผืน Hi-Vis gillet อีกหนึ่ง เพื่อจำลองภาวะจริงที่จะต้องขนเสื้อกันลม กางเกงยาวและ thermal vest แทนชุดที่ขนมาเกินๆ ผมขน power bank 50000 mAh อุปกรณ์ชาร์จและของจิปาถะจากการเดินทางไปกรุงเทพหนึ่งคืนล่วงหน้า รวมๆแล้วน่าจะใกล้เคียงกับความจริงที่ PBP
 11157535_810321489053403_1763873998513516677_o
Stage 1 BTS วุฒากาศ-ประจวบฯ 280km. เราออกตัวช้ากว่าที่วางไว้ 1 ชม. จากที่คิดไว้คือตีห้าแต่ BTS เปิดตีห้าที่สถานีปลายทาง ส่วนหน้าบ้านผมเปิด 5:30 ผมจึงได้ออกมายืนดูยามนั่งหลับหน้าสถานีอยู่ 10 นาที เมื่อไปถึงสถานีนัดหมายก็รอสมาชิก พี่เรืองชัยที่มาแนะนำตัวด้วยเงินบริจาค #ForZuri พร้อมของแถมจากภรรยาของพี่ อีกไม่นานนักก็ได้เริ่มออกตัวไปกันสามชีวิตพี่หมอป้อม ผมและพี่เรืองชัย เราต้องเปลี่ยนเส้นทางเล็กน้อยจากเส้นที่สมาชิกในกลุ่ม Thailand Go PBP ทำมาให้เพื่อไปรับสมาชิกที่ร้านข้าวแกงมหาชัยคือน้องเจี๊ยบ และถือโอกาสแวะกินอาหารเช้ากันเลย จึงเป็นโอกาสทำความรู้จักกันอย่างเป็นทางทางอีกครั้ง แต่ละคนยื่นเงินบริจาคมาเต็มจำนวนเหมือนกับจะบอกว่างานนี้ไม่มีถอย เช้านี้ ฟ้าครึ้มมีละอองฝนบ้างตลอดครึ่งเช้าเนื่องจากมีพายุฤดูร้อนคลุมทั้งบริเวณตอนเหนือของกรุงเทพ เราทราบภายหลังว่ากรุงเทพฝนตกหนักมากแต่เราไม่เจอฝนระดับพายุ ช่วงนาเกลือที่ใครๆว่าร้อนโหด ลมแรง ไม่เป็นอุปสรรคมากอย่างที่กลัว ถือว่าโชคดี ช่วงบ่ายเริ่มร้อนปกติและเกินปกติ ผมกับเจี๊ยบหยุดรอเพื่อทานอาหารเที่ยงบริเวณที่เลยจากนาเกลือมาได้ไม่ใกล พี่หมอตามมาสมทบส่วนพี่เรืองชัยจอดกินล่วงหน้า เรารอจนพี่เรืองชัยตามมาแล้วออกตัวอีกครั้ง
IMG_0294IMG_0292
ปั่นๆหยุดๆรอๆเพราะออกนอกเส้นทางเยอะ ไม่กล้าเดี่ยว บอกเป้าหมายต่อไปเป็นระยะๆ ช่วงบ่ายร้อนเหนื่อยปกติ โดยเฉพาะช่วงหัวหิน แต่เราไม่เร่งมากเพราะรู้ว่าวันรุ่งขึ้นคือของจริง เราหยุดกินเข้าเย็นแถวๆปั้มน้ำมันตอนประมาณ 6 โมงเย็นเพื่อรอให้ทีมด้านหลังตามมา ผมกับเจี๊ยบแม้จะปั่นไม่เร็วแต่ก็เร็วกว่าพี่หมอที่ทดลองขนแบบทัวริ่งเต็มรูปและพี่เรืองชัยที่คอยปั่นเป็นเพื่อน เราตัดสินใจมาจอดรออีกครั้งบริเวณทางเข้าประจวบฯ เพราะตำแหน่งโรงแรมดูสับสน ผมปั่น HR ต่ำ 130 แทบทั้งวัน เฉลี่ยแค่ 137 อยู่ในโซนสอง สมาชิกไม่ถนัดเนินต้องผ่อนรอทุกครั้ง กระเป๋าหน้าร่วงต้องแก้หลายครั้ง ปั่นไปยกไปหลายช่วง สุดท้ายเมื่อสมาชิกมากันครบเราปั่นหลงทางหาโรงแรมสักพัก ก่อนเข้าพัก แต่ผมต้องซ่อมกระเป๋าได้นอนห้าทุ่ม ตั้งปลุกตีสี่ครึ่ง. วันแรกได้ไป. 276.74 กม. แทบไม่เหนื่อยเลย ไม่เมื่อยด้วย เฉลี่ย 25.6 โดยประมาณ พี่เรืองชัยเสียสละให้ทุกคนไปอาบน้ำนอนก่อน ส่วนพี่อัปเดทให้กลุ่ม Thailand go PBP รับรู้ วันนี้ในเวลา 20 ชั่วโมงที่ตื่นผมใช้เวลาปั่นเพียง 12 ชม.
IMG_0282IMG_0304
Stage 2 ประจวบฯ-สุราษฎร์ 360km. เรามีสมาชิกมาเพิ่มอีกหนึ่งในช่วงเช้าพี่หมอแอน ขับรถกว่าห้าชั่วโมงตามมาถึงที่โรงแรมประมาณเที่ยงคืน เซตอัปรถเป็นจาวามินิล้อเล็กแต่เป้ใหญ่มาก ระหว่างรอเราก็ตามหาพี่เรืองชัยที่มีคนเห็นครั้งสุดท้ายคือนั่งหลับอยู่ด้านล่างตอนเที่ยงคืน ประมาณตีห้าเป๊ะๆพี่เขาก็โผล่ามาเฉลยว่าเขาเปิดห้องเพิ่มเพราะไม่เอาชุดมาเปลี่ยนอยากนอนแก้ผ้า โอเคไม่ว่ากันเหตุผลฟังขึ้นเพราะถ้าผมตื่นมาเจอพี่นอนแก้ผ้าบนเตียงเดียวกับผมคงไปต่อไม่ถูกเหมือนกัน เราออกสายไปครึ่งชั่วโมง แถวๆนี้ผมเคยมาแล้วจึงบอกให้พี่ๆเขาปั่นตาม จากประจวบวิ่งด้านในเพื่อไปออกเพชรเกษมแถวๆหว้ากอ เส้นทางดีในช่วงเช้ามืดหลังจากนั้นเมื่อออกเพชรเกษมมาแล้ว มีเนิน Rolling ตลอดทาง 1,3,5% สลับกันไป ผมค่อนข้างถนัดเพราะไม่ต้องใช้แรงมากใช้เทคนิคเยอะ สมาชิกโดนนวดน่วมตั้งแต่เช้า เริ่มมีหลุด กลุ่มเล็กพี่หมอและพี่เรืองชัยหลุดไปก่อน เพราะขนของหนักกว่าใครเพื่อน
IMG_0318IMG_0311
วันนี้แดดเต็มๆ เจี๊ยบเริ่มออกอาการส่วนพี่หมอแอนไปเรื่อยๆเนิบๆ เราคุยกันว่าจะไปพักที่บางสะพาน ผมกับเจี๊ยบก็ปั่นไปเรื่อยๆจนกระทั่งพี่หมอแอนหายไป แต่ก็ยังไม่หยุด ปั่นไปเรื่อยสักระยะพบว่าน่าจะเลยบางสะพานมาได้สักพักแล้ว เราปั่นต่อเนื่องมากว่า 80 กม. เลยหยุดรอเพราะสมาชิกเริ่มไม่ไหว ร้อนตั้งแต่เช้า จอดกินแตงโมลูกนึงแบ่งสามคน. อร่อยมากกินไปเยอะแม้จะกลัวท้องอืดแต่ยอม แตงโมหวานๆในบรรยากาศร้อนตอนกระหายสุดๆนี่มันสุขใจจริงๆ เรารอกลุ่มหมอป้อม รอต่อไปร่วมชั่วโมงครึ่งเลยคิดว่าควรออกตัว เพราะคนที่ร้านแตงโมบอกว่ายังอยู่ห่างออกไปอีกกว่าห้ากิโล เราโทรแจ้งตำแหน่งกันเล็กน้อยก่อนที่จะบอกว่าจุดต่อไปคือเขาโพธิ์อาหารเที่ยง แต่ยังไปรอเป็นช่วงๆ เพราะเรารู้ว่าเราเริ่มปั่นช้าลงมากเพราะร้อนและเนิน บางช่วงมีหลุดเนื่องจากเนินและร้อนที่สลับกันตัดแรงของกลุ่มเราทั้งสามคน แต่ก็ต้องรอต่อเพราะคนเหลือแค่สามการทิ้งกันที่ระยะนี้แล้วลุยเดี่ยวอีก 260 กม. คงไม่น่าสนุกเท่าไรนัก
IMG_0291IMG_0296
สุดท้ายเรามากินเที่ยงกันที่เขาโพธิ์ มารอจนทันกันที่เขาโพธิ์ กลุ่มเราเรียบร้อยแล้วจึงอาสาเฝ้าจักรยานให้พี่เขาไปหาอาหารมาทานกัน แต่พี่เขาตัดสินใจให้แยกกัน ณ จุดนี้เพราะเขาคิดว่าเส้นทางคงเป็นแบบนี้ไปอีกไกล เขาคงทำเวลาไม่ได้เช่นเคย สรุปครึ่งวันรอมาแล้วสามชั่วโมง ร้อนมาก เนินเยอะมาก จากเขาโพธิ์ก็ไปเรื่อยแต่เริ่มยิ้มไม่ออกเนินมันทำร้ายจิตใจพอๆกับแดด พี่หมอแอนเริ่มหลุดอีกครั้ง ผมกับเจี๊ยบก็ปั่นปั่นปั่นจนมาทราบว่าพี่เขายางแตกแล้วมีปัญหาจึงโบกรถล่วงหน้าจะไปรอแถวชุมพร เราสองคนปั่นร้อนกันจนมาถึงหน้าร้านคุณสาหร่าย เจี๊ยบจอดซื้อไอติมข้างทางผมบอกเจี๊ยบว่าพี่หมอบอกก่อนที่จะหลุดว่าเราจะมาพักกันที่ร้านนี้ น่าจะโทรถามพี่เขาว่าอยู่ที่ไหน ปรากฏว่าพี่เขามาซ่อมยางที่ร้านซ่อมมอเตอร์ไซค์ห่างออกไปเพียงสองร้อยเมตร
IMG_0286IMG_0329
เราจึงเจอกันอีกครั้ง ผมไม่แน่ใจว่าปัญหาหลักคืออะไรเพราะทันทีที่ผมนั่งลงรอผมก็ผลอยหลับในทันที ไม่รู้ว่านานเท่าไรแต่หลังจากออกตัวด้วยกันอีกครั้งเราปั่นยาวกันจนหกโมงเย็นจัดการอาหารเย็นคราวนี้เป็นโจ้กเบาๆเพราะผมเริ่มมีปัญหากับระบบย่อยของผมมากขึ้นตลอดทาง หลังจากอาหารเย็นเรามองกันว่าคืนนี้คงไม่ได้นอนเราควรจะเก็บงีบสั้นๆไปเรื่อยๆระหว่างทางและแล้วทุกคนเริ่มของีบกันข้างทาง เมื่อออกตัว เราปั่นช้าลง หยุดบ่อยขึ้นและบ่อยขึ้นในช่วงกลางคืน สุดท้ายประมาณสี่ทุ่มเราได้ระยะทางมาประมาณ 260 กม. เราจึงขอพักงีบอีกครั้ง คราวนี้สมาชิกนอนตั้งแต่สี่ทุ่มยันเที่ยงคืน ผมแอบกินมาม่าและพยายามนอนแต่ไม่ค่อยหลับ จึงไปหยิบโน่นนี่นั่นมากินเรื่อย ๆ ฆ่าเวลา แต่เห็นว่าไม่ไหวแล้วจึงปลุกเพราะเหลืออีกร้อยกิโล ถ้าใช้เวลาห้าชั่วโมงจะได้อาบน้ำก่อนออกตัวตีห้าในวันรุ่งขึ้นพอดีที่สุราษฎร์ ทุกๆคนงัวเงียตื่นขึ้นมาเพื่อปั่นกันต่อไป แต่ไปได้ไม่นานเจี๊ยบขอจอดปรับตำแหน่งอานข้างทาง ส่วนผมขอตัวเข้าข้างทาง แต่ในช่วงเวลาที่ผมทำธุระอยู่นั้น ที่จุดที่เราหยุดบังเอิญเป็นโรงแรมพอดี สองสาวหันมาพูดพร้อมๆกันว่าเราน่าจะนอนกันที่นี่เพราะไม่ไหวกันแล้ว แต่ให้ทางเลือกผมที่จะแยกไปก่อน ผมคิดว่าถ้าผมหยุดวันนี้จะไม่มีวันไปทันที่หาดใหญ่ตอนตีห้า นั่นเท่ากับผมล้มเหลวในวันที่สอง ที่ระยะทางเพียงห้าร้อยกว่ากิโลเท่านั้น ผมจึงคิดว่าเราควรลองให้มันสุดทางเลยแยกกันไป ช่วงนั้นเนื่องจากผมเก็บขามาทั้งสองวันได้โอกาสเร่ง 28-30 ตลอดทางแวะที่ระยะประมาณ 50 กม. ผมลองดื่ม redbull extra เป็นครั้งแรกเพราะเริ่มเข้าใกล้ตีสาม ผมเคยหลับในที่เวลาประมาณนี้จึงอยากป้องกันไว้ก่อน แต่เป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาดอย่างมหันต์ ผมเกิดอาการใจสั่นอย่างรุนแรง ความเร็วที่เคยทำได้ในช่วงแรกต้องลดลงเพราะในตอนนั้นผมไม่มั่นใจว่าเกิดจากอะไร แดดที่ผ่านมาทั้งวันนี้ก็ถือว่าโหดร้าย ถ้าผมจะหัวใจวายตอนตีสามระยะทางรวม 500 กว่ากิโล ผมและทีมชันสูตรคงไม่แปลกใจกันเท่าไรนัก ผมผ่อนลงเยอะ ผมนับถอยหลังไปเรื่อยๆอย่างอดทน พลางคิดว่าเราจะนอนสักหน่อยโดยไม่สนใจเวลาออกเดิมคือตีห้าอาจจะออกหกหรือเจ็ดโมงตามแต่เวลาถึง แล้วผมก็ถึงสุราษฎร์ตีสี่นิดๆ ได้ระยะทาง 351.21 กม. โดยประมาณ ปั่นมา 14.5 ชม. ตื่นมากว่า 24 ชั่วโมง HR เฉลี่ย 132 ความเร็วเฉลี่ย 24 ผมตั้งเวลาเพื่อที่จะนอนสองชั่วโมงกะว่าจะออกหกโมงนิดๆ แต่ลงมาเห็นอาหารเช้าแล้วทำใจไม่ไหวต้องอยู่ต่อเพื่อหาอะไรเล็กน้อยทานก่อนออกตัวไป
IMG_0317IMG_0307
Stage 3 สุราษฎร์-หาดใหญ่ 320km. ผมตื่นตีห้าสี่สิบตามที่ตั้งปลุกไว้กะจะออกหกโมงแต่คิดๆไปจำได้ว่าอาหารเช้าที่นี่ค่อนข้างดีแล้วเมื่อวานนี้อดอาหารปั่นตอนเช้าไม่สนุกเท่าไรนักเราน่าจะหาอะไรกินหน่อยดีกว่า อย่างไรก็ตามอาการมวนท้องยังไม่หายเลยจัดแค่ผลไม้และไก่ต้มขมิ้น ช่วงเชคเอาท์พนักงานสัมภาษณ์เล็กน้อย คงเป็นเพราะเห็นผมเข้ามาในยามวิกาลและออกตัวในเวลาไม่กี่ชั่วโมงถัดไป เขารายงานว่ายังไม่มีใครมาเชคอินท์เพิ่ม ทำให้รู้ว่ากลุ่มพี่หมอป้อมยังคงปั่นต่อไม่เลือที่จะมา reset ที่ตำแหน่งนี้ สุดท้ายกว่าจะออกตัวได้ 7:30 ช้ากว่าแผนชั่วโมงครึ่ง โรงแรมอยู่เลยโคออปมาแล้วเลยไม่รู้เรื่องไฟไหม้ที่เป็นข่าวฮือฮาในวันนั้นผมสังเกตว่าจักรยานสั่นและส่ายมากผิดปกติ และส่ายจนเริ่มคุมไม่ได้ขณะลงสะพาน แม้ว่าผมพยายามจะใช้มือขันถ้วยคอที่มักจะเป็นปัญหาจนแน่นที่สุดแล้วก็ยังไม่หายสั่น ผมจึงจอดดูเล็กน้อยพบว่าอาการถ้วยคอเหมือนเดิมจริงๆ แต่คราวนี้ไขให้แน่นด้วยมือไม่ได้แล้ว จำเป็นต้องปั่นสั่นๆ ส่ายๆไปเรื่อยๆ จากการลงสะพานง่ายๆที่ทำความเร็วได้กลายเป็นการประคองตัวไม่ให้ล้ม ผมแวะแทบทุกปั้มเพื่อหาประแจเลื่อน แต่ยังเช้าเกินไป ในที่สุดโชคเข้าข้างอีกครั้งเมื่อพบว่ายางล้อหลังรั่ว ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อเปิดเอาอุปกรณ์ปะยางใหม่เอี่ยมที่เพิ่งถอยมาสำหรับทริปนี้ยี่ห้อโปรดของผม Zefal กลับพบว่าผมไม่มีที่งัดยาง ชุดปะยางกล่องใหญ่ที่ซื้อมาใหม่ไม่มีที่งัดยางให้ตายซิ ปกติผมใช้มือเปล่าเปลี่ยนยางได้แต่กับล้อมาวิคคู่นี้มันแน่นมากแม้ว่าจะใช้ร่วมกับที่งัดยางก็ตาม หลังจากพยายามอยู่นานผมตัดสินใจใช้ไขควงงัดมันออกมา ขอบล้ออลูแตกและบิ่นเล็กน้อย ผมรีบหารอยรั่วแต่ไม่เจอ แต่จากตำแหน่งเมื่อวิเคราะห์คาดว่าน่าจะเกิดจากซี่ล้อจึงเลือกที่จะปิดเทปรองขอบล้อใหม่ทับลงไปเพื่อความปลอดภัย แต่มารู้ว่าเดี๋ยวนี้มันให้มาเผื่อต่างจากเมื่อก่อนที่พอดีเป๊ะกับรอบวงล้อ นั่นหมายความว่าผมต้องตัดปลายที่เหลือออก แต่ผมไม่มีมีดจึงจำเป็นต้องพับไว้ การติดตั้งยากลำบากเพราะแน่นล้อมากอยู่แล้ว พันขอบล้อให้หนาขึ้นก็ยิ่งแน่นขึ้นไปอีก อุปกรณ์ช่วยก็ไม่มี ในที่สุดก็มีหน่วยอาสาที่ขับรถตระเวณดูแลปัญหาช่วงสงกรานต์มาช่วยไว้ด้วยไขควงยักษ์งัดยางผมเข้าไป ผมขอบคุณแต่ก็อดไม่ได้ที่จะคิดในใจว่าล้อผมคงมีปัญาหาแน่นอนทั้งจากการงัดออกและงัดเข้าในวันนี้ ผมเสียเวลาในการเดินทางสิบกิโลแรกหนึ่งชั่วโมง ปั่นออกตัวล้อเด้งๆ อยู่ช่วงหนึ่งน่าจะเป็นตำแหน่งของการพับผ้ารองขอบล้อ ผมไม่สนใจมันมากนักเพราะตอนนี้ผมมีปัญหาใหม่มาให้คิด
                   IMG_0322  IMG_0325
เมื่อปั่นมาได้สักพักก็พบว่าผมเงยหน้าไม่ได้ คอเมื่อย ล้า เหมือนจะเป็นตะคริว จนต้องจับด้านบนและยืดตัวตรงตลอดเวลา แต่ไม่นานมันก็เริ่มสูงไม่พอ ผมตัดสินใจเอาไฟหน้าออกแล้วใช้เสาติดไฟหน้ามาเป็นตำแหน่งจับที่สูงขึ้น แต่ที่ตำแหน่งนี้มีทอร์คในการเลี้ยวที่น้อย ความสามารถในการควบคุมต่ำและห่างจากเบรค ทำความเร็วไม่ได้ทั้งพื้นราบและลงเนิน หลังจากพยายามคิดอยู่นานผมจึงตัดสินใจไขแฮนด์หงายขึ้น นับว่าเป็นความโชคดีที่ผมเปลี่ยนไปใช้สับถังเพราะไม่เช่นนั้นการหงานแฮนด์คงเป็นเรื่องที่ซับซ้อนกว่านี้อีกมาก หลังจากนั้นผมก็ปั่นคอส่ายๆไปเรื่อยๆ จนได้อู่ซ่อมรถข้างทาง ผมยืมประแจเลื่อนไขถ้วยคออัดแน่นไว้ก่อน เพราะไม่มี spaner ที่จะมาคอยรั้งระยะอัดของถ้วยคอ ด้วยความคิดที่ว่าแน่นไว้ก่อนปลอดภัยกว่าแม้ว่าสุดท้ายลูกปืนอาจจะเสียหายหรือถ้วยคอเสียหายจนต้องเปลี่ยนทั้งยวง สรุปแล้ว 35 กม. แรกของวันนี้ผมใช้เวลาไปสามชั่วโมง
IMG_0331IMG_0327
ผมตัดสินใจหยุดกินเช้าที่ร้านข้าวแกงข้างทางที่น่ารักมากๆ นอกจากอาหารอร่อย ห้องน้ำสะอาด น้ำ กาแฟฟรีแล้ว ยังมีเตียงนอนให้ผมเมื่อผมขอล้มตัวที่พื้นหญ้าหน้าร้าน ผมถือโอกาสนอนพัก 15 นาที เมื่อออกตัวหลังจากนั้นผมจึงเร่งได้นิดหน่อยเพื่อให้ได้ 60 กม. ช่วงเที่ยงที่เวียงสระ ช้ากว่าเป้าที่วางไว้คือทุ่งสงตอนเที่ยงไปร่วมสี่สิบกิโล จุดพักเป็นที่หยุดรถทัวร์ผมกินอาหารเที่ยง เติมน้ำอีกครั้ง ในเวลาต่างกันไม่ถึงสามชั่วโมง เจอพี่หมอแอนเลยรู้ว่าคนอื่นๆ กำลังตามมา กลุ่มพี่หมอป้อมเริ่มออกปั่นตั้งแต่ตีสาม มารับสาวๆที่โรงแรม และกำลังจะเข้าสุราษฎร์กัน ส่วนพี่หมอแอนต้องการปั่นสามร้อยสงขลาจึงคิดว่าควรกลับไปรอที่หาดใหญ่ดีกว่า ผมออกจากเวียงสระประมาณบ่ายโมงครึ่งแต่กว่าจะถึงทุ่งสงก็สี่โมงเย็น ช่วงนี้โหดร้ายมากเนิน 3-5% ตลอดทาง ร้อนและไม่มีปั้มเลย น้ำผมร่อยหรอ ใช้ได้แต่น้อยกินบ้าง แต่ต้องราดขาส่วนใหญ่เพราะร้อนมาก ถ้าไม่ราดจะปั่นไม่ค่อยได้เลย ผมหยุดอีกครั้งเพื่อหลบแดด หาน้ำเพิ่ม ถือโอกาสกินอีกทื้อเพราะเข้าใกล้มื้อเย็นเต็มที หลังจากนั้นนอนพักไปอีกครึ่งชั่วโมง เริ่มออกตัวหลังจากกินขนมหวานง่ายๆ อีกที
IMG_0323 IMG_0333
ผมกัดฟันปั่นไปเรื่อย ด้วยน้ำเพียงสองขวดใช้กิน ราดตัวและขามาเรื่อย ๆ ก็ไม่มีปั้มให้หยุดพักเลย จนมาเจอร้านกาแฟแถวๆ แยกสวนผักชื่อร้านวอลแตร์ ตอนหกโมงห้าสิบโชคดีมากๆเพราะร้านจะปิด ตอนทุ่มนึง ตอนนี้แดดหายหมดแล้ว ผมเริ่มง่วงหาวบ่อยขึ้น ร่างกายยังคงร้อนและต้องการราดน้ำอยู่ตลอด หลังจากกาแฟหมดผมก็ไปต่อไป ทุกอย่างที่ไม่เกิดในวันก่อนก็ค่อยๆก่อตัว ขาหนักเร่งความเร็ว 20kph. ยากลำบาก ง่วงหาวตลอดทางแต่ไม่สามารถหากาแฟเพิ่มได้ตามต้องการ ร่างกายร้อนทั้งๆ ไม่มีแดดอีกแล้ว ผมต้องราดน้ำบนตัวและขาเรื่อยๆ เพื่อลดความร้อน ผมนับกิโลไปเรื่อย ๆ รอให้ถึงพัทลุงเพราะจะมีร้านอาหารใหญ่ที่คุ้นเคย จนสุดท้าย กม. ที่ 193 ของวัน อีกเพียง 7 กม. ก่อนถึงพัทลุงก็มีคนโบกให้เข้าข้างทาง ปรากฏว่าเป็นกลุ่มพี่หมอป้อมขึ้นกระบะกันมาจากเวียงสระกะเข้าหาดใหญ่เพื่อไปปั่น 300 ผมเหลืออีก 120 กม. ตอนนั้นเป็นเวลาสี่ทุ่มคาดว่าจะถึงหาดใหญ่ตอนตีสาม ตั้งใจไว้ว่าจะออกปั่นหกโมง สายกว่าคนอื่นหนึ่งชั่วโมงเพื่อนอนเพิ่มขึ้น แต่ในตอนนั้นร่างกายบอกผมว่ามันได้เวลาพักแล้ว ความร้อนที่ขึ้นไม่ยอมลง สภาพคอและรถที่ทำความเร็วไม่ได้ ความต่อเนื่องที่สูญหายไป ผมขึ้นรถแล้วบอกทุกคนว่าผมคงลง 300 ไม่ไหวแล้วเพราะ dehydrated มากและถ้าร้อนอีกวันอาจจะเกิด heat stroke ได้ หลายๆคนบ่นเสียดายแต่เข้าใจเป็นอย่างดี วันนี้ผมปั่นมาได้ 193.73 กม. ผมตื่นมาแล้ว 15 ชม. ปั่นทั้งหมด 8.5 ชม. เท่านั้นความเร็วเฉลี่ย 22.6 หัวใจเฉลี่ย 133 ผมอาสานั่งหลังกระบะเพราะคิดว่าผมอยากล้มตัวลงนอน ช่วงระยะทางร้อยกว่ากิโลรถยนต์ต้องใช้เวลาอย่างน้อยหนึ่งชั่วโมง ผมหลับไปจริงๆและยาวจนถึงไดอาน่า หาดใหญ่ เราแยกย้ายกันไป เพื่อนอนพัก
IMG_0335IMG_0355
วันรุ่งขึ้นแม้ว่าผมตื่นไม่สายมากประมาณ 7 โมงเข้านอนได้ตอนเที่ยงคืน ร่างกายไม่บอบช้ำมากนักแต่ขาดน้ำยังฉี่ไม่ได้และตัวยังร้อนอยู่ พี่หมอแอน เจี๊ยบและพี่เรืองชัยออกปั่น 300 กันต่อซึ่งทำให้ระยะทางรวม 1000 กม. 83 ชม. ในขณะที่ผมทำได้เพียง 821.68 กม. เวลารวม 65 ชม. ผมพยายามเติมน้ำทั้งวันและสรุปเรื่องอุปกรณ์ที่ได้เรียนรู้มา ผมออกไปเล่นน้ำกับลูกเพื่อลดความร้อน พร้อมหาอะไหล่จักรยานที่ต้องเปลี่ยนเพิ่มเติม ผมอยู่รอจนน้องชายปั่นเข้าเส้นเพื่อดูผลจากรองเท้าและบันไดที่ยืมผมไปเมื่อคืนนี้หลังจากรู้ว่าผมจะไม่ออกปั่น เหมือนว่าน้องก็มาช่วยให้การงด 300 ของผมง่ายขึ้นเพราะต้องยืมรองเท้าและบันไดของผมไปใช้เนื่องจากลืมเอารองเท้ามาจากบ้าน อย่างไรก็ตามสามวัน 65 ชม. 821.68 กม. จบลงอย่างเรียบง่าย ล้มเหลวแต่เรียนรู้ อีกสองสัปดาห์ BRM300+ BRM200 ระยองรอผมอยู่ครับ ไม่มีเวลาเสียดาย มีแต่เวลาแก้ไข ซ่อมแซมรถ ร่างกายและเดินต่อไป สิ่งที่เกิดขึ้นในสามวันนี้ค่อยๆซึมลงไปในใจของผม ผมเริ่มรู้จักเส้นทาง จังหวัด ประเทศ อย่างที่ไม่รู้จักมาก่อน ในช่วงยี่สิบกิโลเมตร ผมใช้เวลาอยู่กับมันชั่วโมงนึงเต็มๆ เนินที่สัมผัสด้วยกล้ามเนื้อขา ความร้อนของแดดสัมผัสด้วยรูขุมขน กลิ่นรอบๆตัวที่สัมผัสผ่านจมูก แต่ละตำบล อำเภอ จังหวัดคืบอย่างช้าๆ ความเข้าใจในศักยภาพและข้อจำกัดของตัวเอง ทั้งกายภาพและจิตใจ เป็นประสบการณ์ง่ายๆ ราคาไม่แพง ที่คุ้มค่าหาอะไรทดแทนยากจริงๆ

Endurance : Why we do what we do?

สัปดาห์ที่ผ่านมาเพื่อน ๆ หลายคนมีกิจกรรม Endurance (ต่อจากนี้ผมจะเรียกมันว่า อดทน) ที่แตกต่าง แต่มีความเข้มข้นไม่แพ้กัน มาเล่าสู่กันฟัง ผมนั่งไล่อ่านกิจกรรมของทุก ๆ คน ที่อธิบายถึงความรู้สึก เล่าถึงสิ่งที่เกิดขึ้น แชร์กันไปมาเต็มไปด้วยความสุข และตื้นตัน ผมอดไม่ได้ที่จะแสดงความเห็นว่าผมรู้สึกมีความสุขที่ได้เห็นหลาย ๆ คนมีความสุข โดยใช้การอธิบายในลักษณะ “ความสุขบนความทรมาน” ซึ่งพบว่ามีหลาย ๆ คน รวมถึงคู่หูเพื่อนซี้ในกิจกรรมอดทนของผมค่อนข้างไม่สบายใจกับทำว่า “ทรมาน” และต้องการที่จะแสดงออกว่านี่ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นและเหตุผลที่เขาเหล่านั้นเลือกทำกิจกรรมอดทน จากการแลกเปลี่ยนในกระทู้นั้น ทำให้ผมมาถามตัวเองอีกครั้ง ทั้ง ๆ ที่ถามตัวเองมาหลายต่อหลายครั้งแล้วตลอดยี่สิบปีที่ผ่านมา ว่าเราทำกิจกรรมอดทนเหล่านี้ไปเพื่ออะไร

TRI NCB

แต่ก่อนอื่นคงต้องท้าวความไปถึงครั้งแรกที่ผมใช้คำว่า “ทรมาน” เพื่อสื่อถึงความรู้สึกบางช่วงในกิจกรรมเหล่านี้ มันเกิดเมื่อเพื่อนของผมชวนให้ไปปั่นบนเขาใหญ่ ผมจึงเลือกช่วงที่ผมต้องไปแข่งขัน TNF100 เป็นวันที่จะปั่นเขาใหญ่ โดยวันแรกวิ่ง TNF50K แล้ววันที่สองปั่นเขาใหญ่ ด่านชนด่าน 100K เพื่อที่จะชักชวนเพื่อน ๆ มาร่วมสนุกกัน ผมจึงคิดที่จะหาชื่อที่เหมาะสมให้กับกิจกรรมนี้ ในช่วงนั้นผมซ้อมเทรนเนอร์กับ DVD Series SufferFest ซึ่งผมรู้สึกว่ามันสื่อตรงกับความรู้สึกของผมจึงคิดที่จะแปลความหมายนี้ออกมา เลือกมาได้ว่า “ทรมานบันเทิง” เพื่อสื่อถึงกิจกรรมนี้ หลังจากนั้นผมใช้คำว่า “ทรมาน” อีกหลายครั้ง เพื่อสื่อถึงกิจกรรมอดทนที่เราชาวเผ่า V40 ทำกัน

IMG_1140

สำหรับผมคำว่า “ทรมาน” มันไม่ได้มีความหมายเป็นลบเลย เพราะที่มาจากความว่า Suffer ที่ผมแปลมานั้น ผมนึกไปถึง “ทุกข์” ในศาสนาตลอดเวลา ผมมองมันคล้าย ๆ กับว่ากิจกรรมอดทนนั้น คือการธุดงค์ ที่นำ “ทุกข์” มาพิจารณา ส่วนกิจกรรมอดทนนั้นนำ “ทรมาน” มาพิจารณา มันเกิดขึ้นกับผมในทุก ๆ ครั้ง และผมใช้มันในทำนองนี้ในทุก ๆ ครั้ง แต่ไม่เคยคิดว่าคำ ๆ นี้จะบาดใจใครหลาย ๆ คน โดยที่ผมไม่ได้ตั้งใจ ดังนั้นผมจึงตั้งใจที่จะเขียนมันออกมาว่าสำหรับผมแล้ว ผมเห็นอะไร และทำไปทำไม โดยไม่แน่ใจว่าเมื่อจบบทความนี้ผมจะได้คำตอบหรือไม่ ความเป็นนักวิทยาศาสตร์ในตัวผมสอนให้ผมบันทึกกระบวนการ และให้ความสำคัญกับมันเท่า ๆ กับผลลัพธ์

IMG_2582

เมื่อพิจารณาถึงสิ่งที่เกิดขึ้นที่ถูกสื่อว่า “ทรมาน” มันมีอะไรเกิดขึ้นบ้างในกิจกรรมอดทน สำหรับผม ความร้อน ความเหนื่อย ความเมื่อยล้า คำที่เรียกง่าย ๆ ว่า “หมด” หรือ exhaustion เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแน่ ๆ ในกิจกรรมอดทนทั้งหลาย ในมุมมองของเปลือกภายนอก แต่ถ้าพิจารณาลึกเข้าไปในจิตใจ ผมจะเห็นความท้อใจ การยอมแพ้ กำลังใจ ความหึกเหิม ในความต่อเนื่องของความรู้สึกทางร่างกายและจิตใจนั้น บางครั้งมันปวดร้าวรุนแรงจนผมเองต้องตั้งคำถามว่า ผมมันทำมันไปทำไม แม้มันจะไม่บ่อย แต่คำตอบของคำถามในเวลานั้นมันจะกำหนดผลลัพธ์ของกิจกรรมไม่ว่าในช่วงเวลาก่อนทำกิจกรรมนั้นเราต้องการผลลัพธ์เช่นใด

IMG_3711

ผมวิ่ง 10K เพราะต้องการลบความคิดว่านักว่ายน้ำ (จริง ๆ แค่สมาชิกชมรมว่ายน้ำ) จะไม่ถนัดวิ่ง ผมลง 21K เพราะอยากเอาความฟิตที่เหลือจาก 10K มาใช้ให้เป็นประโยชน์ ผมลงทวิกีฬาเพราะอยากปั่นจักรยานที่ผมใช้มามหาลัยแบบเร็ว ๆ สุดชีวิตกะเขามั่ง ผมลงไตรกีฬาเพราะผมเป็นนักว่ายน้ำ กิจกรรมอดทนของผมนั้นถูกขับมาจากความอยากรู้ และความต้องการขยายข้อจำกัด รวมไปถึงใช้ทรัพยากร อุปกรณ์ และทักษะทั้งหมดที่ผมมีอย่างคุ้มค่า ซึ่งมันเป็นนิสัยส่วนตัวที่จะใช้ความคุ้มค่า หรือประสิทธิภาพมากำหนดสิ่งที่ทำ ผมใช้เวลาอยู่กับมันสิบกว่าปี วิ่งไล่ตามสถิติต่าง ๆ ปีหน้ามันต้องเร็วขึ้นดีขึ้น ตำแหน่งสูงขึ้น แม้ว่าจะไม่เคยได้ถ้วยกับเขาเลย แต่ก็สามารถนำตัวเองไปอยู่ในอันดับ Top 5 Top 10 ได้ทั้งในสนามประเทศไทย และต่างประเทศ ในขณะที่สถิติก็ดีขึ้นเรื่อย ๆ จนไปพีคที่อายุประมาณ 30 ก่อนที่จะค่อย ๆ คงตัวและช้าลงในที่สุด

IMG_7410

แน่นอนว่าผมคุ้นเคยกับความเจ็บปวด ตะคริว ไม่ใช่เรื่องแปลก และหลาย ๆ ครั้งไม่สามารถชะลอผมลงได้มากนัก อัดจนอาเจียรข้างทาง หรือจำเป็นต้องกลืนมันกลับเข้าไป เพราะอยู่ในระหว่างการแข่งขัน ไม่ใช่เรื่องแปลกอีกเช่นกัน ถ้าถามว่ามันจะใช้คำว่า “ทรมาน” ได้มั้ยสำหรับผม ผมเองก็เห็นด้วยกับเพื่อน ๆ ที่ไม่ชอบคำ ๆ นี้ว่าผมไม่อยากเรียกมันว่า “ทรมาน” ผมต้องยอมรับว่ามันอาจจะเจ็บปวด ผมไม่ได้ชอบมัน ไม่ได้เสพติด แต่ระหว่างซ้อมจนถึงวันแข่งและระหว่างแข่งนั้นผมทำทุกอย่างเพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งเหล่านี้มันเกิดขึ้น แต่แม้ว่าผมรู้อยู่แก่ใจว่ามันจะเกิดขึ้นอีกถ้าผมต้องการสถิติที่ดีขึ้นในทุก ๆ ครั้งที่ผมลงแข่งขัน แต่เมื่อจุดสูงสุดของผมเหมือนจะผ่านพ้นไปแล้ว ความที่ผมเองอาจจะต้องยอมแพ้ให้กับตัวเองในวัยหนุ่ม เปลี่ยนมาแข่งขันกับคนรอบข้าง เปลี่ยนมาตั้งเป้าหมายใหม่ ๆ สถิติใหม่ ๆ ที่เหมาะสมกับกลุ่ม V40 อย่างผม ความกดดันในระดับที่จะต้อง “ทรมาน” มันก็ค่อย ๆ หมดไปจนวันหนึ่งผมเองก็เริ่มหาเป้าหมายใหม่ให้ตนเอง

IMG_7455

วันหนึ่งเพื่อนสนิทสมัยเรียนมัธยมมาชวนให้ตั้งทีมเพื่อวิ่งผลัดข้ามประเทศ ที่เรียกว่า O2O ผมคิดว่ามันฟังดูแล้วตื่นเต้นท้าทายดี จึงพยายามฟอร์มทีมขึ้นมาซึ่งก็ไม่ง่ายนักเพราะไอเดียที่จะวิ่งกันในเวลาเที่ยง วิ่งกันข้ามวันข้ามคืน วิ่งผลัดระยะสั้น ๆ ที่รวมระยะของแต่ละคนแล้วไม่เกิน 30K นั้นมันดูช่างไม่ “ท้าทาย” เอาเสียเลย แต่โชคดีที่ทีมได้ถือกำเนิดขึ้น และผมได้พบกับเหตุผลใหม่ของกิจกรรมอดทด กิจกรรมนี้ทำมาแล้วสองปี ได้ทำให้ผมได้ไปสนิทอีกครั้งกับเพื่อนเก่า ๆ ที่ร้างราจากกันมานาน กิจกรรมนี้ถือเป็นต้นกำเนิดของทีม Very Forty ที่เพื่อนในกลุ่มนี้อยากมีการรวมตัวเพื่อเข้าแข่งขันไตรกีฬาในรายการกรุงเทพไตรกีฬา ผลลัพธ์ของกิจกรรมที่ผมได้ดูเหมือนว่าจะสร้างผลกระทบได้กว้างขวางขึ้น มีเพื่อน ๆ หลาย ๆ คนมารวมตัวกันแสดงจุดยืน สร้างตัวตน แสดงตัวเป็นแบบอย่างของการใช้ชีวิต active ที่ผมต้องรับว่าเป็นอีกความสุขหนึ่งที่ทำให้ผมมุ่งมั่นทำกิจกรรมเหล่านี้มากขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่าการเผยตัวตนในครั้งนี้เริ่มทำให้อีกหลาย ๆ คนมองเห็นผมเป็นคน “บ้า”

L1010355

ผมเริ่มร่วมการแข่งขันจักรยานทางไกล เริ่มขยายระทางทางของไตรกีฬา และเริ่มสนใจระยะมาราธอน เนื่องจากเป็นระยะทางใหม่ ๆ ทุก ๆ ครั้ง ทุก ๆ ก้าวที่ผมทำลงไปมันเป็นสถิติใหม่ไปทั้งสิ้น แม้ว่าผมยังไม่เห็นเหตุผลที่ชัดเจนในการทำมันลงไป ผมยังได้ป้อนอาหาร ego ส่วนตัวของผมด้วยสถิติใหม่ ๆ เช่น Sub5 Marathon, 6:08 Hr Half-Ironman เป็นต้น จนวันหนึ่งเพื่อนแจ๊คแนะนำให้ผมรู้จักกับ Festive500 ที่ต้องปั่น 500K ภายใน 8 วันช่วงปลายปี สำหรับคนปั่นระยะ 80-100K การที่จะทำแบบนี้ต่อเนื่องทุก ๆ วันสร้างความท้าทายใหม่ ๆ ให้กับผม และก็ไม่ผิดหวังเมื่อผมร่วมคำท้าแล้วต้องถามกับตัวเองวันแล้ววันเล่าที่ต้องตื่นมาปั่นระยะ 80-100K โดยไม่สนว่าฝนจะตกหรือแดดจะออก เพื่อนคนเดียวกันนี้ก็แนะนำให้ผมรู้จักกับ Audax กิจกรรมอดทนในรูปแบบใหม่ที่ไม่ต้องแข่งกับใคร ไม่สนใจสถิติ มาด้วยใจกับคิวชีทเป็นพอ ผมกระโดดเข้าหาแล้วก็ติดมันงอมแงม มันเป็นการปั่นระยะที่ไกลมากขึ้น 200 300 400 600 ซึ่งต้องมีเรื่องของการกิน การพัก การนอนเข้ามาเป็นส่วนร่วมของความท้าทายนั้น ๆ ด้วย ดูเหมือนว่าในช่วงนี้ผมเริ่มได้เป้าหมายใหม่ของกิจกรรมอดทน นั่นก็คือ “ท้าทาย”

IMG_6245

อย่างไรก็ตามยังมีคำถามจากบุคคลภายนอกอีกในเรื่องของค่าใช้จ่าย นอกเหนือจากความเหน็ดเหนื่อยแล้ว ยังไม่ค่าใช้จ่ายในกิจกรรมเข้ามาเกี่ยวข้องอีกเยอะมาก ทำให้ผมเริ่มมองในมุมมองของทางด้านการเงินบ้าง แต่ไม่ทราบว่ามันมีอะไรที่ดลใจให้ผมจัดการกับปัญหาด้วยการตั้งกองทุนในชื่อลูกสาวที่เสียไปของผม ชื่อว่า กองทุนเพื่อซูริ ในการที่จะระดมเงินไปบริจาคให้กับหน่วย NICU โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ สถานที่ที่ลูกสาวคนนี้ของผมถือกำเนิดและเสียชีวิต ด้วยความหวังไกล ๆ ว่าเงินเหล่านี้อาจจะช่วยให้ลูกตัวน้อยของคนอื่นมีโอกาสกลับบ้านไม่เป็นเช่นลูกสาวของผม ผมจึงพยายามสร้างความสัมพันธ์ุระหว่างกิจกรรมอดทนและเงินบริจาคเพื่อกองทุนขึ้นในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อที่จะเป็นคำตอบหนึ่งในด้านการเงิน ซึ่งหลาย ๆ กลุ่มที่มีความเห็นตรงกันก็ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ ยกตัวอย่างเช่น กลุ่ม Run4ManyReasons ของพี่ย้ง เป็นต้น

IronmanLangkawiForZuri

ความ “ท้าทาย” ใหม่เข้ามาอีกครั้งเมื่อผมต้องเข้ารักษาตับอักเสบด้วยการฉีดยาอินเตอฟูรอน 48 เข็ม ผมจึงสมัครแข่งขันไอรอนแมนทันที แม้ว่าผมจะไม่คิดว่าจะลงรายการระยะนี้ในสภาพที่ผมไม่แน่ใจว่าผมสามารถวิ่งได้ไกลเพียงใด ผมดีใจที่การตัดสินใจพุ่งเข้าชนกับโรคร้ายและการรักษาอันหฤโหดนั้นได้สร้างแบบอย่างและกำลังใจให้กับผู้ป่วย หรือผู้พักฟื้นอีกหลายคน แม้ว่าในด้านของการวิ่งนั้น หลังจากผมแตะระยะมาราธอนแรกแล้ว ผมก็ขยายเป็นระยะอัลตราที่ TNF 50K แต่ทำให้อาการบาดเจ็บที่กระดูกสันหลังกำเริบ การวิ่งระยะ 10K 15K 21K กลายเป็นความท้าทายอีกครั้ง ขอแค่เพียงได้วิ่งครบระยะ ผมเก็บความท้าทายแบบผู้ป่วยกายภาพของผมอย่างเงียบ ๆ เพราะความผิดหวังในการ DNF ครั้งแรกในชีวิตที่สนามไอรอนแมนลังกาวี ก่อนที่จะประกาศชนกับมันอีกครั้งด้วยการวิ่งจอมบึงมาราธอน เพียงแต่บอกคนรอบข้างว่าผมต้องการวิ่งช้า ๆ ในใจเพียงคิดว่าต้องการวิ่งให้ถึงเป็นเท่านั้น ซึ่งในเวลานี้ผมต้องยอมรับว่า มันยังคงเป็นความ “ท้าทาย” สำหรับผมอยู่ดี

Week2

ในขณะเดียวกันที่ผมไม่สามารถเร่งความเร็วได้ดั่งใจ ผมจึงเริ่มหาความแปลกใหม่เพื่อมาเติมเต็มให้จิตใจผมอีกครั้งในกิจกรรมอดทนที่แทบไม่มีความหวังจะสร้างสถิติ เมื่อความท้าทายลดคุณค่าเหลือเพียงที่จะ “วิ่ง” ได้จนครบระยะ ผมเริ่มอาสาวิ่งเก็บขยะ ในงานภูเก็ตมาราธอน ในระยะฮาร์ฟ ที่ทำให้ผมได้รู้จักกับพี่ย้ง กล้วยหอม ผมเข็นรถ trailer ขนลูก ๆ สัมผัสบรรยากาศสงลามาราธอนในระยะฮาร์ฟ และสุดท้ายวิ่งแจกตุ๊กตาในงานจอมบึงมาราธอน ที่ระยะฟูลมาราธอน แม้ว่า ณ เวลานี้ ผมยังไม่สามารถ “วิ่ง” ได้จนครบระยะ แต่ผมก้าวข้ามความ “ท้าทาย” ในแต่ละขั้นมาเรื่อย ๆ ช้า ๆ อย่างมั่นคง

L1040269

ผมร่ายยาวมาจนถึงย่อหน้าสุดท้าย ผมเองยังไม่แน่ใจว่าผมได้คำตอบหรือยัง ว่าผมทำกิจกรรมอดทนเหล่านี้ไปทำไม มีความเป็นไปได้ว่าผมอาจจะต้องค้นหามันไปตลอดชีวิต เฉกเช่นคำถามที่ว่า มนุษย์เราเกิดมาเพื่ออะไร แม้ว่าผมจะเล่าให้หลาย ๆ คนด้วยเหตุผลต่าง ๆ กัน ไม่ว่าอาการเจ็บหลังที่กำเริบจนไม่สามารถอุ้มลูกชายคนแรกอาบน้ำได้ สุขภาพที่ย่ำแย่จากการโหมทำงานหนักจนแม้กระทั่งเดินขึ้นบันไดหอบ หรือการที่จะสร้างแบบอย่างให้กับลูก ๆ ในการใช้ชีวิตแบบมีสุขภาพ ไปจนกระทั่งเหตุผลเนื่องจากเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่พัฒนาจนอายุเฉลี่ยเรายาวนานขึ้นและผมไม่ต้องการที่จะใช้ช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิตบนเตียง เหตุผลเหล่านี้อาจจะเติมเต็มให้กับผู้สงสัย ผู้ตั้งคำถาม แต่ผมรู้ดีว่าสำหรับผมนี่มันเป็นเพียงผลพลอยได้  Why we do what we do? The answer my friend is blowing in the wind.           

Becoming five years old triathlete.

IMG_8285ผมรักไตรกีฬา แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าผมวางแผนให้ลูกผมเป็นนักไตรกีฬา หรือ แม้กระทั่งเล่นไตรกีฬา ตามปรัชญาการเลี้ยงดูของบ้านเราที่จะปล่อยให้ธรรมชาติและความสนใจของลูกเป็นสิ่งผลักดันพวกเขามาจากข้างใน ในขณะเดียวกันก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าธรรมชาติและความสนใจของพ่อแม่ยังคงมีส่วนเป็นอย่างมากในการสร้างตัวอย่างและผลักดันจากภายนอก การแข่งขันไตรกีฬาสำหรับผมนั้นไม่เคยเป็นการแข่งขันแต่มันเป็นการฝึกตนอย่างหนึ่ง ฝึกวินัยในการซ้อม ฝึกมองภาพใหญ่ ฝึกตั้งเป้าหมายแต่ไม่ลืมสิ่งสวยงามข้างทาง ผมเพียงต้องการถ่ายทอดสิ่งเหล่านี้ให้กับลูก ๆ ผ่านสื่อที่เรียกว่าไตรกีฬา

IMG_0033

เด็ก ๆ บ้านเราถูกสอนให้คุ้นเคยกับน้ำตั้งแต่อายุยังน้อย 2, 3, 6 เดือนตามสภาพความพร้อมของร่างกายและสภาพอากาศ ซึ่งผมได้เคยให้ความคิดเห็นเอาไว้แล้วในโพสเก่า ๆ เรื่องทักษะการว่ายน้ำ ผมต้องการให้ลูก ๆ ทุกคนรู้จักการเอาตัวรอดในน้ำได้ ผมไม่ได้มีความรู้อะไรเป็นพิเศษในการฝึกหัดเด็กให้ว่ายน้ำ เราเพียงแค่พาเด็ก ๆ ไปสนุกกับมัน จริงอยู่ผมมีวิธีการเล็ก ๆ น้อย ๆ  ที่จะแนะนำให้เขาคุ้นเคยกับน้ำเป็นขั้นเป็นตอนไป แต่นั่นผมค่อยมาขยายความภายหลังน่าจะดีกว่า แม้จะดูง่ายแต่รายละเอียดมันเยอะพอสมควร อย่างไรก็ตามพอเด็ก ๆ อายุประมาณสามขวบครึ่งถึงสี่ขวบก็จะเริ่มลอยตัวได้ พาตัวเองไปยังตำแหน่งต่าง ๆ ได้ในระยะทางค่อนข้างไกล 25-50 เมตร ผมยังไม่มีแผนที่จะสอนท่าให้กับพวกเขาจนกว่าเขาจะสนใจ ตอนนี้เซน พี่ชายคนโตอายุห้าขวบครึ่งเริ่มมีความสนใจที่จะว่ายท่าฟรีสไตล์อยู่บ้าง อาจจะเป็นเพราะเริ่มอยากว่ายให้เร็วขึ้น แต่อย่างไรก็ตามทักษะแรกสำหรับไตรกีฬามาตามธรรมชาติที่เราเตรียมภาวะแวดล้อมไว้ให้ ไม่ใช่เรื่องยากอะไรเลย เพราะเด็ก ๆ ส่วนใหญ่ชอบเล่นน้ำกันอยู่แล้ว การเอาเด็กขึ้นจากสระนั้นยากกว่าเอาเด็กไปลงสระเยอะมาก ๆ

 

L1000048

 

ในการเตรียมตัวเรื่องจักรยานก็ไม่ต่างกัน พ่อเป็นคนรักจักรยานเป็นชีวิตจิตใจ โตมากับการใช้จักรยานเพื่อเสริมความสามารถในการเดินทางสมัยยังเป็นเด็ก ผมอยากให้ลูก ๆ ได้ความรู้สึกแบบนั้นบ้าง อยากให้เขารู้ว่ากำลังขาของพวกเขาสามารถนำพาเขาไปได้ไกลเท่าที่หัวใจเขาอยากไป อย่างไรก็ตามจักรยานเป็นกีฬาที่ต้องใช้อุปกรณ์ การเลือกอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับทักษะที่พร้อมของเด็ก ๆ จึงเป็นเรื่องที่เราค้นหากัน

IMG_1591

เราก็เริ่มพวกเขากับพาหนะมีล้อตั้งแต่เริ่มตั้งไข่ เริ่มด้วยจักรยานสามล้อแบบไถ ทำความคุ้นเคยกับสิ่งประดิษฐ์มหัสจรรย์ของโลกนั่นคือ “ล้อ” เมื่อเขาเริ่มโตขึ้นสามารถพาเขาออกเดินเล่นบริเวณหมู่บ้านได้ เราก็เริ่มหาพาหนะใหม่ให้พวกเขา ในจังหวะนี้ผมยังมีประสบการณ์น้อยว่าจริง ๆ แล้วพวกเขาจะมีพัฒนาการอย่างไร ในวัย 2 ขวบนั้นการเดินและวิ่งค่อนข้างจะเชี่ยวชาญกันหมดแล้ว การฟังคำสั่งยังไม่ค่อยจะพัฒนามากนัก ซึ่งทำให้ผมเป็นห่วงเพราะพื้นที่ที่เราเล่นกันนั้นเป็นถนนในหมู่บ้าน ไม่ใช่สวนสาธารณะที่ปลอดรถ ในเบื้องต้นผมเลือกจักรยานถีบ 3 ล้อให้กับพวกเขาก่อน ผมได้เห็นความพยายามในการทำความเข้าใจที่จะใช้บันไดในการถีบ ซึ่งดู ๆ แล้วไม่ค่อยเป็นธรรมชาติมากนักสำหรับเด็กวัยนี้ เราจึงไม่ได้ใช้มันเท่าที่ควร แต่อยู่มาวันหนึ่งผมค้นพบสิ่งที่เรียกว่า push bike จากรูปจักรยานไม้สวย ๆ ที่แชร์กันตามเฟสบุค ผมตามหาจนพบว่ามันเป็นจักรยานสำหรับเด็กที่ผลิตที่เยอรมันโดยใช้ชื่อว่า Like-A-Bike ผมตามมาเจอตัวแทนในฮ่องกงแล้วสั่งซื้อตรงจากเขา ไม่นานนักผมก็ได้ของและให้ลูกชายวัยสองขวบครึ่งได้ลอง เขาใช้เวลาสองวันในการที่จะเข้าใจการทำงานของมันและใช้งานได้คล่องแคล่วในเวลาอย่างรวดเร็ว ในปีถัดมาลูกสาวโตขึ้นระบบแบบนี้เริ่มได้รับความนิยม มีคนจำหน่าย push bike มากขึ้น ผมจึงจัดอีกคันที่ใช้ชื่อว่า Strider แม้ว่าจะราคาถูกกว่ากันแรกถึงสี่เท่าแต่รายละเอียดในการออกแบบ ไม่ว่าจะเป็นความปลอดภัย หรือ ความเหมาะสมของทักษะเด็กในวัยย่างสามขวบ นั้นจะสู้ Like-A-Bike ไม่ได้เลย ลูกสาวไม่สามารถเล่นได้ผมจึงจำเป็นต้องให้ลูกชายแลก Like-A-Bike กับ Strider ของลูกสาว ซึ่งในเวลานั้นลูกชายคนโตเริ่มใช้จักรยานทรงตัวคล่องมากแล้ว การสลับมาใช้ Strider เป็นเรื่องง่าย ในขณะที่ลูกสาวก็สามารถทรงตัวบน Like-A-Bike ได้แทบจะทันทีตามที่เขาได้ออกแบบมา

IMG_0120

 

IMG_7526

เด็ก ๆ ถูกพาออกไปเดินเล่นนอกบ้านพร้อม ๆ กับยานพาหนะคู่ใจของพวกเขาทุกครั้ง เราแทบจะไม่จัด session พิเศษสำหรับการปั่นจักรยานใด ๆ เลย แต่ใช้มันเป็นส่วนประกอบของการ commute สั้น ๆ ในบริเวณหมู่บ้าน ซึ่งในบางวันเขาก็จะเอาสามล้อปั่นออกมาเล่นกันบ้างตามความสนใจในขณะนั้น เมื่อผมมองว่าลูกชายคนโตของผมเริ่มมีความพร้อม ผมก็ไปยืมจักรยานปั่นที่ติดล้อข้างของญาติรุ่นพี่ ผมเอามาถอดล้อออกแล้วลองให้เขาหัดใช้ดู เซนซึ่งสามารถทรงตัวได้แล้ว ทักษะการถีบบันไดพร้อมแล้ว เขาก็สามารถนำทักษะของอย่างนี้รวมเข้าด้วยกันในจักรยานคันใหม่ได้ค่อนข้างรวดเร็วภายในเวลาสองสามวัน ในขณะที่เมื่อไม่นานมานี้ผมได้ให้น้องสาวซาช่าทดลองบ้าง ตอนนี้ซาช่าสามารถใช้ Strider คล่องแล้ว แต่ยังค่อนข้างชอบใช้ Like-A-Bike มากกว่า (นั่งสบายกว่า) ในขณะที่ไม่เคยมีทักษะในการถีบบันได้เลย เพราะไม่ค่อยได้เล่นจักรยานสามล้อ ก็พบว่าในขณะที่ซาช่าสามารถทรงตัวได้ แต่ความเข้าใจในการถีบจักรยานยังมีน้อยเกินไปและยังไม่พร้อมในการปั่นจักรยานในรูปแบบนี้ ซึ่งในขณะนี้ผมนำเอาจักรยานสามล้อลงมาใหม่เพื่อจะให้น้องซาช่าได้มีโอกาสฝึกฝน คงต้องรอดูกันต่อไป

IMG_1652

ส่วนตัวเซน พี่ชายคนโตเอง เมื่อสามารถปั่นจักรยานสองล้อได้ดีแล้ว ผมจึงเริ่มมองหาจักรยานที่มีขนาดใหญ่สักหน่อย ขนาดล้อ 20″ เป็นของยี่ห้อ Obea ประเทศสเปน รุ่นสำหรับเด็กที่ไม่ใช่รุ่นที่เล็กที่สุด และมีอุปกรณ์ใหม่ที่เขาไม่รู้จักมาก่อนคือ เกียร์ 7 สปีด และมือเบรค ซึ่งในเวลานั้นเซนยังไม่สามารถยืนคร่อมจักรยานได้อย่างมั่นคง แต่ทักษะการปั่นจักรยานเขามีพร้อมแล้ว อีกทั้งจักรยานมีขนาดใหญ่กว่าตัวเขา หนักมากกว่าความสามารถในการยกจักรยานของเขา ในช่วงแรกที่พาเขาไปปั่นนั้น เขาล้มหลายครั้ง และสุดท้ายโดนสุนัขไล่จนล้ม แล้วในที่สุดผมก็พบว่าเซนไม่ยอมเล่นจักรยานคันใหม่อีกเลย ซึ่งผมเองไม่ได้กังวลอะไรมากนักเพราะรู้ดีว่าผมซื้อมาค่อนข้างเร็วกว่าสรีระของเขา และอีกอย่างคือ จักรยานคันนี้ผมวางแผนให้เป็นของซาช่าน้องสาวเขา เราเลือกสีชมพูตามที่น้องสาวต้องการ และขอให้น้องสาวให้พี่ชายยืมใช้ก่อน ในช่วงที่น้องสาวยังปั่นจักรยานไม่เป็น สามเดือนผ่านไปไวเหมือนโกหก เซนก็เริ่มสามารถเขย่งให้ยืนคร่อมจักรยานได้บ้าง ผมจึงคยั้นคยอให้เขาออกไปหัดอีกครั้ง

 

L1020500

ในช่วงที่สองนี้ผมพยายามหัดทักษะที่สำคัญคือการเริ่มต้นปั่นจักรยาน การหยุดและลงจากจักรยาน เป็นหลัก ซึ่งใช้เวลานานพอดูในการหัดเขาน่าจะประมาณ 4-5 ครั้งกว่าที่เขาจะเริ่มจับจุดได้เอง ผมสอนการใช้เบรค สอนการใช้เกียร์ แล้วให้เขามั่ว ๆ เอาจนกระทั่งตอนนี้คาดว่าเขาเข้าใจมันดีมากแล้ว การพัฒนาการของเซนบนจักรยานเป็นไปอย่างรวดเร็ว เขาเริ่มปั่นเร็วขึ้น ทดลองปล่อยมือข้างเดียว การเบรค การเปลี่ยนเกียร์ การฟังคำสั่งของผม ในที่สุดผมคิดว่าเขาพร้อมที่จะออกถนนไปพร้อมกับผม ผมจึงพยายามหาการแข่งขันในพื้นที่ใกล้ ๆ ระยะทางไม่ไกลมากนักให้กับเขา ในที่สุดมาลงตัวในรายการแรกที่ต้องปั่น 25 km ในพื้นที่นาทวี ซึ่งจริง ๆ ไม่ใกล้มากนักเพราะห่างออกไป 60 กม. แต่เท่าที่ดูแล้วน่าจะเป็นงานเล็ก ๆ ในถนนเล็ก ๆ ผ่านป่ายาง ผมจึงตัดสินใจพาเขามาลองปั่นด้วยกัน

IMG_5689

เจตนาในการนำมาแข่งขันครั้งนี้คือ ให้เขาได้ร่วมการปั่นจักรยานกับคนอื่น ๆ จำนวนมาก ในสภาวะที่กึ่ง ๆ ปิดถนน และมีระยะทางที่ยาวเพียงพอที่จะได้อะไรกลับไป ผมไม่รู้ว่าระยะทาง 25 กม. ในการปั่นออกถนนครั้งแรกนั้นใกล้หรือใกลมากเกินไปหรือไม่ เพราะในใจคิดเพียงว่าถ้าเขาขอหยุดเมื่อไร ผมก็จะให้แม่เอารถมารับ ก็เท่านั้น อีกอย่างที่ผมต้องการจะฝึกเขามากที่สุดคือการฟังคำสั่ง การที่จะนำเด็กวัยไม่ถึงห้าขวบไปปั่น 25 กม. บนถนนจริงนั้น ความปลอดภัยเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด แม้ว่าถนนจะกึ่งปิด และมีเจ้าหน้าที่คอยดูแลในทุก ๆ แยกแล้วนั้น เด็กวัยนี้ประสบการณ์แบบนี้ยังไม่สามารถตัดสินใจบนพื้นถนนด้วยตัวเองได้ ผมจึงต้องปั่นประกบและคอยบอกคิวให้เขาในทุก ๆ จังหวะ ไม่ว่าจะเป็นการชะลอ การเตรียมตัวเลี้ยว ทิศทางในการมองรถ การเปลี่ยนเกียร์เมื่อต้องขึ้นเนิน การเบรคและความเร็วที่เหมาะสม รวมไปถึงจังหวะในการพัก รวบรวมกำลังใจและกินน้ำ เป็นต้น เราออกปั่นท่ามกลางความสนเท่ห์ของผู้ร่วมปั่นทุกคน แน่นอนว่าแม้ว่าเราจะพยายามออกตัวไปเป็นคนแรกก่อนที่คนอื่น ๆ จะปล่อยตัว ไม่นานนักเราก็เป็นตำแหน่งสุดท้าย ที่คอยตามติดด้วยรถพยาบาล หลังจากปั่นผ่านไป 15 กม. เราก็หลงทางพร้อม ๆ กับรถติดตามของเรา เมื่อหลงไปได้สักพักรถพยาบาลจึงแจ้งว่าเราหลงและน่าจะขึ้นรถกลับกันได้แล้ว ตัวเซนเองนั้นในเบื้องต้นคงรู้สึกดีใจที่ไม่ต้องปั่นแล้ว และคงกำลังเหนื่อย แต่เมื่อรถพยาบาลขับกลับมาตามเส้นทางจนเจอกับตำแหน่งรองสุดท้ายที่เป็นเด็กผู้หญิงน่าจะอายุประมาณสิบขวบ เซนก็ขอลงไปปั่นแข่งกับพี่เขา ยังไม่ทันจะได้ขึ้นปั่นเราก็ไม่เห็นพี่เขาอีกเลย ส่วนเราเองก็ต้องปั่นดุ่ม ๆ ไปตามเส้นทางที่ในขณะนี้เริ่มเป็นบ้านของชาวบ้าน มีคนจำนวนมากออกมาเชียร์เซน และผมคิดว่าเขาเริ่มรู้สึกสนุก ในที่สุดเราก็ปั่นด้วยความเร็ว 10 kph เป็นจนถึงเส้นชัย พร้อมเสียงปรบมือกึกก้อง น้องคนเล็ก เข้าคนสุดท้าย ผู้จัดคนแล้วคนเล่า ขับมอเตอร์ไซด์มาเวียนดูขณะเซนปั่น แม้ว่าในงานนี้จะไม่มีถ้วยให้กับเซน แต่ผู้จัดก็กรุณาไปหาถ้วยที่ระลึกของงานอื่นมามอบให้เด็กตัวน้อยหัวใจพองโต ที่สุดท้ายแล้วเขาก็ได้เหรียญทองแรก และถ้วยแรกในชีวิตที่วัยไม่ถึงห้าขวบ กับระยะทาง 20 km บนจักรยานเด็กล้อ 20″ ที่ปั่นได้เร็วที่สุดประมาณ  12kph เท่านั้น

IMG_1630

ประสบการณ์ออกถนน 30 km ครั้งแรกของเซนทำให้เขามั่นใจในศักยภาพของตัวเองเป็นอย่างมาก ถึงกับขอปั่นจากบ้านเพื่อไปบ้านย่าที่ห่างออกไป 5 กม. หลายครั้ง ผมต่างหากที่กลัว เพราะเส้นทางเป็นถนนไฮเวย์ที่รถขับกันค่อนข้างเร็ว ผมพาเขาไปตามที่ตั้งใจหลายครั้ง และเริ่มรู้สึกว่าบางครั้งพ่อแม่ก็ประเมินศักยภาพของลูกตนเองต่ำเกินไป เนื่องจากความวิตกกังวล หลังจากนั้น ทั้งผมและเซนเริ่มสนุกกับมัน เราจึงหาการแข่งขันงานใหม่ ก็มาได้การแข่งขันที่ยะลา บนถนนเส้น 418 ระยะทาง 30 กม. คราวนี้ผมไม่ให้พลาด สมัครรุ่น VIP ยังไง ๆ ก็ได้ถ้วย เซนเองจะได้ไม่ผิดหวัง งานนี้ผมวางแผนผิดไปเล็กน้อย เพราะเส้นทางเต็มไปด้วยเขาลูกโต มองดูสุดลูกหูลูกตาสำหรับเด็ก ๆ เซนปั่นขึ้นเนินแล้วเนินเล่าทั้งน้ำตา ผมต้องหยุดให้น้ำให้กำลังใจหลายครั้ง หลังจากข้ามเขามาสำเร็จแล้ว ผมจึงตัดสินใจทิ้งเส้นทางราบที่เหลือให้เขาปั่นข้ามเขากลับไปอีกครั้งเพื่อเข้าเส้นชัย คาดว่าเราปั่นสั้นลงประมาณ 10 km น่าจะได้ แต่แพคไปด้วยภูเขา ในการปั่นขากลับเซนมีกำลังใจดีขึ้น คาดว่าเนื่องจากรู้ว่าเส้นทางใกล้ไกลเพียงใด ในที่สุดเราก็พากันมาถึงเส้นชัยได้ในสภาพที่ไม่บอบช้ำ ผมหัดให้เซนได้ใช้เกียร์จนครบ 7 เกียร์ที่มี การเบรคการชะลอ การประเมินพละกำลัง การฟังคำสั่ง ถือว่าเซนผ่านทุกรูปแบบแล้ว เราจึงมองหาเป้าหมายใหม่ในทันที

IMG_7008

สุดท้ายเรามาตัดสินใจใช้เป้าหมายใหม่เป็นไตรกีฬาสำหรับเด็ก แม้ว่าเป็นรายการที่จัดขึ้นสำหรับเด็กโดยเฉพาะ แต่ก็เป็นรายการระดับโลกที่เรียกว่า Junior Challenge Triathlon ที่จัดขึ้นพร้อม ๆ กับรายการ Challenge Laguna Phuket ในรุ่น 6-8 ขวบที่เซนจะลงแข่งนั้น มีระยะว่ายน้ำ 50 เมตร ปั่นจักรยาน 3 กม และวิ่ง 500 เมตร ซึ่งผมดู ๆ แล้วน่าจะเป็นเรื่องง่ายสำหรับเซนที่จะทำสำเร็จ แต่ก่อนที่จะเข้าร่วมแข่งได้เราต้องทำการโกงอายุครั้งแรกก่อน เนื่องจากระบบสมัครไม่อนุญาติให้อายุ 5 ขวบมาสมัคร เราจึงมั่วไปว่าเซนเอายุ 6 ขวบ แม้ว่าเซนจะยังว่ายน้ำไม่เป็น ได้แต่ลอยคอ แต่ผมคิดว่าทักษะเขามีเพียงพอที่จะลอยคอให้ครบ 50 เมตร สิ่งที่ผมห่วงคือถ้าสระมันสั้น 25 เมตรการจะทำให้เขายอมว่ายสองรอบนั้นน่าจะลำบากกว่า การปั่นจักรยานและวิ่งไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวล แต่นี่จะเป็นครั้งแรกที่เซนจะต้องแข่งขันด้วยตนเองโดยไม่มีผมติดตามให้กำลังใจอยู่ข้าง ๆ ไม่มีใครคอยบอกคิว ให้เบรคชะลอ และมองรถในทิศทางใด ๆ ผมกังวลมากกว่าลูก ๆ เยอะมากในเวลานั้น ในวันที่ได้รายละเอียดของการแข่งขัน ผมก็กังวลเพิ่มเป็นทวีคูณ เพราะผู้จัดการแข่งขันไม่อนุญาติให้มีการช่วยเหลือใด ๆ ซวยละซิ เซนใส่รองเท้า ถุงเท้าเองไม่เป็น ใส่หมวกกันน๊อกไม่เป็น และใส่เสื้อทีม V40 ด้วยตัวเองยังไม่ค่อยได้ (เสื้อมันไม่ค่อยยืด และหลังเปียกน้ำมันจะติด ๆ จนเซนไม่ค่อยยอมใส่เอง) ผมเองก็ไม่รู้จะทำอย่างไร ในวันแข่งขันจึงมาซ้อมให้เซนใส่รองเท้ากับหมวกกันน๊อคก่อนเวลาสักเล็กน้อย

IMG_7811

เมื่อการแข่งขันเริ่มต้นขึ้น เด็ก ๆ ในรุ่นเดียวกันกับเซนก็มาเข้าแถวเรียงกันที่สระว่ายน้ำ 50 เมตร สบายไปเปราะหนึ่งเพราะไม่ต้องลุ้นว่าพอครบ 25 แล้วเซนจะยอมว่ายต่ออีกเที่ยวมั้ย เมื่อเริ่มปล่อยตัว ผู้แข่งขันรุ่นพี่ทั้งหมดก็อัดกันเต็มที่ มีเซนและเพื่อน ๆ เด็กบ้าน ๆ อีกสองคนที่ว่ายน้ำยังไม่เป็นท่า ค่อย ๆ ลอยคอกันไป เซนเลือกที่จะใช้การดำน้ำเป็นระยะทางไกล ๆ แทน แต่ที่ตลกที่สุดคือเซนคิดว่ามันเป็นการต่อสู้กลาย ๆ ทำให้เซนหันหลังไปสาดน้ำคู่แข่ง หรือพยายามใช้มือกวักน้ำให้กระเด็นไปด้านหลัง โดยคิดว่าจะไปรบกวนคู่แข่ง ซึ่งดุแลค่อนข้างตลก ในขณะที่เพื่อนรุ่นพี่ว่ายขึ้นไปอย่างรวดเร็ว เซนก็ค่อย ๆ ลอยคอมาถึงอีกฝั่งก่อนทุกคนในกลุ่มที่ว่ายไม่เป็นท่า เซนแสดงความดีใจจนออกนอกหน้า วิ่งมาอวดผมว่าเขาชนะแล้ว ผมต้องรีบเตือนให้เขาวิ่งตามคนอื่น ๆ ไปเพื่อไปปั่นต่อ แต่ปัญหาก็เกิดเนื่องจากเซนพยายามจะวิ่งตามผมตลอดเวลา วิ่งไปแล้วก็วิ่งกลับมาหาผม ทำอย่างนี้อยู่หลายรอบจนกรรมการเห็นว่าปัญหาคืออะไร จึงวิ่งพาเซนไปที่จุดทรานสิชั่นได้

IMG_5709

ผมซึ่งวิ่งมายืนรออยู่แล้ว ก็คอยบอกคิว ให้ใส่เสื้อก่อน เซนต้องหันมาถามว่าใส่ด้านไหนจึงจะถูก หลังจากนั้นก็หมวกกันน๊อค แต่เนื่องจากมันเป็นเรื่องความปลอดภัยกรรมการจึงเข้ามาช่วยดูแลเรื่องการใส่หมวก แล้วด้วยความเก้ ๆ กัง ๆ ของเซนกรรมการผู้นั้นก็เลยช่วยใส่รองเท้าให้เซนไปด้วยเลย เซนก็ปล่อยตัวปั่นออกไป ดีที่ว่ามีกรรมการคอยโบกทาง และมีคนปั่นนำอยู่บ้าง เซนจึงยอมปั่นออกไปคนเดียว หลังจากที่เหลียวหลังหลายรอบว่าทำไมผมจึงไม่ออกตามไปกับเขา ในช่วง 3 กม. มันยาวนานมาก ๆ สำหรับผม เพราะไม่รู้ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง แต่ในที่สุดเซนก็กลับมาที่จุดทรานสิชั่นอีกครั้ง การวิ่งระยะ 500 เมตร ทางผู้จัดทำได้ดีมาก ๆ เพราะเด็กแต่ละคนจะมีผู้ใหญ่วิ่งตามประกบไปเพราะเป็นการวิ่งรอบสนามกีฬาที่ไม่เช่นนั้นเด็ก ๆ อาจจะไม่ยอมวิ่งรอบแต่วิ่งลัดสนามแทน ผมพาซาช่าไปรอรับเซนในช่วง 50 เมตรสุดท้าย ซาช่ามีความสุขมากที่ในที่สุดเขาได้มาวิ่งแข่งกับเซน และสุดท้ายเข้าเส้นชัยก่อนเซน ซึ่งหลังการแข่งขันซาช่าก็ภูมิใจที่เอาชนะเซนได้ เซนเสียใจเล็กน้อยมาเปรย ๆ ว่าแม้ว่าเขาจะชนะจนได้เหรียญ แต่ก็ยังแพ้น้องซาช่า

IMG_8271

หลังการแข่งขัน ผมซึ่งตื่นเต้นมาก ก็ถามเซนตลอดว่าเป็นอย่างไรบ้าง เซนเล่าให้ฟังถึงช่วงปั่นจักรยานว่าเจอวัว เจอโน่น เจอนี่ ผมนึกภาพการปั่นของเซนออกในทันที เซนยังไม่มีความรู้สึกถึงการแข่งขัน เขายังมีความสุขกับการปั่นไกล ๆ ได้มองซ้ายมองขวา ดูโน่นนี่นั่น ใบหน้าปะทะกับสายลม ความทรงจำจากการแข่งขันของเขามีเพียงช่วงเวลาแห่งความสุขนั้น เขารู้สึกว่าเขาเอาชนะเด็กสองสามคนที่ว่ายน้ำไม่เป็นเหมือนเขา หลังปั่นจักรยานเขาไม่รู้ว่าใครแซงเขาหรือไม่ แต่เขาได้เห็นสิ่งต่าง ๆ ตามรายทางที่เขาประทับใจจนมาเล่าให้ผมฟังได้ เขาวิ่งเข้าเส้นชัยและชนะได้เหรียญตามที่ตั้งใจ แม้ว่าวิ่งแพ้น้องสาวในช่วงสุดท้าย แต่เขาก็สนุกกับมัน

IMG_8284

หลังจากกลับมาจากการแข่งขัน เขาเริ่มขอจักรยานคันใหม่ เขาบอกว่าเอาที่เหมือนกับพี่ ๆ ที่แข่งขัน เขาจะได้ปั่นตามได้เร็ว ๆ ผมเองก็เล็ง ๆ จะหาให้เขาอยุ่เหมือนกัน เพราะพบว่าจักรยานที่เขาใช้นั้นมีเกียร์น้อย ปั่นได้เร็วสุดประมาณ 12-15 kph เท่านั้น ซึ่งเป็นความเร็วที่ช้าเกินไปสำหรับเซนแล้ว ทักษะของเซนโตเกินกว่าร่างกายของเขาอีกครั้ง ผมคิดว่าจะปลดระวาง Orbea Grow 7V คืนไปให้น้องสาว แล้วคงถึงเวลาที่จะต้องหัดน้องซาช่าให้ปั่นจักรยานจริง ๆ จัง ๆ ก่อนที่จะเกิดความแตกต่างกันมากจนร่วมเล่นด้วยกันไม่ได้ รายการต่อไปที่เล็ง ๆ ไว้เป็นการแข่งขันไตรกีฬาเด็กที่ต่างประเทศ ซึ่งเริ่มเป็นระยะที่ท้าทายมากขึ้น แต่ก่อนที่จะทำการสมัครผมคงต้องหาจักรยาน ลองหัดท่าว่ายน้ำ ให้เซนให้ได้ก่อน

IMG_0129

ผมไม่ได้คาดหวังให้เด็ก ๆ เป็นนักกีฬา ไม่ต้องการให้เขามี competitive spirit ผมเพียงต้องการให้เขาเป็นคนที่ใช้ชีวิตแบบ active lifestyle  รู้จักการแข่งขัน เข้าใจการแข่งขัน ตั้งแต่เด็ก ๆ และโตเกินการแข่งขันกับคนรอบ ๆ ตัว แต่เข้าใจถึงการแข่งขันกับตนเอง กับเป้าหมายของตนเอง ให้ได้เร็วที่สุด กิจกรรมกีฬาเป็นเพียงสื่อเท่านั้นครับ