#Festive (BRM400) plus 100

This story is about “LOVE”. It started 3 years ago in an inaugural  #Festive500 in 2013. My first time was a torture. My second #Festive500 was devastating case of natural disaster with massive flood half wheel depth on a highway surrounding me. I managed to finish them somehow.  In 2015, I have something in my sleeve. Here is how it happened.

2015 Audax event was introduced in Thailand. Long ride has become my old friend. A lot of people join an Audax event only few know or even care about #Festive500. This year is different. Audax 2016 which started around the end of 2015 offer 400km distance on 26th December. I could not pass this opportunity to trick my friend into riding #Festive500. Our little tribe called V40 (Very Forty) registered 8 people into the event. 4 veterans including me and 4 newbies. Even though it is a risky business to announce that we would all ride together and wait for the slowest one. Accumulation of late arrival could turn into a sleepless night ride or even miss a control point cut off time. With two BRM400 medals each under the belt for veteran, everyone agree to this plan.

10298698_906319262793216_5649482439499409875_n

The ride started at 7am in the heart of Bangkok. We have to push through the morning traffic out to outskirt of Bangkok and then crisscrossing along several sort of outer loop of each passing provinces heading to Ang Thong province for lunch at approximately 100km. Everyone is still in a good mood. Sun was not so strong this time of the year. With noodles from an organizer and BBQ chicken bought along the way, we had nice meal getting ready to meet the highlight of today route. BRM400 Chaopraya was organised for 3rd time along similar route, a little bit modification at the beginning but the next 100km section remain to be the name of the game.

998490_10207201648513487_4779893769253216590_n

We left Ang thong going toward Ayuthaya province around 1pm. Everyone is ready for Noi river route, 80km along an abandon road next to the strategic Noi river. During Ayuthaya period, Noi river was used for suppling weaponry and earthenware made in upper area down to the capital city, Ayuthaya. Transportation along Noi river has become thing in the past. Resident settle along the river next to the small road restrict the expansion of the road along the river. New two lanes streets were replacing the old one on both sides of the river. We are now back travelling to the day when Ayuthaya was flourished. The road section were comprised of concrete, asphalt, dirt, ditch depend on density of people relying on it. Since there is an alternative many of the sections were terrible. The organiser has to put a secret check point along the river to prevent someone to find easier road next to it.

11046783_10204033974884664_1402002208460391937_n

Our tribe members who rode today BRM have very strong spirit so far. Two newbies who are about 10 years younger than the others prefer to ride out together by riding faster and rest longer. We took turn leading and take over along that 100 km stretch. It was felt very lively when kids ran along to sheer us up or waiting to give high five and there are quite a lot. The first time last year when Audax choose this road, it was very quiet. People looked in awe asking where were we heading or we were we coming from. No sign of shops or activities except a limiting pass through. But one year later, we can see a lot of changes. There are plenty shops along the river and many choose to stop fill up their bidons. People seem to get use to bicycle riding along the section. We stopped at one shop around 30 km into the section to have some cold beverages and sweets. These condition were tough not only for us but for the bike. I snap my spoke once on this road. This time we have 3 mini-velo in our group including mine. Bumps were getting much larger with small wheels.

10262199_906447166113759_7717685293258266701_n

We have to ride about 35km to a little village where my family were waiting to have dinner together today. My mother-in-law live on Noi river bank at the section where Singburi province meet Chainart. In a small vanishing village called Chanasoot. Next to the village is an archeological site, an old furnace used to produce earthenware as well as foundry for weaponry. We can imagine the market was bustling with people as the goods transportation started here. Now the market is very quiet. It has to move itself across the street to be out in an open to survive. Most new generations left or building there new place further down the road. We can predict its near future very accurately that soon it would vanish. When I first came to visit my future wife and mother-in-law, it was amazing to see the life in the village. It was like finding old wild west hiding 15km from major Asian highway. Within no more than 1 square kilometre this village have everything. Markets, grocery stores, two clinics, a hospital, a bank, barber shop, salon, Wats, all necessity to operate as a community. I can imagine how people were settling back in the old day. Main business would have been earthenware and metal works. Same as every community in Thailand we gather around Wat and it is still clearly see an influence of monks on community.

1186316_10207981215785996_3796134309719623330_n

After the dinner, we had to push through the turn around at Chinart. From  now on there will be no resident along Noi river which confirm the contribution of little village we just left to the capital, Ayuthaya. We rode until the end of the river where it meets Chaopraya river. We didn’t have much time to spare we have to leave within half an hour at 8pm heading back along now different river Chaopraya where it would lead us finally to Bangkok but tonight we had to make it at Ang thong as fast as we can. Every minute wasted from now was a minute deducted from our sleep for that night and it was 100km away. In my experience of the ride this is one of the toughest part of the ride. You have used all of the dinner you have had. You have been riding for more than 12-16 hours into wee hours. You would be so tired and can easily be sleeping while riding which I have done several times that night. We need to stop at midway around 30km to Ang thong to take a little map right in the middle of the highway where the light was plentiful. We reached Ang thong around 2:15am and need to leave at 3am to make the next control point 40km away before 5:44am. I took a 10 minutes nap then got myself ready for more ride. Now we had been riding for 307km, next stop Ayuthaya.

For me that was the hardest section, I was so sleepy that I can’t keep my eyes open. Coffee didn’t work anymore and I could handle Redbull. We need to stop half way, many of us choose to eat but I tried to get some more sleep, 5 minutes was very valuable at that time. Luckily we reach Ayuthaya around 5am and have time to spare. I took a quick nap for another half hour. Every one in our team looked battered. We all need that half hour. Then our last 60km started at 5:40am. I felt much better. Strangely no one complain at all, 22 hours passing by. We all kept riding, enjoying the scenery, smelling the environment, soaking into friendship that harden through hardship we shared.

Sun slowly came up. We can see rice patty along Chaopraya river bank. It was so beautiful not only because it was toward the end of our ride but also it was the life of our country. We depend on rice so much that our greeting was not hi nor hello but “have you eaten rice?” Every one now seem very relax even tough tired. Veterans started to let newbies loose. They don’t have to keep the pace anymore. We started to spread out some starting to stop taking picture of life on rice patty some kept riding slowly as we planned on meeting at next town few kilometre ahead for breakfast. It of course one of the most delicious breakfast I ever had. We all made it through the night and it was about to end with 400+ km on our bike computer and then Strava. We finished around half hour ahead of the deadline tired but fulfilled.

12431681_1194673703894471_988397219_n

 

I flew back to my province 1000 km from Bangkok. I need to ride 100 more for #Festive500 in no less epic route. It was tough ride with sun, wind, flat  and then rain. I documented my first #Festive500 ride with the feeling that I felt every time I went out riding. It has not change.

I live in Pattani, Thailand. One of the Southern most province of Thailand close to Malaysia border. Twenty years ago even Thais have trouble locating Pattani on Thailand map. Not until recently Pattani was included in an incident called “South Thailand Insurgency“, embassy of most country issue a warning not to travel to the area or else void your life insurance. Now everyone know Pattani and every time when I tell someone that I am from Pattani something changes in their mind and their face. It started 10 years ago on 2004. Now everyone living in the area know someone in person who was affected by incidents. This could be bombing, drive by shooting, arson or raid with assault rifle. It was so bad that carrying a conceal weapon is legal. Police and soldier having lunch with M16 on their lap. Just drive to work on certain day could be so challenging. My three bikes were hung up on the wall since the start of the incident as my wife told me that she would file a divorce if I pick up my bike and ride to work. My family business was burned down three times. Some nights I have to load my guns preparing for the worst after soldiers in the area came to warn us of potential attempt on our business for one more time. Ten years has passed but nothing seem to improve much. However, we changed. We have kids and we view our life differently. Now I ride my bike to work. My wife got herself a bike and my training ride take me to where it consider red area so far out of the city. I want to take this opportunity to write about my hometown and our life riding #Festive500. I have never ride so far like this before. In my life I have ridden 100km only three times, months apart. My training ride usually 40km and 60km for the long ride. It also depends on the situation. When I have down from bedroom seeing my gun and shotgun fully loaded from the night before and grab my bike. I would think “now it is safe to ride, let’s do it”.  But 500Km in 8 days would force my to ride no matter what (in fact I have only 6 days to ride since I knew about Festive500 late for 1 day and I have full working day on another day) So if I wake up realise the situation thinking “this could be my last ride” then I would have to tell myself “I might as well enjoy all of it”

I wrote this article in my head during my last ride of the year. It was 31st December when everyone else heading home prepare for celebration. For me though finishing #Festive500 yet another year is a celebration.

This story is about “LOVE”. Love of the simple two wheels machine. Love of the friendship that grew by the length of time we spent together riding. Love of the sight that we were allowed to see by the speed which is perfect for human to interact. Love of the smell in which no other way of transportation could give you.

 

HepB / Langkawi / PBP แด่ความพ่ายแพ้ที่ยิ่งใหญ่

เมื่อต้นปี 2014 ผมมีกำหนดเข้ารักษา Chronic HepB โดยการใช้ Interfuron ฉีดใต้ผิวหนังทุกสัปดาห์เป็นระยะเวลา 48 สัปดาห์ แม้ว่าจะมีกระแสฮือฮาอยู่ช่วงหนึ่งที่ว่า “ไวรัสตับอักเสบปี อันตรายกว่า เอดส์ 100 เท่า” มันไม่ใช่เรื่องที่ผมกังวลมากนัก แม้ว่าจะมีเพียง 10% ที่โรคตับอักเสบบีจะไม่สามารถรักษาตัวเองจนกลายเป็นเรื้อรังแบบที่ผมเป็น และแม้ว่าจะมีเพียง 10% ของผู้ป่วยเรื้อรังเหล่านั้นที่จะพัฒนาไปจนกลายเป็นมะเร็งตับในที่สุด หรืออย่างน้อย ๆ ต้องมีภาวะตับแข็ง ตับวายเมื่ออายุมากขึ้น สิ่งที่ผมกังวลมากที่สุดคือ การฉีดยา การเจาะตับ สำหรับคนที่กลัวเข็มเป็นชีวิตจิตใจ การที่จะต้องใช้เข็มยาว ๆ แทงสีข้างเพื่อเก็บตัวอย่างตับ การที่จะต้องฉีดยาเข้าบริเวณรอบสะดือ หรือต้นขาทุก ๆ สัปดาห์ เจาะเลือดจำนวนมากทุก ๆ เดือน เป็นเรื่องที่ทำให้ผมกังวลมากที่สุด อุบายเพียงอย่างเดียวที่ผมนึกออกในตอนนั้นคือ ผมต้องสร้างความท้าทายอย่างที่ไม่เคยทำมาก่อน เพื่อจะดึงจิตใจผมให้อยู่กับความท้าทายเหล่านั้น และปล่อยให้การรักษาดำเนินไปตามตารางของมัน ความท้าทายที่ผมกำหนดขึ้นคือ การแข่งขันไอรอนแมนลังกาวี และการเตรียมตัวเพื่อไปแข่งขัน Paris-Bret-Paris (PBP) จักรยานทางไกลที่มีระยะทางถึง 1200 กม.

Screen Shot 2558-06-29 at 10.54.52 PM

ในการแข่งขันไอรอนแมนลังกาวีนั้น ผมต้องเตรียมตัวซ้อมประมาณ 16 สัปดาห์ อย่างเข้มข้นเพื่อยกระดับจากระยะการซ้อม 60-80 km ไปเป็น 130-150 จากการวิ่ง 15-18 กม. ไปเป็น 25-35 กม. ในช่วงเวลา 16 สัปดาห์นั้น ในขณะที่ต้องค่อย ๆ เก็บ qulification และซ้อมเพื่อการปั่นจักรยานระยะไกลที่ผมไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน ที่ระยะทาง 200, 300, 400 และสุดท้ายคือ 600 กม. ให้ทันภายใน 1 ปี จะเห็นได้ว่าการมีเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่กว่าตัวผมเองอย่างมากมายเช่นนี้ ทำให้จิตใจผมแทบไม่มีเวลาเหลือที่จะโอดครวญกับกระบวนการรักษาต่าง ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นเลยแม้แต่น้อย ผมฉีดยาเข้าตัวเองเข็มแรก ก่อนการปั่นระยะทาง 200 กม. ครั้งแรกของผมจะเกิดขึ้นบนเส้นทาง BRM200 อยุธยา ในช่วงเข็มแรกนั้น ร่างกายกำลังปรับตัวทำให้เกิดไข้สูงตลอดคืน ร่างกายหนาวสั่น เกิดตะคริวทั่วตัว ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อไปจนวันแข่งขัน เข็มแล้วเข็มเล่า อาการต่าง ๆ ก็ทุเลาลงเรื่อย ๆ ผลการเจาะเลือดก็ดูดีขึ้นเรื่อย ๆ ขณะที่ร่างกายของผมอ่อนแอลงทุกที ๆ การแข่งขันในสาย Audax BRM ก็เข้มข้นขึ้นทุกที ๆ

img_5819

อาการทางร่างกายของผมเริ่มตั้งแต่การเบื่ออาหาร รสชาดปากเปลี่ยนไปอย่างมาก อาหารหลาย ๆ อย่างเค็มไปหมด จนแทบจะกินอะไรไม่ได้ น้ำหนักลด เหนื่อยง่าย เพลีย ย่อยยาก ท้องอืด ตับเป็นอวัยวะที่สำคัญและมีหน้าที่หลายอย่างมากกว่าที่ทุกคนจะเข้าใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับกีฬาอดทนที่ต้องการใช้พลังงานเป็นจำนวนมาก ต้องพึ่งพาการย่อยอาหาร การตูดซึมอาหารที่มีประสิทธิภาพที่เป็นหน้าที่โดยตรงของตับ ความท้าทายของผมมันมากขึ้นทุกวัน ทุกวัน แม้ว่าอาการเฉียบพลันที่เกิดจากการฉีดยาแทบจะไม่หลงเหลืออีกต่อไป BRM300 เขาใหญ่ ที่ระดับเม็ดเลือดแดง ระดับฮีโมลโกลบิน ผมลดลงเรื่อย ๆ เม็ดเลือดขาวก็โดนทำลายจนเข้าขั้นวิกฤติลงไปทุกที ผมผ่าน BRM300 อย่างฉิวเฉียด อย่างที่ผมได้บันทึกความประทับใจของประสบการการปั่นทางไกลแบบ Audax เอาไว้ก่อนหน้านี้แล้ว (กดเพื่ออ่าน)

img_6252

ในช่วงเข็มหลัง ๆ ของการรักษา อาการเฉียบพลันเรียกได้ว่าหายไปหมดแล้ว เหลือแต่เพียงแผลไหม้ตามรอบสะดือ และหน้าขาที่ถูกฤทธิ์ยาแผดเผาจนไหม้ดำ แต่อาการที่เปลี่ยนผมไปอย่างถาวรคือ ปริมาณเม็ดเลือดแดงที่น้อยลง ฮีโมลโกลบินที่น้อยลง ในการปั่นที่ความเร็วเดิม ๆ หัวใจผมต้องทำงานหนักขึ้น เพื่อส่งออกซิเจนให้กับร่างกายให้ได้ในระดับเดิม HR ผมสูงขึ้นอย่างน้อย 10 bpm ในทุก ๆ กิจกรรม ผมจำเป็นต้องซ้อมทุกอย่างให้ช้าลง เพราะการทำงานที่ระดับ HR สูง ๆ น้ันสิ้นเปลืองพลังงานที่เป็นส่วนสำคัญในการกำหนดผลลัพธ์ของกีฬาอดทนอย่างไอรอนแมนที่ใกล้เข้ามาทุก ๆ ที และเมื่อวันนั้นมาถึง ผมก็ต้องพบกับความพ่ายแพ้ครั้งแรกในชีวิตของผม เมื่อผมสามารถกินได้น้อยลง ๆ เรื่อย ๆ จนในที่สุดพลังงานก็ถูกใช้ไปจนหมดสิ้นโดยไม่สามารถเติมเข้าไปในระบบได้อีก ผมสิ้นสุดการแข่งขันไอรอนแมนแรกในชีวิตผมด้วย DNF แรกในชีวิตเช่นกัน ผมใช้เวลาอยู่กับตัวเองค่อนข้างนานในคืนนั้น ก่อนที่จะรวบรวมกำลังใจกำลังกายเดินกลับที่พัก พบกับภรรยาและลูก ๆ และ เพื่อแจ้งข่าวนี้ให้กับเพื่อน ๆ ทุกคนที่คอยลุ้นได้รับรู้ (กดเพื่ออ่าน)

10384459_946104222073330_6550812990853246579_n

ผมไม่มีเวลาเสียใจ เสียดายมากนัก เพราะยังมีรายการหนักหน่วงที่รอผมอยู่นั่นคือการแข่งขัน Back-to-back-to-back-to back สี่สัปดาห์ที่ต่อเนื่อง จากการปั่น BRM200 ไตรกีฬา LPT ไตรกีฬา CLP และ BRM400 เป็นการปิดท้าย แม้ว่าในปีนี้ ปีที่ผมไม่สามารถคาดหวังกับสถิติความเร็วได้ แต่ความต่อเนื่องและหนักหน่วงของการแข่งขันก็ทำให้หลาย ๆ คนเครียดได้พอสมควร ผมสามารถจบการแข่งขันทั้ง 4 รายการได้อย่างน่าพอใจ ทั้งนี้อาจจะเป็นช่วงที่ผมมีเม็ดเลือดขาวตกต่ำมากจนถึงขึ้นวิกฤติ จนหมอต้องงดการใช้ยา เพื่อน ๆ ที่เป็นหมอเริ่มตักเตือนเสียงแข็ง แต่ความอยากอาหารที่เพิ่งกลับมา ความอ่อนเพลียที่หายไปในฉับพลันนั้น ทำให้กำลังใจในการแข่งขันทั้งสี่รายการให้จบสิ้นภายในสี่สัปดาห์นั้นมีเปี่ยมล้น ผมค่อย ๆ กลับมาซ้อมวิ่งอีกครั้งหลังจากพักผ่อนชั่วคราวหลังการแข่งขันอันหนักหน่วง

img_0317

ผมลงแข่งขันรายการจอมบึงมาราธอนเป็นครั้งแรก และเป็นรายการที่น่าประทับใจ แม้ว่าผมและเพื่อน ๆ ในทีมจะวิ่งแบกถึงคอยแจกตุ๊กตาให้เด็ก ๆ ที่มาคอยเชียร์ตลอดทาง หลังจากนั้นผมก็ไปแข่งวิ่งเทรลที่เกาะสวรรค์ที่ญี่ปุ่น ซึ่งผ่านไปอย่างน่าประทับใจ จนผมสัญญากับตัวเองว่า มันคงถึงเวลาแล้วที่ผมจะเริ่มทำความรู้จักกับการแข่งขันที่เรียกว่าเทรลรันนิ่ง (กดเพื่ออ่าน) หลังจากนั้นมีการนัดกันในกลุ่มนักปั่น  Audax ที่ต้องการไปแข่งขัน PBP ที่จะซ้อมปั่นระยะทาง 1200 km ภายในเวลา 90 ชม. โดยเริ่มจากกรุงเทพ เพื่อมาปั่น BRM300 สงขลา ผมจึงตอบตกลงโดยไม่ลังเล ประสบการณ์นี้ทำให้ผมได้พบกับสิ่งที่ไม่เคยพบมาก่อนหลาย ๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นการ break down ของอุปกรณ์ การล้มเหลวของกล้ามเนื้อเล็ก ๆ บางส่วน เช่น คอ หลัง  ผลกระทบของการอดหลับอดนอน การ dehydrate และอื่น ๆ ผมจบการซ้อมใหญ่ของผมที่ระยะประมาณ 820 กม. และไม่สามารถเข้าร่วมการปั่น BRM300 ได้ เป็น DNS แรกในชีวิตของผม (กดเพื่ออ่าน) ช่วงนี้ผมหยุดการรักษา HepB ไปแล้วเนื่องจากเม็ดเลือดขาวตกต่ำเป็นเวลานาน จนหยุดยานานเกินไป รวมระยะเวลาการรักษา 32 สัปดาห์ ผลเลือดสองครั้งสุดท้ายพบว่าไม่พบไวรัสในร่างกายของผมอีกแล้ว อย่างไรก็ตามผมทราบดีว่า HepB จะไม่หายไปเพราะ HepB เป็นโรคที่รักษาไม่หาย

IMG_1975

ผมเหลือเพียงรายการ BRM600 อีกเพียงรายการเดียวที่ต้องสอบให้ผ่าน เพื่อที่จะ qualify ในการไปปั่น PBP ที่ฝรั่งเศส ซึ่งผมมีความกังวลน้อยมากเพราะเพื่อน ๆ หลายคนบอกว่า BRM400 จะหนักกว่าเนื่องจากการออกแบบ CP ที่มีเวลาเหลือให้นอนได้ไม่มาก ก่อนรายการ  BRM600 ผมจึงจัด BRM300 และ BRM400 ไปอีกครั้ง และนั่นทำให้ผมเริ่มสังเกตความผิดปกติในร่างกายของผม ผมเหนื่อยผิดปกติมาก ๆ แม้ว่าจะปั่นไปเพียงร้อยกิโลเมตรเศษ ๆ การที่จะบอกว่าเพื่อนผมที่มาช่วย pacing ให้กับผมนั้นใช้ความเร็วมากเกินไปก็คงไม่ใช่ เพราะเราปั่นในช่วง 25-30 km/hr เท่านั้น ซึ่งปกติระยะ 200 ผมสามารถปั่นเดี่ยวที่ความเร็ว 27-32 ได้มาก่อน อย่างไรก็ตาม BRM300 นั้น เรามีกัน 4 คน ก็มีการจอดรอกันเป็นช่วง ๆ ทำให้ผมยังพอมีเวลาหายใจ แต่สำหรับ BRM400 นั้น อำนวย pacer ของผมต้องการเข้าจุดพักตามกำหนดเพื่อให้มีเวลานอน ซึ่งนั่นเป็นกลยุทธ์ที่เขาวางให้ผมใช้เพื่อไปพิชิต PBP เมื่อการเดินทางกลายเป็น 4 วัน 4 คืน การอดนอนอย่างต่อเนื่อง มันเป็นระเบิดเวลาที่จะทำให้การพิชิต PBP เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ด้วยแผนนี้ BRM300 และ BRM400 ทั้งสองรายการนี้เป็นรายการที่ทำเวลาได้ดีกว่ารายการอื่น ๆ ก่อนหน้าค่อนข้างมาก แม้ว่าผมจะเหนื่อยแทบขาดใจก็ตาม

IMG_0806

รายการสุดท้ายที่จะชี้ชะตาก็มาถึง ผมไม่ได้ซ้อมมากนักเพราะรู้สึกว่าตัวเองมีอาการคล้าย ๆ กับ Overtrain หัวใจเต้นเร็วผิดปกติจากเดิมก่อนรักษาในเวลานี้ 15-20 bpm เข้าไปแล้ว การปั่น 27-30 km/hr อาจจะทำให้หัวใจเต้นสูงถึง 160-170 bpm เข้าโซน 4 ปริ่ม ๆ โซน 5 ก่อนวันแข่งไม่กี่วัน ผมไปฟังผลติดตามการตรวจเลือด ได้พบกว่าความจริงที่ว่าไวรัสกลับคืนมาอีกครั้ง นั่นหมายความว่า หนึ่งปีที่ผมได้ต่อสู้กับมันจนมาจบที่คำสรุปว่าผมไม่สามารถเอาชนะมันได้ และคงต้องอยู่กับสภาวะตับอักเสบไปอีกตลอดชีวิต เมื่อวันที่ต้องปั่น 600 มาถึง ผมเตือนอำนวย pacer ของผมให้เริ่มช้า ๆ เพราะผมอาจจะจำเป็นต้อง warm up นาน กว่าปกติ ซึ่งอำนวยก็ทำตาม แต่ก็มาเลียบ ๆ เคียง ๆ ถามไถ่อยู่เสมอ ว่าพร้อมหรือยัง ช่วงแรก ๆ เราเจอกับพี่อ้อ อารมณ์พาไปจึงเร่ง ๆ ตามพี่อ้อขาแรง ทำให้ผมมาหมดก่อนในช่วงเที่ยง ๆ ต้องจอดหาน้ำดาลชดเชย และในที่สุดต้องหาอาหารเที่ยงกินก่อนถึง CP ไม่กี่กิโลเมตร เพิ่งผ่านไปเพียงร้อยกิโลเศษ ผมเริ่มกินอาหารไม่ค่อยลง ผมปั่นตามไปเจอเพื่อน ๆ ที่ CP ที่เป็นปั้มน้ำมัน อำนวยให้ผมพักนิดหน่อยก่อนที่จะออกตัวไป ในช่วงหลังนี้ผมเริ่มมีปัญหากินไม่ได้มากขึ้น ปริมาณน้ำที่พยายามใส่เข้าไปชั่วโมงละขวดค่อย ๆ ลดลงเรื่อย ๆ จนเหลือ สองสามชั่วโมงไม่ถึงครึ่งขวด จาก CP หนึ่งไป CP หนึ่งห่างกันร่วม 80 กม. ใช้เวลากว่าสามสี่ชั่วโมงผมแทบไม่ต้องเติมน้ำเลย แต่ผมก็เปลี่ยนนำ้เย็นทุก ๆ ครั้ง ผมเหนื่อยจนคิดอะไรไม่ออก จากที่ควรจะพยายามกินน้ำหรืออาหารชดเชย ผมได้แต่เปลี่ยนน้ำเย็นใส่ขวดแล้วพยายามนั่งพักให้หายเหนื่อยแทนที่จะพยายามกิน พลังงานเริ่มหมด ขาเริ่มกดไม่ค่อยลง ท้ายที่สุดอำนวยเห็นว่าต้องพักบ่อยจนไม่ได้การ จำเป็นต้องแก้แผนให้ใหม่ พาผมเข้าพักที่ปั้มน้ำมันในนอนรอเพื่อนอีกกลุ่มที่ตามหลังอยู่ประมาณ 1 ชั่วโมง ผมจะได้พักก่อน 1 ชั่วโมงเพื่อดูว่าจะมีกำลังมาอีกหรือไม่

1977283_10206693321549445_8820775100374244395_n

เมื่อเพื่อน ๆ ตามมาถึงเราก็ออกตัวไปด้วยกัน แต่ผมก็ไม่สามารถทำความเร็วตามทุก ๆ คนได้ เมื่อเลี้ยวเข้าเขางอบ เจอเนินแล้วเนินเล่า ผมก็ค่อย ๆ ถูกทิ้งห่างออกไปเรื่อย ๆ ผมปั่นช้า ๆ ด้วยความเร็ว 10 กว่า ๆ ไปเรื่อย ๆ จนถึงที่ รพ.เขางอบตอนตีสอง ช้ากว่าแผนการที่วางไว้ถึง สามชั่วโมง รวมเวลานอนพัก 1 ชม. ไปด้วย เพิ่งผ่านมาได้ครึ่งทาง 305 กม. เท่านั้น แต่ผมไม่เหลืออะไรอีกแล้วในร่างกาย โรงแรมที่พักที่จองไว้ 20 กม. ข้างหน้ามันดูไกลเกินไปที่ผมจะปั่นไปให้ถึงในตอนนี้ ผมจึงขอนอนข้างทางที่นั่น ข้าง ๆ ถ้วยถั่วเขียวที่กินไปได้เพียงสามคำ ผมมีเวลานอนสองชั่วโมงก่อนที่จะต้องออกตัวตอนตีสี่เพื่อไปให้ทันอีก CP หนึ่งที่ห่างออกไป 80 กม. ที่เส้นตาย 9 โมง ผมปั่นไปได้เพียง 15 km  เริ่มเกิดอาการเซไปมา หน้ามืดมองด้านหน้าไม่เห็นหลายครั้ง ผมคิดหลายต่อหลายครั้งว่าถ้าผมแพ้ในตอนนี้ PBP เป็นอันจบกัน แล้วก็กดขาไปเรื่อย ๆ จนในที่สุดผมคิดว่าผมได้พาชีวิตผมเข้าไปเสี่ยงจนล้ำเส้น ครั้งนี้ล้ำเส้นแบ่งถนนจนเริ่มเสียวว่า ชีวิตอาจจะสูญไปเพียงเพราะรถสวน ผมจึงยอมเข้าข้างทางที่ร้านน้ำเต้าหู้ สั่งน้ำเต้าหู้ทาน message บอกผู้จัดการทีม แจ๊ค และหยิน ที่คาดว่าจะเพิ่งเข้านอนได้ไม่นาน ให้มาเก็บศพผมด้วย ก่อนที่จะเปิดโลเกชั่นในโทรศัพท์ทั้งไว้ ก่อนที่จะผลอยหลับไป ผู้จัดการมารับผมตอนไหนผมจำไม่ค่อยได้ ไปอาบน้ำทานอาหารเช้า แล้วเราก็ออกรถตามเพื่อนคนอื่น ๆ ไป

11391329_822997454458731_3160123015741880084_n

ผมใช้เวลาส่วนใหญ่หลับ แทบไม่รู้สึกตัวอีกเลย กว่าจะเริ่มขยับตัวคุยรู้เรื่องราว ก็บ่ายแก่ ๆ ใจผมวนเวียนอยู่กับความพ่ายแพ้ที่ถาโถมเข้ามา การสอบตก BRM600 ครั้งนี้หมายความว่า  PBP เป็นเพียงความฝัน แม้ว่าจะมี BRM600 Singapore รอให้แก้ตัว แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่อยู่ในแผนของผม ผมคิดว่านี่คือความพ่ายแพ้ที่ผมต้องยอมรับ ใช้เวลาสามสี่วันกว่าผมจะเริ่มจับต้นชนปลายได้ และเริ่มวางแผนแก้มือใหม่อีกครั้ง ปลายปีนี้ผมจะเผชิญหน้ากับความพ่ายแพ้ครั้งแรกที่ลังกาวีอีกครั้ง อีกสี่ปีข้างหน้า ผมจะกลับไปจัดการกับมันให้ได้ PBP เมื่อบทหนึ่งได้สิ้นสุดลง ไม่ว่าตอนจบมันจะเป็นเช่นไร บทใหม่ย่อมเริ่มต้นขึ้นเสมอ เรื่องราวทั้งเล่มจะเป็นเช่นไร ก็ขึ้นกับหลาย ๆ บทที่เราค่อย ๆ เขียนขึ้น ไม่มีหนังเศร้าเรื่องใดที่จะเศร้าทุกบททุกตอน และไม่มีหนังสุขสมเรื่องใดที่จะสุขทุกบททุกตอน เรื่องราวจะ happy ending หรือไม่ ชีวิตเราขึ้นกับเราจะเขียนให้มันจบแบบแฮปปี้หรือไม่ก็เท่านั้น

Grand Training Bkk-HDY and 300 km more.

ชีวิตคือการเดินทาง ค้นหา ตอบคำถาม และอีกหลายๆนิยามที่เราหลายคนคงได้ยินกันมา สุดท้ายแล้วแล้วแต่ละคนถ้าโชคดีก็นิยามชีวิตในอย่างที่ตนเองเป็น ถ้าโชคร้ายก็มีนิยามของชีวิตที่ต่างไปจากสิ่งที่ตนเองเป็น ในช่วงสงกรานต์ปี 2558 ผมมีโอกาสได้ทำบางสิ่งบางอย่างที่ลดคุณค่าของการมีชีวิตลงเหลือเพียงเม็ดทรายเล็กๆในทะเลทรายโกบีในขณะเดียวกันยกคุณค่าของชีวิตเหนือสิ่งที่เม็ดทรายจ้อยๆพยายามให้คำนิยามเป็นหมื่นแสนเท่า สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นภายในและผมไม่แน่ใจว่าจะถ่ายทอดออกมาได้หรือไม่ แต่นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นที่ผมจะเล่าให้ฟัง

 

IMG_0265IMG_0254

ตั้งแต่วันที่รู้จักออแดกซ์ มุมมองของกิจกรรมของผมเปลี่ยนไปเรื่อยๆจากความท้าทายที่จะปั่นระยะ 200 กม. ในเวลาที่กำหนด ไปสู่การต่อสู้กับการอดหลับอดนอน การช่วยเหลือกันในรูปแบบของทีมในกิจกรรมที่ออกแบบให้เป็นเรื่องส่วนบุคคล การจัดการกับความสงสัยในศักยภาพและข้อจำกัดต่างๆ การเตรียมตัว เตรียมพร้อมและสัดส่วนของความไม่พร้อมที่ยอมให้เกิดขึ้นได้ ในวันที่ผมเริ่มรู้จักสิ่งที่เรียกว่า Paris-Brets-Paris ความคิดผมก็เปลี่ยนไปอีกครั้ง ผมเริ่ม plot เส้นทางจากปัตตานีไปกรุงเทพ ประมาณ 1000 กม. จากความคิดในการปั่นปีละ 500 ใน 8 วันทุกๆปีทั่วไทย กลายไปเป็น power ride 1000-1200 ในเวลาจำกัด แต่นั่นเป็นเพียงความฝัน ถึงแม้ว่าผมจะมีนิสัยไล่ล่าความฝันเพียงใดมันยังคงฝันไม่ใช่แผนการ
IMG_0312
กระทั่งมีการจัดตั้งกลุ่ม Thailand Go PBP ขึ้น ผมหาข้อมูลและตัดสินใจไป PBP มีกลุ่มพี่ๆที่มาจากสายทัวริ่งคิดจัดการทดสอบปั่นจากกรุงเทพมายังหาดใหญ่เพื่อเข้าร่วม BRM300 Songkla รวมระยะทาง 1200 เศษๆ โดยจะกำหนดเวลาให้เหมือนกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นที่ PBP ผมไม่ลังเลที่จะเข้าร่วมในทันที แต่เป็นครั้งแรกที่ผมไม่กล้าที่จะบอกใครจนกระทั่งวินาทีสุดท้าย เมื่อมองในแง่ของความไม่สมเหตุสมผลแล้ว ผมคงไม่สามารถค้านความเห็นของทุกคนได้ การปั่นเต็มระยะ 1200 เพื่อเตรียมไปแข่ง 1200 เป็นเรื่องไม่จำเป็น นักกีฬาอัลตราทุกคนเข้าใจมันดี ไม่มีนักวิ่งอัลตราคนใดซ้อม 100 ไมล์เพื่อเตรียมแข่ง 100 ไมล์ ผมมาจากสายนักกีฬาซึ่งเข้าใจเรื่องนี้ดีว่าความเสี่ยงมันมากเกินกว่าผลลัพธ์ที่จะได้ เพื่อนที่สนใจความท้าทายของระยะทางก็เห็นว่าการปั่นแบบไม่มีกลุ่มเซอร์วิสอดหลับอดนอนในฤดูร้อนที่สุดของเมืองไทยนั้นไม่ได้เรียกว่าท้าทายแต่น่าจะออกไปทางสิ้นคิด แม้กระทั่งกลุ่มคนที่สนใจ power ride ระยะทางสุดประเทศยังให้ความเห็นว่าการปั่นแบบอ่อนล้าใน 7 วันที่อันตรายที่สุดในรอบปีของประเทศไทยมันไม่ต่างกับการกระโดดจากหอไอเฟลแล้วคาดหวังว่าจะรอดชีวิต มีเพียงกลุ่มที่เลือกออกเดินทางด้วยกัน 5 ชีวิต ที่เหมือนว่าจะต้องการทดสอบอุปกรณ์ และไปด้วย mindset ของทัวริ่งที่ยอมรับการปรับเปลี่ยนของแผนการปั่นในทุกชั่วโมง ผมเองเข้าใจความเสี่ยง ข้อเสีย และข้อจำกัดเหล่านี้ได้ดี แต่ในทุกการตัดสินใจมนุษย์เราย่อมสามารถหาเหตุผลมารองรับการตัดสินใจของเราได้เสมอ
IMG_0364IMG_0315
สำหรับผมแล้วการปั่นจากบ้านที่กรุงเทพไปยังบ้านที่ภาคใต้มันเติมเต็มความฝันบางส่วนของนักปั่นจักรยานของผมพอควร การที่จะได้ทดสอบความรู้สึกของการอดหลับอดนอนแล้วปั่นให้ไกลที่สุดเท่าที่จะทำได้แม้ว่าจะไม่ได้ผลดีทางกายภาพแต่ถ้าตั้งเป้าประสงค์ที่ถูกต้องย่อมสร้างผลดีทางจิตใจ ผมใช้มันมาตลอดในชีวิตนักกีฬาอดทนของผม การลองอุปกรณ์ ขนของที่คล้ายความจริงจะช่วยในการวางแผนสำหรับผมเองที่ไม่มีประสบการณ์ปั่นทัวริ่งมาก่อนเลย และสุดท้าย การใช้เวลากับตัวเองมันสร้างงานให้กับผมที่ใช้ผลจากความคิดเป็นหลักในการทำงานเป็นอย่างมาก และสุดท้ายสำหรับคนที่ใช้ชีวิตกับครอบครัว 24-7 อย่างผม การปล่อยให้แม่บ้านได้จัดการความเรียบร้อยในบ้านโดยไม่มีผมเป็นการฝึกฝนเป็นอย่างดีถ้าวันใดวันหนึ่งพวกเขาต้องใช้ชีวิตแบบนั้น การตั้งอยู่ในความไม่ประมาทย่อมเป็นสิ่งที่ดี
IMG_0271IMG_0290
ต่อจากนี้เป็นสิ่งที่ผมบันทึกไว้ทันทีหลังจากการปั่นสิ้นสุดลง เสริมเกร็ดเล็กน้อยที่ผมแทรกลงไปในวันนี้ จากแผน 1240 กม. 93 ชม. แต่ทำได้ 810 กม. 65 ชม. เกิดอะไรขึ้นบ้าง ผมพยายามเตรียมชุดและอุปกรณ์ตามที่คิดไว้ รองเท้า MTB ใหญ่ขึ้นสองเบอร์ กระเป๋าหน้าหลัง ผมขนเสื้อผ้าไปสองชุด เสื้อจักรยานแขนสั้นและยาว และชุดนอนหนึ่ง ถุงเท้าสี่คู่ ปลอกแขนสอง ผ้าบัฟสองผืน Hi-Vis gillet อีกหนึ่ง เพื่อจำลองภาวะจริงที่จะต้องขนเสื้อกันลม กางเกงยาวและ thermal vest แทนชุดที่ขนมาเกินๆ ผมขน power bank 50000 mAh อุปกรณ์ชาร์จและของจิปาถะจากการเดินทางไปกรุงเทพหนึ่งคืนล่วงหน้า รวมๆแล้วน่าจะใกล้เคียงกับความจริงที่ PBP
 11157535_810321489053403_1763873998513516677_o
Stage 1 BTS วุฒากาศ-ประจวบฯ 280km. เราออกตัวช้ากว่าที่วางไว้ 1 ชม. จากที่คิดไว้คือตีห้าแต่ BTS เปิดตีห้าที่สถานีปลายทาง ส่วนหน้าบ้านผมเปิด 5:30 ผมจึงได้ออกมายืนดูยามนั่งหลับหน้าสถานีอยู่ 10 นาที เมื่อไปถึงสถานีนัดหมายก็รอสมาชิก พี่เรืองชัยที่มาแนะนำตัวด้วยเงินบริจาค #ForZuri พร้อมของแถมจากภรรยาของพี่ อีกไม่นานนักก็ได้เริ่มออกตัวไปกันสามชีวิตพี่หมอป้อม ผมและพี่เรืองชัย เราต้องเปลี่ยนเส้นทางเล็กน้อยจากเส้นที่สมาชิกในกลุ่ม Thailand Go PBP ทำมาให้เพื่อไปรับสมาชิกที่ร้านข้าวแกงมหาชัยคือน้องเจี๊ยบ และถือโอกาสแวะกินอาหารเช้ากันเลย จึงเป็นโอกาสทำความรู้จักกันอย่างเป็นทางทางอีกครั้ง แต่ละคนยื่นเงินบริจาคมาเต็มจำนวนเหมือนกับจะบอกว่างานนี้ไม่มีถอย เช้านี้ ฟ้าครึ้มมีละอองฝนบ้างตลอดครึ่งเช้าเนื่องจากมีพายุฤดูร้อนคลุมทั้งบริเวณตอนเหนือของกรุงเทพ เราทราบภายหลังว่ากรุงเทพฝนตกหนักมากแต่เราไม่เจอฝนระดับพายุ ช่วงนาเกลือที่ใครๆว่าร้อนโหด ลมแรง ไม่เป็นอุปสรรคมากอย่างที่กลัว ถือว่าโชคดี ช่วงบ่ายเริ่มร้อนปกติและเกินปกติ ผมกับเจี๊ยบหยุดรอเพื่อทานอาหารเที่ยงบริเวณที่เลยจากนาเกลือมาได้ไม่ใกล พี่หมอตามมาสมทบส่วนพี่เรืองชัยจอดกินล่วงหน้า เรารอจนพี่เรืองชัยตามมาแล้วออกตัวอีกครั้ง
IMG_0294IMG_0292
ปั่นๆหยุดๆรอๆเพราะออกนอกเส้นทางเยอะ ไม่กล้าเดี่ยว บอกเป้าหมายต่อไปเป็นระยะๆ ช่วงบ่ายร้อนเหนื่อยปกติ โดยเฉพาะช่วงหัวหิน แต่เราไม่เร่งมากเพราะรู้ว่าวันรุ่งขึ้นคือของจริง เราหยุดกินเข้าเย็นแถวๆปั้มน้ำมันตอนประมาณ 6 โมงเย็นเพื่อรอให้ทีมด้านหลังตามมา ผมกับเจี๊ยบแม้จะปั่นไม่เร็วแต่ก็เร็วกว่าพี่หมอที่ทดลองขนแบบทัวริ่งเต็มรูปและพี่เรืองชัยที่คอยปั่นเป็นเพื่อน เราตัดสินใจมาจอดรออีกครั้งบริเวณทางเข้าประจวบฯ เพราะตำแหน่งโรงแรมดูสับสน ผมปั่น HR ต่ำ 130 แทบทั้งวัน เฉลี่ยแค่ 137 อยู่ในโซนสอง สมาชิกไม่ถนัดเนินต้องผ่อนรอทุกครั้ง กระเป๋าหน้าร่วงต้องแก้หลายครั้ง ปั่นไปยกไปหลายช่วง สุดท้ายเมื่อสมาชิกมากันครบเราปั่นหลงทางหาโรงแรมสักพัก ก่อนเข้าพัก แต่ผมต้องซ่อมกระเป๋าได้นอนห้าทุ่ม ตั้งปลุกตีสี่ครึ่ง. วันแรกได้ไป. 276.74 กม. แทบไม่เหนื่อยเลย ไม่เมื่อยด้วย เฉลี่ย 25.6 โดยประมาณ พี่เรืองชัยเสียสละให้ทุกคนไปอาบน้ำนอนก่อน ส่วนพี่อัปเดทให้กลุ่ม Thailand go PBP รับรู้ วันนี้ในเวลา 20 ชั่วโมงที่ตื่นผมใช้เวลาปั่นเพียง 12 ชม.
IMG_0282IMG_0304
Stage 2 ประจวบฯ-สุราษฎร์ 360km. เรามีสมาชิกมาเพิ่มอีกหนึ่งในช่วงเช้าพี่หมอแอน ขับรถกว่าห้าชั่วโมงตามมาถึงที่โรงแรมประมาณเที่ยงคืน เซตอัปรถเป็นจาวามินิล้อเล็กแต่เป้ใหญ่มาก ระหว่างรอเราก็ตามหาพี่เรืองชัยที่มีคนเห็นครั้งสุดท้ายคือนั่งหลับอยู่ด้านล่างตอนเที่ยงคืน ประมาณตีห้าเป๊ะๆพี่เขาก็โผล่ามาเฉลยว่าเขาเปิดห้องเพิ่มเพราะไม่เอาชุดมาเปลี่ยนอยากนอนแก้ผ้า โอเคไม่ว่ากันเหตุผลฟังขึ้นเพราะถ้าผมตื่นมาเจอพี่นอนแก้ผ้าบนเตียงเดียวกับผมคงไปต่อไม่ถูกเหมือนกัน เราออกสายไปครึ่งชั่วโมง แถวๆนี้ผมเคยมาแล้วจึงบอกให้พี่ๆเขาปั่นตาม จากประจวบวิ่งด้านในเพื่อไปออกเพชรเกษมแถวๆหว้ากอ เส้นทางดีในช่วงเช้ามืดหลังจากนั้นเมื่อออกเพชรเกษมมาแล้ว มีเนิน Rolling ตลอดทาง 1,3,5% สลับกันไป ผมค่อนข้างถนัดเพราะไม่ต้องใช้แรงมากใช้เทคนิคเยอะ สมาชิกโดนนวดน่วมตั้งแต่เช้า เริ่มมีหลุด กลุ่มเล็กพี่หมอและพี่เรืองชัยหลุดไปก่อน เพราะขนของหนักกว่าใครเพื่อน
IMG_0318IMG_0311
วันนี้แดดเต็มๆ เจี๊ยบเริ่มออกอาการส่วนพี่หมอแอนไปเรื่อยๆเนิบๆ เราคุยกันว่าจะไปพักที่บางสะพาน ผมกับเจี๊ยบก็ปั่นไปเรื่อยๆจนกระทั่งพี่หมอแอนหายไป แต่ก็ยังไม่หยุด ปั่นไปเรื่อยสักระยะพบว่าน่าจะเลยบางสะพานมาได้สักพักแล้ว เราปั่นต่อเนื่องมากว่า 80 กม. เลยหยุดรอเพราะสมาชิกเริ่มไม่ไหว ร้อนตั้งแต่เช้า จอดกินแตงโมลูกนึงแบ่งสามคน. อร่อยมากกินไปเยอะแม้จะกลัวท้องอืดแต่ยอม แตงโมหวานๆในบรรยากาศร้อนตอนกระหายสุดๆนี่มันสุขใจจริงๆ เรารอกลุ่มหมอป้อม รอต่อไปร่วมชั่วโมงครึ่งเลยคิดว่าควรออกตัว เพราะคนที่ร้านแตงโมบอกว่ายังอยู่ห่างออกไปอีกกว่าห้ากิโล เราโทรแจ้งตำแหน่งกันเล็กน้อยก่อนที่จะบอกว่าจุดต่อไปคือเขาโพธิ์อาหารเที่ยง แต่ยังไปรอเป็นช่วงๆ เพราะเรารู้ว่าเราเริ่มปั่นช้าลงมากเพราะร้อนและเนิน บางช่วงมีหลุดเนื่องจากเนินและร้อนที่สลับกันตัดแรงของกลุ่มเราทั้งสามคน แต่ก็ต้องรอต่อเพราะคนเหลือแค่สามการทิ้งกันที่ระยะนี้แล้วลุยเดี่ยวอีก 260 กม. คงไม่น่าสนุกเท่าไรนัก
IMG_0291IMG_0296
สุดท้ายเรามากินเที่ยงกันที่เขาโพธิ์ มารอจนทันกันที่เขาโพธิ์ กลุ่มเราเรียบร้อยแล้วจึงอาสาเฝ้าจักรยานให้พี่เขาไปหาอาหารมาทานกัน แต่พี่เขาตัดสินใจให้แยกกัน ณ จุดนี้เพราะเขาคิดว่าเส้นทางคงเป็นแบบนี้ไปอีกไกล เขาคงทำเวลาไม่ได้เช่นเคย สรุปครึ่งวันรอมาแล้วสามชั่วโมง ร้อนมาก เนินเยอะมาก จากเขาโพธิ์ก็ไปเรื่อยแต่เริ่มยิ้มไม่ออกเนินมันทำร้ายจิตใจพอๆกับแดด พี่หมอแอนเริ่มหลุดอีกครั้ง ผมกับเจี๊ยบก็ปั่นปั่นปั่นจนมาทราบว่าพี่เขายางแตกแล้วมีปัญหาจึงโบกรถล่วงหน้าจะไปรอแถวชุมพร เราสองคนปั่นร้อนกันจนมาถึงหน้าร้านคุณสาหร่าย เจี๊ยบจอดซื้อไอติมข้างทางผมบอกเจี๊ยบว่าพี่หมอบอกก่อนที่จะหลุดว่าเราจะมาพักกันที่ร้านนี้ น่าจะโทรถามพี่เขาว่าอยู่ที่ไหน ปรากฏว่าพี่เขามาซ่อมยางที่ร้านซ่อมมอเตอร์ไซค์ห่างออกไปเพียงสองร้อยเมตร
IMG_0286IMG_0329
เราจึงเจอกันอีกครั้ง ผมไม่แน่ใจว่าปัญหาหลักคืออะไรเพราะทันทีที่ผมนั่งลงรอผมก็ผลอยหลับในทันที ไม่รู้ว่านานเท่าไรแต่หลังจากออกตัวด้วยกันอีกครั้งเราปั่นยาวกันจนหกโมงเย็นจัดการอาหารเย็นคราวนี้เป็นโจ้กเบาๆเพราะผมเริ่มมีปัญหากับระบบย่อยของผมมากขึ้นตลอดทาง หลังจากอาหารเย็นเรามองกันว่าคืนนี้คงไม่ได้นอนเราควรจะเก็บงีบสั้นๆไปเรื่อยๆระหว่างทางและแล้วทุกคนเริ่มของีบกันข้างทาง เมื่อออกตัว เราปั่นช้าลง หยุดบ่อยขึ้นและบ่อยขึ้นในช่วงกลางคืน สุดท้ายประมาณสี่ทุ่มเราได้ระยะทางมาประมาณ 260 กม. เราจึงขอพักงีบอีกครั้ง คราวนี้สมาชิกนอนตั้งแต่สี่ทุ่มยันเที่ยงคืน ผมแอบกินมาม่าและพยายามนอนแต่ไม่ค่อยหลับ จึงไปหยิบโน่นนี่นั่นมากินเรื่อย ๆ ฆ่าเวลา แต่เห็นว่าไม่ไหวแล้วจึงปลุกเพราะเหลืออีกร้อยกิโล ถ้าใช้เวลาห้าชั่วโมงจะได้อาบน้ำก่อนออกตัวตีห้าในวันรุ่งขึ้นพอดีที่สุราษฎร์ ทุกๆคนงัวเงียตื่นขึ้นมาเพื่อปั่นกันต่อไป แต่ไปได้ไม่นานเจี๊ยบขอจอดปรับตำแหน่งอานข้างทาง ส่วนผมขอตัวเข้าข้างทาง แต่ในช่วงเวลาที่ผมทำธุระอยู่นั้น ที่จุดที่เราหยุดบังเอิญเป็นโรงแรมพอดี สองสาวหันมาพูดพร้อมๆกันว่าเราน่าจะนอนกันที่นี่เพราะไม่ไหวกันแล้ว แต่ให้ทางเลือกผมที่จะแยกไปก่อน ผมคิดว่าถ้าผมหยุดวันนี้จะไม่มีวันไปทันที่หาดใหญ่ตอนตีห้า นั่นเท่ากับผมล้มเหลวในวันที่สอง ที่ระยะทางเพียงห้าร้อยกว่ากิโลเท่านั้น ผมจึงคิดว่าเราควรลองให้มันสุดทางเลยแยกกันไป ช่วงนั้นเนื่องจากผมเก็บขามาทั้งสองวันได้โอกาสเร่ง 28-30 ตลอดทางแวะที่ระยะประมาณ 50 กม. ผมลองดื่ม redbull extra เป็นครั้งแรกเพราะเริ่มเข้าใกล้ตีสาม ผมเคยหลับในที่เวลาประมาณนี้จึงอยากป้องกันไว้ก่อน แต่เป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาดอย่างมหันต์ ผมเกิดอาการใจสั่นอย่างรุนแรง ความเร็วที่เคยทำได้ในช่วงแรกต้องลดลงเพราะในตอนนั้นผมไม่มั่นใจว่าเกิดจากอะไร แดดที่ผ่านมาทั้งวันนี้ก็ถือว่าโหดร้าย ถ้าผมจะหัวใจวายตอนตีสามระยะทางรวม 500 กว่ากิโล ผมและทีมชันสูตรคงไม่แปลกใจกันเท่าไรนัก ผมผ่อนลงเยอะ ผมนับถอยหลังไปเรื่อยๆอย่างอดทน พลางคิดว่าเราจะนอนสักหน่อยโดยไม่สนใจเวลาออกเดิมคือตีห้าอาจจะออกหกหรือเจ็ดโมงตามแต่เวลาถึง แล้วผมก็ถึงสุราษฎร์ตีสี่นิดๆ ได้ระยะทาง 351.21 กม. โดยประมาณ ปั่นมา 14.5 ชม. ตื่นมากว่า 24 ชั่วโมง HR เฉลี่ย 132 ความเร็วเฉลี่ย 24 ผมตั้งเวลาเพื่อที่จะนอนสองชั่วโมงกะว่าจะออกหกโมงนิดๆ แต่ลงมาเห็นอาหารเช้าแล้วทำใจไม่ไหวต้องอยู่ต่อเพื่อหาอะไรเล็กน้อยทานก่อนออกตัวไป
IMG_0317IMG_0307
Stage 3 สุราษฎร์-หาดใหญ่ 320km. ผมตื่นตีห้าสี่สิบตามที่ตั้งปลุกไว้กะจะออกหกโมงแต่คิดๆไปจำได้ว่าอาหารเช้าที่นี่ค่อนข้างดีแล้วเมื่อวานนี้อดอาหารปั่นตอนเช้าไม่สนุกเท่าไรนักเราน่าจะหาอะไรกินหน่อยดีกว่า อย่างไรก็ตามอาการมวนท้องยังไม่หายเลยจัดแค่ผลไม้และไก่ต้มขมิ้น ช่วงเชคเอาท์พนักงานสัมภาษณ์เล็กน้อย คงเป็นเพราะเห็นผมเข้ามาในยามวิกาลและออกตัวในเวลาไม่กี่ชั่วโมงถัดไป เขารายงานว่ายังไม่มีใครมาเชคอินท์เพิ่ม ทำให้รู้ว่ากลุ่มพี่หมอป้อมยังคงปั่นต่อไม่เลือที่จะมา reset ที่ตำแหน่งนี้ สุดท้ายกว่าจะออกตัวได้ 7:30 ช้ากว่าแผนชั่วโมงครึ่ง โรงแรมอยู่เลยโคออปมาแล้วเลยไม่รู้เรื่องไฟไหม้ที่เป็นข่าวฮือฮาในวันนั้นผมสังเกตว่าจักรยานสั่นและส่ายมากผิดปกติ และส่ายจนเริ่มคุมไม่ได้ขณะลงสะพาน แม้ว่าผมพยายามจะใช้มือขันถ้วยคอที่มักจะเป็นปัญหาจนแน่นที่สุดแล้วก็ยังไม่หายสั่น ผมจึงจอดดูเล็กน้อยพบว่าอาการถ้วยคอเหมือนเดิมจริงๆ แต่คราวนี้ไขให้แน่นด้วยมือไม่ได้แล้ว จำเป็นต้องปั่นสั่นๆ ส่ายๆไปเรื่อยๆ จากการลงสะพานง่ายๆที่ทำความเร็วได้กลายเป็นการประคองตัวไม่ให้ล้ม ผมแวะแทบทุกปั้มเพื่อหาประแจเลื่อน แต่ยังเช้าเกินไป ในที่สุดโชคเข้าข้างอีกครั้งเมื่อพบว่ายางล้อหลังรั่ว ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อเปิดเอาอุปกรณ์ปะยางใหม่เอี่ยมที่เพิ่งถอยมาสำหรับทริปนี้ยี่ห้อโปรดของผม Zefal กลับพบว่าผมไม่มีที่งัดยาง ชุดปะยางกล่องใหญ่ที่ซื้อมาใหม่ไม่มีที่งัดยางให้ตายซิ ปกติผมใช้มือเปล่าเปลี่ยนยางได้แต่กับล้อมาวิคคู่นี้มันแน่นมากแม้ว่าจะใช้ร่วมกับที่งัดยางก็ตาม หลังจากพยายามอยู่นานผมตัดสินใจใช้ไขควงงัดมันออกมา ขอบล้ออลูแตกและบิ่นเล็กน้อย ผมรีบหารอยรั่วแต่ไม่เจอ แต่จากตำแหน่งเมื่อวิเคราะห์คาดว่าน่าจะเกิดจากซี่ล้อจึงเลือกที่จะปิดเทปรองขอบล้อใหม่ทับลงไปเพื่อความปลอดภัย แต่มารู้ว่าเดี๋ยวนี้มันให้มาเผื่อต่างจากเมื่อก่อนที่พอดีเป๊ะกับรอบวงล้อ นั่นหมายความว่าผมต้องตัดปลายที่เหลือออก แต่ผมไม่มีมีดจึงจำเป็นต้องพับไว้ การติดตั้งยากลำบากเพราะแน่นล้อมากอยู่แล้ว พันขอบล้อให้หนาขึ้นก็ยิ่งแน่นขึ้นไปอีก อุปกรณ์ช่วยก็ไม่มี ในที่สุดก็มีหน่วยอาสาที่ขับรถตระเวณดูแลปัญหาช่วงสงกรานต์มาช่วยไว้ด้วยไขควงยักษ์งัดยางผมเข้าไป ผมขอบคุณแต่ก็อดไม่ได้ที่จะคิดในใจว่าล้อผมคงมีปัญาหาแน่นอนทั้งจากการงัดออกและงัดเข้าในวันนี้ ผมเสียเวลาในการเดินทางสิบกิโลแรกหนึ่งชั่วโมง ปั่นออกตัวล้อเด้งๆ อยู่ช่วงหนึ่งน่าจะเป็นตำแหน่งของการพับผ้ารองขอบล้อ ผมไม่สนใจมันมากนักเพราะตอนนี้ผมมีปัญหาใหม่มาให้คิด
                   IMG_0322  IMG_0325
เมื่อปั่นมาได้สักพักก็พบว่าผมเงยหน้าไม่ได้ คอเมื่อย ล้า เหมือนจะเป็นตะคริว จนต้องจับด้านบนและยืดตัวตรงตลอดเวลา แต่ไม่นานมันก็เริ่มสูงไม่พอ ผมตัดสินใจเอาไฟหน้าออกแล้วใช้เสาติดไฟหน้ามาเป็นตำแหน่งจับที่สูงขึ้น แต่ที่ตำแหน่งนี้มีทอร์คในการเลี้ยวที่น้อย ความสามารถในการควบคุมต่ำและห่างจากเบรค ทำความเร็วไม่ได้ทั้งพื้นราบและลงเนิน หลังจากพยายามคิดอยู่นานผมจึงตัดสินใจไขแฮนด์หงายขึ้น นับว่าเป็นความโชคดีที่ผมเปลี่ยนไปใช้สับถังเพราะไม่เช่นนั้นการหงานแฮนด์คงเป็นเรื่องที่ซับซ้อนกว่านี้อีกมาก หลังจากนั้นผมก็ปั่นคอส่ายๆไปเรื่อยๆ จนได้อู่ซ่อมรถข้างทาง ผมยืมประแจเลื่อนไขถ้วยคออัดแน่นไว้ก่อน เพราะไม่มี spaner ที่จะมาคอยรั้งระยะอัดของถ้วยคอ ด้วยความคิดที่ว่าแน่นไว้ก่อนปลอดภัยกว่าแม้ว่าสุดท้ายลูกปืนอาจจะเสียหายหรือถ้วยคอเสียหายจนต้องเปลี่ยนทั้งยวง สรุปแล้ว 35 กม. แรกของวันนี้ผมใช้เวลาไปสามชั่วโมง
IMG_0331IMG_0327
ผมตัดสินใจหยุดกินเช้าที่ร้านข้าวแกงข้างทางที่น่ารักมากๆ นอกจากอาหารอร่อย ห้องน้ำสะอาด น้ำ กาแฟฟรีแล้ว ยังมีเตียงนอนให้ผมเมื่อผมขอล้มตัวที่พื้นหญ้าหน้าร้าน ผมถือโอกาสนอนพัก 15 นาที เมื่อออกตัวหลังจากนั้นผมจึงเร่งได้นิดหน่อยเพื่อให้ได้ 60 กม. ช่วงเที่ยงที่เวียงสระ ช้ากว่าเป้าที่วางไว้คือทุ่งสงตอนเที่ยงไปร่วมสี่สิบกิโล จุดพักเป็นที่หยุดรถทัวร์ผมกินอาหารเที่ยง เติมน้ำอีกครั้ง ในเวลาต่างกันไม่ถึงสามชั่วโมง เจอพี่หมอแอนเลยรู้ว่าคนอื่นๆ กำลังตามมา กลุ่มพี่หมอป้อมเริ่มออกปั่นตั้งแต่ตีสาม มารับสาวๆที่โรงแรม และกำลังจะเข้าสุราษฎร์กัน ส่วนพี่หมอแอนต้องการปั่นสามร้อยสงขลาจึงคิดว่าควรกลับไปรอที่หาดใหญ่ดีกว่า ผมออกจากเวียงสระประมาณบ่ายโมงครึ่งแต่กว่าจะถึงทุ่งสงก็สี่โมงเย็น ช่วงนี้โหดร้ายมากเนิน 3-5% ตลอดทาง ร้อนและไม่มีปั้มเลย น้ำผมร่อยหรอ ใช้ได้แต่น้อยกินบ้าง แต่ต้องราดขาส่วนใหญ่เพราะร้อนมาก ถ้าไม่ราดจะปั่นไม่ค่อยได้เลย ผมหยุดอีกครั้งเพื่อหลบแดด หาน้ำเพิ่ม ถือโอกาสกินอีกทื้อเพราะเข้าใกล้มื้อเย็นเต็มที หลังจากนั้นนอนพักไปอีกครึ่งชั่วโมง เริ่มออกตัวหลังจากกินขนมหวานง่ายๆ อีกที
IMG_0323 IMG_0333
ผมกัดฟันปั่นไปเรื่อย ด้วยน้ำเพียงสองขวดใช้กิน ราดตัวและขามาเรื่อย ๆ ก็ไม่มีปั้มให้หยุดพักเลย จนมาเจอร้านกาแฟแถวๆ แยกสวนผักชื่อร้านวอลแตร์ ตอนหกโมงห้าสิบโชคดีมากๆเพราะร้านจะปิด ตอนทุ่มนึง ตอนนี้แดดหายหมดแล้ว ผมเริ่มง่วงหาวบ่อยขึ้น ร่างกายยังคงร้อนและต้องการราดน้ำอยู่ตลอด หลังจากกาแฟหมดผมก็ไปต่อไป ทุกอย่างที่ไม่เกิดในวันก่อนก็ค่อยๆก่อตัว ขาหนักเร่งความเร็ว 20kph. ยากลำบาก ง่วงหาวตลอดทางแต่ไม่สามารถหากาแฟเพิ่มได้ตามต้องการ ร่างกายร้อนทั้งๆ ไม่มีแดดอีกแล้ว ผมต้องราดน้ำบนตัวและขาเรื่อยๆ เพื่อลดความร้อน ผมนับกิโลไปเรื่อย ๆ รอให้ถึงพัทลุงเพราะจะมีร้านอาหารใหญ่ที่คุ้นเคย จนสุดท้าย กม. ที่ 193 ของวัน อีกเพียง 7 กม. ก่อนถึงพัทลุงก็มีคนโบกให้เข้าข้างทาง ปรากฏว่าเป็นกลุ่มพี่หมอป้อมขึ้นกระบะกันมาจากเวียงสระกะเข้าหาดใหญ่เพื่อไปปั่น 300 ผมเหลืออีก 120 กม. ตอนนั้นเป็นเวลาสี่ทุ่มคาดว่าจะถึงหาดใหญ่ตอนตีสาม ตั้งใจไว้ว่าจะออกปั่นหกโมง สายกว่าคนอื่นหนึ่งชั่วโมงเพื่อนอนเพิ่มขึ้น แต่ในตอนนั้นร่างกายบอกผมว่ามันได้เวลาพักแล้ว ความร้อนที่ขึ้นไม่ยอมลง สภาพคอและรถที่ทำความเร็วไม่ได้ ความต่อเนื่องที่สูญหายไป ผมขึ้นรถแล้วบอกทุกคนว่าผมคงลง 300 ไม่ไหวแล้วเพราะ dehydrated มากและถ้าร้อนอีกวันอาจจะเกิด heat stroke ได้ หลายๆคนบ่นเสียดายแต่เข้าใจเป็นอย่างดี วันนี้ผมปั่นมาได้ 193.73 กม. ผมตื่นมาแล้ว 15 ชม. ปั่นทั้งหมด 8.5 ชม. เท่านั้นความเร็วเฉลี่ย 22.6 หัวใจเฉลี่ย 133 ผมอาสานั่งหลังกระบะเพราะคิดว่าผมอยากล้มตัวลงนอน ช่วงระยะทางร้อยกว่ากิโลรถยนต์ต้องใช้เวลาอย่างน้อยหนึ่งชั่วโมง ผมหลับไปจริงๆและยาวจนถึงไดอาน่า หาดใหญ่ เราแยกย้ายกันไป เพื่อนอนพัก
IMG_0335IMG_0355
วันรุ่งขึ้นแม้ว่าผมตื่นไม่สายมากประมาณ 7 โมงเข้านอนได้ตอนเที่ยงคืน ร่างกายไม่บอบช้ำมากนักแต่ขาดน้ำยังฉี่ไม่ได้และตัวยังร้อนอยู่ พี่หมอแอน เจี๊ยบและพี่เรืองชัยออกปั่น 300 กันต่อซึ่งทำให้ระยะทางรวม 1000 กม. 83 ชม. ในขณะที่ผมทำได้เพียง 821.68 กม. เวลารวม 65 ชม. ผมพยายามเติมน้ำทั้งวันและสรุปเรื่องอุปกรณ์ที่ได้เรียนรู้มา ผมออกไปเล่นน้ำกับลูกเพื่อลดความร้อน พร้อมหาอะไหล่จักรยานที่ต้องเปลี่ยนเพิ่มเติม ผมอยู่รอจนน้องชายปั่นเข้าเส้นเพื่อดูผลจากรองเท้าและบันไดที่ยืมผมไปเมื่อคืนนี้หลังจากรู้ว่าผมจะไม่ออกปั่น เหมือนว่าน้องก็มาช่วยให้การงด 300 ของผมง่ายขึ้นเพราะต้องยืมรองเท้าและบันไดของผมไปใช้เนื่องจากลืมเอารองเท้ามาจากบ้าน อย่างไรก็ตามสามวัน 65 ชม. 821.68 กม. จบลงอย่างเรียบง่าย ล้มเหลวแต่เรียนรู้ อีกสองสัปดาห์ BRM300+ BRM200 ระยองรอผมอยู่ครับ ไม่มีเวลาเสียดาย มีแต่เวลาแก้ไข ซ่อมแซมรถ ร่างกายและเดินต่อไป สิ่งที่เกิดขึ้นในสามวันนี้ค่อยๆซึมลงไปในใจของผม ผมเริ่มรู้จักเส้นทาง จังหวัด ประเทศ อย่างที่ไม่รู้จักมาก่อน ในช่วงยี่สิบกิโลเมตร ผมใช้เวลาอยู่กับมันชั่วโมงนึงเต็มๆ เนินที่สัมผัสด้วยกล้ามเนื้อขา ความร้อนของแดดสัมผัสด้วยรูขุมขน กลิ่นรอบๆตัวที่สัมผัสผ่านจมูก แต่ละตำบล อำเภอ จังหวัดคืบอย่างช้าๆ ความเข้าใจในศักยภาพและข้อจำกัดของตัวเอง ทั้งกายภาพและจิตใจ เป็นประสบการณ์ง่ายๆ ราคาไม่แพง ที่คุ้มค่าหาอะไรทดแทนยากจริงๆ

Endurance : Why we do what we do?

สัปดาห์ที่ผ่านมาเพื่อน ๆ หลายคนมีกิจกรรม Endurance (ต่อจากนี้ผมจะเรียกมันว่า อดทน) ที่แตกต่าง แต่มีความเข้มข้นไม่แพ้กัน มาเล่าสู่กันฟัง ผมนั่งไล่อ่านกิจกรรมของทุก ๆ คน ที่อธิบายถึงความรู้สึก เล่าถึงสิ่งที่เกิดขึ้น แชร์กันไปมาเต็มไปด้วยความสุข และตื้นตัน ผมอดไม่ได้ที่จะแสดงความเห็นว่าผมรู้สึกมีความสุขที่ได้เห็นหลาย ๆ คนมีความสุข โดยใช้การอธิบายในลักษณะ “ความสุขบนความทรมาน” ซึ่งพบว่ามีหลาย ๆ คน รวมถึงคู่หูเพื่อนซี้ในกิจกรรมอดทนของผมค่อนข้างไม่สบายใจกับทำว่า “ทรมาน” และต้องการที่จะแสดงออกว่านี่ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นและเหตุผลที่เขาเหล่านั้นเลือกทำกิจกรรมอดทน จากการแลกเปลี่ยนในกระทู้นั้น ทำให้ผมมาถามตัวเองอีกครั้ง ทั้ง ๆ ที่ถามตัวเองมาหลายต่อหลายครั้งแล้วตลอดยี่สิบปีที่ผ่านมา ว่าเราทำกิจกรรมอดทนเหล่านี้ไปเพื่ออะไร

TRI NCB

แต่ก่อนอื่นคงต้องท้าวความไปถึงครั้งแรกที่ผมใช้คำว่า “ทรมาน” เพื่อสื่อถึงความรู้สึกบางช่วงในกิจกรรมเหล่านี้ มันเกิดเมื่อเพื่อนของผมชวนให้ไปปั่นบนเขาใหญ่ ผมจึงเลือกช่วงที่ผมต้องไปแข่งขัน TNF100 เป็นวันที่จะปั่นเขาใหญ่ โดยวันแรกวิ่ง TNF50K แล้ววันที่สองปั่นเขาใหญ่ ด่านชนด่าน 100K เพื่อที่จะชักชวนเพื่อน ๆ มาร่วมสนุกกัน ผมจึงคิดที่จะหาชื่อที่เหมาะสมให้กับกิจกรรมนี้ ในช่วงนั้นผมซ้อมเทรนเนอร์กับ DVD Series SufferFest ซึ่งผมรู้สึกว่ามันสื่อตรงกับความรู้สึกของผมจึงคิดที่จะแปลความหมายนี้ออกมา เลือกมาได้ว่า “ทรมานบันเทิง” เพื่อสื่อถึงกิจกรรมนี้ หลังจากนั้นผมใช้คำว่า “ทรมาน” อีกหลายครั้ง เพื่อสื่อถึงกิจกรรมอดทนที่เราชาวเผ่า V40 ทำกัน

IMG_1140

สำหรับผมคำว่า “ทรมาน” มันไม่ได้มีความหมายเป็นลบเลย เพราะที่มาจากความว่า Suffer ที่ผมแปลมานั้น ผมนึกไปถึง “ทุกข์” ในศาสนาตลอดเวลา ผมมองมันคล้าย ๆ กับว่ากิจกรรมอดทนนั้น คือการธุดงค์ ที่นำ “ทุกข์” มาพิจารณา ส่วนกิจกรรมอดทนนั้นนำ “ทรมาน” มาพิจารณา มันเกิดขึ้นกับผมในทุก ๆ ครั้ง และผมใช้มันในทำนองนี้ในทุก ๆ ครั้ง แต่ไม่เคยคิดว่าคำ ๆ นี้จะบาดใจใครหลาย ๆ คน โดยที่ผมไม่ได้ตั้งใจ ดังนั้นผมจึงตั้งใจที่จะเขียนมันออกมาว่าสำหรับผมแล้ว ผมเห็นอะไร และทำไปทำไม โดยไม่แน่ใจว่าเมื่อจบบทความนี้ผมจะได้คำตอบหรือไม่ ความเป็นนักวิทยาศาสตร์ในตัวผมสอนให้ผมบันทึกกระบวนการ และให้ความสำคัญกับมันเท่า ๆ กับผลลัพธ์

IMG_2582

เมื่อพิจารณาถึงสิ่งที่เกิดขึ้นที่ถูกสื่อว่า “ทรมาน” มันมีอะไรเกิดขึ้นบ้างในกิจกรรมอดทน สำหรับผม ความร้อน ความเหนื่อย ความเมื่อยล้า คำที่เรียกง่าย ๆ ว่า “หมด” หรือ exhaustion เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแน่ ๆ ในกิจกรรมอดทนทั้งหลาย ในมุมมองของเปลือกภายนอก แต่ถ้าพิจารณาลึกเข้าไปในจิตใจ ผมจะเห็นความท้อใจ การยอมแพ้ กำลังใจ ความหึกเหิม ในความต่อเนื่องของความรู้สึกทางร่างกายและจิตใจนั้น บางครั้งมันปวดร้าวรุนแรงจนผมเองต้องตั้งคำถามว่า ผมมันทำมันไปทำไม แม้มันจะไม่บ่อย แต่คำตอบของคำถามในเวลานั้นมันจะกำหนดผลลัพธ์ของกิจกรรมไม่ว่าในช่วงเวลาก่อนทำกิจกรรมนั้นเราต้องการผลลัพธ์เช่นใด

IMG_3711

ผมวิ่ง 10K เพราะต้องการลบความคิดว่านักว่ายน้ำ (จริง ๆ แค่สมาชิกชมรมว่ายน้ำ) จะไม่ถนัดวิ่ง ผมลง 21K เพราะอยากเอาความฟิตที่เหลือจาก 10K มาใช้ให้เป็นประโยชน์ ผมลงทวิกีฬาเพราะอยากปั่นจักรยานที่ผมใช้มามหาลัยแบบเร็ว ๆ สุดชีวิตกะเขามั่ง ผมลงไตรกีฬาเพราะผมเป็นนักว่ายน้ำ กิจกรรมอดทนของผมนั้นถูกขับมาจากความอยากรู้ และความต้องการขยายข้อจำกัด รวมไปถึงใช้ทรัพยากร อุปกรณ์ และทักษะทั้งหมดที่ผมมีอย่างคุ้มค่า ซึ่งมันเป็นนิสัยส่วนตัวที่จะใช้ความคุ้มค่า หรือประสิทธิภาพมากำหนดสิ่งที่ทำ ผมใช้เวลาอยู่กับมันสิบกว่าปี วิ่งไล่ตามสถิติต่าง ๆ ปีหน้ามันต้องเร็วขึ้นดีขึ้น ตำแหน่งสูงขึ้น แม้ว่าจะไม่เคยได้ถ้วยกับเขาเลย แต่ก็สามารถนำตัวเองไปอยู่ในอันดับ Top 5 Top 10 ได้ทั้งในสนามประเทศไทย และต่างประเทศ ในขณะที่สถิติก็ดีขึ้นเรื่อย ๆ จนไปพีคที่อายุประมาณ 30 ก่อนที่จะค่อย ๆ คงตัวและช้าลงในที่สุด

IMG_7410

แน่นอนว่าผมคุ้นเคยกับความเจ็บปวด ตะคริว ไม่ใช่เรื่องแปลก และหลาย ๆ ครั้งไม่สามารถชะลอผมลงได้มากนัก อัดจนอาเจียรข้างทาง หรือจำเป็นต้องกลืนมันกลับเข้าไป เพราะอยู่ในระหว่างการแข่งขัน ไม่ใช่เรื่องแปลกอีกเช่นกัน ถ้าถามว่ามันจะใช้คำว่า “ทรมาน” ได้มั้ยสำหรับผม ผมเองก็เห็นด้วยกับเพื่อน ๆ ที่ไม่ชอบคำ ๆ นี้ว่าผมไม่อยากเรียกมันว่า “ทรมาน” ผมต้องยอมรับว่ามันอาจจะเจ็บปวด ผมไม่ได้ชอบมัน ไม่ได้เสพติด แต่ระหว่างซ้อมจนถึงวันแข่งและระหว่างแข่งนั้นผมทำทุกอย่างเพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งเหล่านี้มันเกิดขึ้น แต่แม้ว่าผมรู้อยู่แก่ใจว่ามันจะเกิดขึ้นอีกถ้าผมต้องการสถิติที่ดีขึ้นในทุก ๆ ครั้งที่ผมลงแข่งขัน แต่เมื่อจุดสูงสุดของผมเหมือนจะผ่านพ้นไปแล้ว ความที่ผมเองอาจจะต้องยอมแพ้ให้กับตัวเองในวัยหนุ่ม เปลี่ยนมาแข่งขันกับคนรอบข้าง เปลี่ยนมาตั้งเป้าหมายใหม่ ๆ สถิติใหม่ ๆ ที่เหมาะสมกับกลุ่ม V40 อย่างผม ความกดดันในระดับที่จะต้อง “ทรมาน” มันก็ค่อย ๆ หมดไปจนวันหนึ่งผมเองก็เริ่มหาเป้าหมายใหม่ให้ตนเอง

IMG_7455

วันหนึ่งเพื่อนสนิทสมัยเรียนมัธยมมาชวนให้ตั้งทีมเพื่อวิ่งผลัดข้ามประเทศ ที่เรียกว่า O2O ผมคิดว่ามันฟังดูแล้วตื่นเต้นท้าทายดี จึงพยายามฟอร์มทีมขึ้นมาซึ่งก็ไม่ง่ายนักเพราะไอเดียที่จะวิ่งกันในเวลาเที่ยง วิ่งกันข้ามวันข้ามคืน วิ่งผลัดระยะสั้น ๆ ที่รวมระยะของแต่ละคนแล้วไม่เกิน 30K นั้นมันดูช่างไม่ “ท้าทาย” เอาเสียเลย แต่โชคดีที่ทีมได้ถือกำเนิดขึ้น และผมได้พบกับเหตุผลใหม่ของกิจกรรมอดทด กิจกรรมนี้ทำมาแล้วสองปี ได้ทำให้ผมได้ไปสนิทอีกครั้งกับเพื่อนเก่า ๆ ที่ร้างราจากกันมานาน กิจกรรมนี้ถือเป็นต้นกำเนิดของทีม Very Forty ที่เพื่อนในกลุ่มนี้อยากมีการรวมตัวเพื่อเข้าแข่งขันไตรกีฬาในรายการกรุงเทพไตรกีฬา ผลลัพธ์ของกิจกรรมที่ผมได้ดูเหมือนว่าจะสร้างผลกระทบได้กว้างขวางขึ้น มีเพื่อน ๆ หลาย ๆ คนมารวมตัวกันแสดงจุดยืน สร้างตัวตน แสดงตัวเป็นแบบอย่างของการใช้ชีวิต active ที่ผมต้องรับว่าเป็นอีกความสุขหนึ่งที่ทำให้ผมมุ่งมั่นทำกิจกรรมเหล่านี้มากขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่าการเผยตัวตนในครั้งนี้เริ่มทำให้อีกหลาย ๆ คนมองเห็นผมเป็นคน “บ้า”

L1010355

ผมเริ่มร่วมการแข่งขันจักรยานทางไกล เริ่มขยายระทางทางของไตรกีฬา และเริ่มสนใจระยะมาราธอน เนื่องจากเป็นระยะทางใหม่ ๆ ทุก ๆ ครั้ง ทุก ๆ ก้าวที่ผมทำลงไปมันเป็นสถิติใหม่ไปทั้งสิ้น แม้ว่าผมยังไม่เห็นเหตุผลที่ชัดเจนในการทำมันลงไป ผมยังได้ป้อนอาหาร ego ส่วนตัวของผมด้วยสถิติใหม่ ๆ เช่น Sub5 Marathon, 6:08 Hr Half-Ironman เป็นต้น จนวันหนึ่งเพื่อนแจ๊คแนะนำให้ผมรู้จักกับ Festive500 ที่ต้องปั่น 500K ภายใน 8 วันช่วงปลายปี สำหรับคนปั่นระยะ 80-100K การที่จะทำแบบนี้ต่อเนื่องทุก ๆ วันสร้างความท้าทายใหม่ ๆ ให้กับผม และก็ไม่ผิดหวังเมื่อผมร่วมคำท้าแล้วต้องถามกับตัวเองวันแล้ววันเล่าที่ต้องตื่นมาปั่นระยะ 80-100K โดยไม่สนว่าฝนจะตกหรือแดดจะออก เพื่อนคนเดียวกันนี้ก็แนะนำให้ผมรู้จักกับ Audax กิจกรรมอดทนในรูปแบบใหม่ที่ไม่ต้องแข่งกับใคร ไม่สนใจสถิติ มาด้วยใจกับคิวชีทเป็นพอ ผมกระโดดเข้าหาแล้วก็ติดมันงอมแงม มันเป็นการปั่นระยะที่ไกลมากขึ้น 200 300 400 600 ซึ่งต้องมีเรื่องของการกิน การพัก การนอนเข้ามาเป็นส่วนร่วมของความท้าทายนั้น ๆ ด้วย ดูเหมือนว่าในช่วงนี้ผมเริ่มได้เป้าหมายใหม่ของกิจกรรมอดทน นั่นก็คือ “ท้าทาย”

IMG_6245

อย่างไรก็ตามยังมีคำถามจากบุคคลภายนอกอีกในเรื่องของค่าใช้จ่าย นอกเหนือจากความเหน็ดเหนื่อยแล้ว ยังไม่ค่าใช้จ่ายในกิจกรรมเข้ามาเกี่ยวข้องอีกเยอะมาก ทำให้ผมเริ่มมองในมุมมองของทางด้านการเงินบ้าง แต่ไม่ทราบว่ามันมีอะไรที่ดลใจให้ผมจัดการกับปัญหาด้วยการตั้งกองทุนในชื่อลูกสาวที่เสียไปของผม ชื่อว่า กองทุนเพื่อซูริ ในการที่จะระดมเงินไปบริจาคให้กับหน่วย NICU โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ สถานที่ที่ลูกสาวคนนี้ของผมถือกำเนิดและเสียชีวิต ด้วยความหวังไกล ๆ ว่าเงินเหล่านี้อาจจะช่วยให้ลูกตัวน้อยของคนอื่นมีโอกาสกลับบ้านไม่เป็นเช่นลูกสาวของผม ผมจึงพยายามสร้างความสัมพันธ์ุระหว่างกิจกรรมอดทนและเงินบริจาคเพื่อกองทุนขึ้นในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อที่จะเป็นคำตอบหนึ่งในด้านการเงิน ซึ่งหลาย ๆ กลุ่มที่มีความเห็นตรงกันก็ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ ยกตัวอย่างเช่น กลุ่ม Run4ManyReasons ของพี่ย้ง เป็นต้น

IronmanLangkawiForZuri

ความ “ท้าทาย” ใหม่เข้ามาอีกครั้งเมื่อผมต้องเข้ารักษาตับอักเสบด้วยการฉีดยาอินเตอฟูรอน 48 เข็ม ผมจึงสมัครแข่งขันไอรอนแมนทันที แม้ว่าผมจะไม่คิดว่าจะลงรายการระยะนี้ในสภาพที่ผมไม่แน่ใจว่าผมสามารถวิ่งได้ไกลเพียงใด ผมดีใจที่การตัดสินใจพุ่งเข้าชนกับโรคร้ายและการรักษาอันหฤโหดนั้นได้สร้างแบบอย่างและกำลังใจให้กับผู้ป่วย หรือผู้พักฟื้นอีกหลายคน แม้ว่าในด้านของการวิ่งนั้น หลังจากผมแตะระยะมาราธอนแรกแล้ว ผมก็ขยายเป็นระยะอัลตราที่ TNF 50K แต่ทำให้อาการบาดเจ็บที่กระดูกสันหลังกำเริบ การวิ่งระยะ 10K 15K 21K กลายเป็นความท้าทายอีกครั้ง ขอแค่เพียงได้วิ่งครบระยะ ผมเก็บความท้าทายแบบผู้ป่วยกายภาพของผมอย่างเงียบ ๆ เพราะความผิดหวังในการ DNF ครั้งแรกในชีวิตที่สนามไอรอนแมนลังกาวี ก่อนที่จะประกาศชนกับมันอีกครั้งด้วยการวิ่งจอมบึงมาราธอน เพียงแต่บอกคนรอบข้างว่าผมต้องการวิ่งช้า ๆ ในใจเพียงคิดว่าต้องการวิ่งให้ถึงเป็นเท่านั้น ซึ่งในเวลานี้ผมต้องยอมรับว่า มันยังคงเป็นความ “ท้าทาย” สำหรับผมอยู่ดี

Week2

ในขณะเดียวกันที่ผมไม่สามารถเร่งความเร็วได้ดั่งใจ ผมจึงเริ่มหาความแปลกใหม่เพื่อมาเติมเต็มให้จิตใจผมอีกครั้งในกิจกรรมอดทนที่แทบไม่มีความหวังจะสร้างสถิติ เมื่อความท้าทายลดคุณค่าเหลือเพียงที่จะ “วิ่ง” ได้จนครบระยะ ผมเริ่มอาสาวิ่งเก็บขยะ ในงานภูเก็ตมาราธอน ในระยะฮาร์ฟ ที่ทำให้ผมได้รู้จักกับพี่ย้ง กล้วยหอม ผมเข็นรถ trailer ขนลูก ๆ สัมผัสบรรยากาศสงลามาราธอนในระยะฮาร์ฟ และสุดท้ายวิ่งแจกตุ๊กตาในงานจอมบึงมาราธอน ที่ระยะฟูลมาราธอน แม้ว่า ณ เวลานี้ ผมยังไม่สามารถ “วิ่ง” ได้จนครบระยะ แต่ผมก้าวข้ามความ “ท้าทาย” ในแต่ละขั้นมาเรื่อย ๆ ช้า ๆ อย่างมั่นคง

L1040269

ผมร่ายยาวมาจนถึงย่อหน้าสุดท้าย ผมเองยังไม่แน่ใจว่าผมได้คำตอบหรือยัง ว่าผมทำกิจกรรมอดทนเหล่านี้ไปทำไม มีความเป็นไปได้ว่าผมอาจจะต้องค้นหามันไปตลอดชีวิต เฉกเช่นคำถามที่ว่า มนุษย์เราเกิดมาเพื่ออะไร แม้ว่าผมจะเล่าให้หลาย ๆ คนด้วยเหตุผลต่าง ๆ กัน ไม่ว่าอาการเจ็บหลังที่กำเริบจนไม่สามารถอุ้มลูกชายคนแรกอาบน้ำได้ สุขภาพที่ย่ำแย่จากการโหมทำงานหนักจนแม้กระทั่งเดินขึ้นบันไดหอบ หรือการที่จะสร้างแบบอย่างให้กับลูก ๆ ในการใช้ชีวิตแบบมีสุขภาพ ไปจนกระทั่งเหตุผลเนื่องจากเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่พัฒนาจนอายุเฉลี่ยเรายาวนานขึ้นและผมไม่ต้องการที่จะใช้ช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิตบนเตียง เหตุผลเหล่านี้อาจจะเติมเต็มให้กับผู้สงสัย ผู้ตั้งคำถาม แต่ผมรู้ดีว่าสำหรับผมนี่มันเป็นเพียงผลพลอยได้  Why we do what we do? The answer my friend is blowing in the wind.           

จักรยานทางไกลไร้ผู้ติดตาม : Audax Randonneur

ผมมีโอกาสได้ปั่นจักรยานทางไกลแบบดูแลตนเองมาทั้งหมด 4 ครั้ง เป็นแบบที่มีเจตนาที่จะต้องไปให้ถึงเท่านั้น บนข้อจำกัดที่ต้องช่วยเหลือตนเอง ทั้งการดูแลจักรยานและการขนอุปกรณ์หรือเสบียง หรือพูดแบบเข้าใจง่ายๆ คือไร้ผู้ติดตาม แม้ว่าในความเป็นจริงจะมีผู้คอยตามติดในเหตุการณ์ตลอดทั้ง 3 ใน 4 ครั้งที่จัด แต่เป้าหมายเป็นเพียง มาคอยถ่ายรูปและพบปะพูดคุยตามจุดแวะพักต่างๆ ในหลายครั้งก็มีเพื่อนร่วมเส้นทางจำนวนมาก ตั้งแต่ 200, 500 ไปจนร่วม 2000 คน เพื่อนร่วมทีมปั่นเคียงข้าง หรือบางครั้งฉายคนเดียวแบบไม่เกรงกลัวโชคชะตา จนวันนี้ผมคิดว่าผมได้เข้าใจความรู้สึกบางอย่างของการปั่นจักรยานแรลลี่ทางไกลในลักษณะเช่นนี้ น่าจะสามารถถ่ายทอดให้ใครที่อาจจะสนใจได้มาลองกันบ้าง เพราะมันไม่ใช่กิจกรรมทัวริ่งที่ผมเคยเข้าใจ เหมือนครั้งแรกที่ผมประกาศกับเพื่อน ๆ ก่อนปั่น กรุงเทพ – หัวหินเอาไว้ นั่นคือ ผมไม่ปั่นทัวร์ริ่งไปหัวหินนะ และมันก็ไม่ใช่จริง ๆ มาติดตามกันครับ ว่าการปั่น 6+ ชม. โดยไม่มีความช่วยเหลือข้างทาง ถ้าไม่ใช่ทัวร์ริ่ง มันจะเป็นอย่างไร

IMG_6243

การปั่นทางไกลครั้งแรกของผมเริ่มด้วยระยะทางประมาณ 180-190 กม. กรุงเทพ-หัวหิน ที่เป็นรายการปั่นประเพณี เราไปเป็นทีม แต่ออกตัวหลังสุดในบรรดานักปั่นร่วมเส้นทางกว่าสองพันคนในวันนั้น เราจึงไม่ได้สัมผัสความรู้สึกของการปั่นเป็นขบวน แต่ได้สัมผัสความรู้สึกของการปั่นแรลลี่ทางไกลเป็นครั้งแรก สมาชิกใหม่ๆ ของทีมก็ไม่ต้องกังวลมากเพราะพี่ๆ อาวุโสสามารถดูแลกรณีฉุกเฉินต่างๆ รวมไปถึงเพื่อนร่วมทางที่มาถ่ายรูปก็ยังสามารถดูแล หากร่างกายไม่ยอมต่อสู้กับเส้นทางอันยาวไกล ผมเขียนบันทึกเหตุการณ์ไว้แล้วจึงคงไม่ทำซ้ำที่ตรงนี้ แต่นั่นเป็นการเปิดโลกของการปั่นทางไกลของผม เราไม่ได้พักมากมายนัก เท่าที่จำเป็นตามความเรียกร้อง และสภาพร่างกายของเพื่อน ๆ ในกลุ่ม มีเหตุการณ์เปลี่ยนยางหนึ่งครั้ง มีเพื่อนที่ไปไม่ถึงจุดหมาย 2 คน พอที่จะทำให้ผู้ที่ปั่นสำเร็จได้รู้สึกถึงความสมหวังตั้งใจ

IMG_5813

กิจกรรมที่สร้างประสบการณ์ให้ผมเป็นอย่างมาก จนผม มั่นใจที่จะมาถ่ายทอดเรื่องราวของการปั่นจักรยานทางไกลไร้ผู้ติดตามไว้ตรงนี้แม้ว่าทั้งชีวิตการปั่นของผมนั้นผมลองทำมาเพียง 4 ครั้งเท่านั้น กิจกรรมนั้นเรียกว่า Brevets de Randonneurs Mondiaux (BRM) ซึ่งเป็นลิขสิทธิ์ของ Audax Club Parisien ที่ถูกจัดขึ้นในเมืองไทยปีนี้เป็นปีแรก ว่ากันว่าเมื่อผ่านกิจกรรมของกลุ่มนี้จะสามารถใช้สิทธิ์ที่จะเข้าร่วมกิจกรรมในลักษณะเดียวกันนี้ในสถานที่ต่าง ๆ ทั่วโลกได้ ประสบการณ์ BRM200 อยุธยา และ BRM300 เขาใหญ่ เป็นการปั่นระยะทาง 200 และ 300 กม. ตามลำดับ โดยปั่นเป็นวงเริ่มต้นและสิ้นสุด ณ จุดเดียวกัน ทำให้ผมมั่นใจว่าผมเล่าอะไรที่น่าจะมีประโยชน์สู่กันฟังได้ BRM นั้นกำหนดให้ไม่มีป้ายบอกทางแต่มีแผนที่และคำอธิบายเส้นทางไว้ให้ มีจุดกำหนดที่จะต้องเข้าเพื่อลงเวลาในระยะเวลาที่กำหนด ไม่อนุญาติให้มีการช่วยเหลือริมทาง รถติดตาม หรือขนสิ่งของใดๆ แต่นัดพบกันที่จุด checkpoint ไม่ว่ากัน ผมเข้าร่วมกิจกรรมนี้เพื่อเป็นการซ้อมปั่นทางไกลสำหรับการแข่งขันไอรอนแมนของผม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการซ้อมเรื่องการกินอาหาร แต่ดูเหมือนว่ามันให้อะไรผมมากกว่าที่ผมวางแผนไว้เป็นอย่างมาก

IMG_5804

BRM200 อยุธยา ออกตัวจากหลักสี่ ไปวนตัวเมืองอยุธยาแล้วปั่นกลับ รวมระยะทาง 200 กม. ในทีม Very Forty มีสมาชิกร่วมปั่น 4 คน ผู้จัดการทีมถอนตัววินาทีสุดท้ายเนื่องจากอาการบาดเจ็บยังไม่หายดี อีกทั้งผ่านประสบการณ์นี้มาแล้วครั้งหนึ่ง พี่ป๊อบแยกตัวไปปั่นกับเพื่อนๆ เหลือผม อำนวยและหมอจอนออกตัวไปด้วยกัน การเดินทางเริ่มต้นเวลา 7 โมงเช้า ด้วยความอ่อนประสบการณ์ผมเร่งปั่นตามกลุ่มทุกครั้งที่มีโอกาส เนื่องจากติดนิสัยการแข่ง Road race เราทำเวลาและความเร็วได้ค่อนข้างสูง แต่ไปได้ไม่นานนักหมอจอนเริ่มออกอาการ จนเราจำเป็นต้องเข้าพักในศาลาข้างทาง ระหว่างการพักสั้น ๆ ของเราก็ยังมีกลุ่มอื่น ๆ มาอาศัยศาลาเดียวกันกับเราเพื่อพักผ่อน จึงคาดว่าความเร็วที่ทำกับระยะทางที่คงเหลือ มันน่าจะไม่ค่อยเข้ากันเท่าไรนัก เราจึงปรับกลยุทธแล้วปั่นเรื่อยๆไปกันสามคน เส้นทางไม่มีอะไรตื่นเต้นมากนัก ราบเรียบแต่อากาศค่อนข้างร้อน สองข้างทางเป็นทุ่งนาเสียส่วนใหญ่ ถนนส่วนใหญ่ที่ทางผู้จัดเลือกเป็นถนนสายรอง มีรถใหญ่ไม่มากนัก บรรยากาศการปั่นไม่ค่อยเครียด อย่างไรก็ตามอาหารและน้ำที่เตรียมให้ตามจุดแวะพักต่างๆ มีไม่ค่อยเพียงพอสำหรับความเร็วของกลุ่มเรา เราเข้าพักครึ่งทางที่ อบต. ผักไห่ พร้อมอาหารเที่ยงเบาๆ ผมยางแตกมาแล้วหนึ่งครั้งก่อนถึงจุดนี้ ซึ่งไม่ได้สร้างความตื่นเต้นอะไรมากนัก แต่การเปลี่ยนยางข้างถนน กลางแดดเปรี้ยงๆ ก็ไม่น่ารื่นรมย์นัก เราพักทานอาหารและลดความร้อนจากแดดแผดเผาอย่างไม่เกรงใจ เมื่อเต็มอิ่มกันแล้วก็เริ่มการเดินทางอีกครั้ง แต่แล้วการเปลี่ยนยางอีกครั้งเกิดขึ้นที่เชคพอยท์นี้นี่เอง เนื่องจากยางในเส้นที่เปลี่ยนนั้นมีตำหนิจากการปะคราวก่อนหน้านั้น เราเลี้ยวกลับเข้ามาเปลี่ยนยางในอาคาร ซึ่งทำให้ผมรู้สึกยินดีว่าเราไม่ต้องไปทำกิจกรรมนี้ ข้างถนนอันร้อนระอุ

IMG_5819

สุดท้ายเราทั้งสามค่อยๆออกตัวไปอย่างไม่รีบร้อน เพราะอากาศมันร้อนเหลือสุดจะทน เชคพอยท์ถัดไปอยู่ตัวเมืองอยุธยาไม่ไกลมากนัก แต่อากาศที่ร้อนและสภาพปั่นเมืองทำให้เราไม่มีความสุขมากเท่าไรนัก แต่เชคพอยท์ที่ต้อนรับโดยทีมตำรวจจักรยานที่เต็มร้อย ทั้งน้ำเย็น เกลือแร่ ผลไม้ อาหาร ไปจนถึงบริการซ่อมบำรุงจักรยาน ทำให้การพักผ่อนครั้งนี้เต็มอิ่ม น่าเสียดายว่าหมอจอนตัดสินใจยุติการปั่นของวันที่ตรงนี้ นี่เป็นข้อเสียที่สำคัญของการมีผู้จัดการทีมติดตามมาถ่ายรูป การตัดสินใจยอมแพ้นั้น มันอยู่ใกล้แค่เอ่ยปาก จากจุดนั้นจะเหลือผมและอำนวยออกตัวกันต่อไปเพียงสองคน เส้นทางปั่นกลับน่าเบื่อจนผมแทบจำอะไรไม่ได้ เรามาเบรคสุดท้ายที่วัดแห่งหนึ่ง ดวงอาทิตย์เริ่มคล้อยต่ำ เราพักทานของว่างเล็กน้อย ก่อนที่จะออกตัวกันออกไปอีกครั้ง ผมได้ใช้ไฟกระพริบหน้าหลังเพื่อให้เพื่อนร่วมถนนสังเกตุได้ง่ายขึ้น ช่วงสุดท้ายผมกับอำนวยไม่ค่อยได้คุยกันมากนัก เราปั่นผ่านเพื่อนนักปั่นเป็นระยะ ๆ จำได้แต่เพียงว่าผมใช้เวลายี่สิบกิโลเมตรสุดท้ายอย่างค่อนข้างจะเหน็ดเหนื่อย ทำความเร็วได้เพียงยี่สิบต้นๆ เข้าเส้นที่เวลาประมาณหนึ่งทุ่ม สายตาผมเริ่มใช้การไม่ได้ที่ระดับแสงที่จำกัดเช่นนี้พอดี 12 ชม. เต็มพลังงานสะสมผมหมดเกลี้ยง ผมได้เรียนรู้ถึงขอบเขตจำกัดของร่างกายและปริมาณอาหารจากกิจกรรมวันนี้ ผมลืมไปเลยว่าผมเพิ่งรับยาอินเตอร์ฟิวรอนที่ทำให้ผมปวดกระดูกสองวันก่อนหน้า ผมมั่นใจแล้วว่าแม้จะไม่เต็มร้อยแต่ยาก็หยุดผมไม่ได้ และได้เรียนรู้ว่าผมต้องเพิ่มปริมาณอาหารมากกว่านี้ถ้าต้องแข่งไอรอนแมน

IMG_5380

BRm300 เขาใหญ่ ท้าทายผมมากกว่าเดิม ระดับฮีโมโกลบิน และเม็ดเลือดขาวผมลดลงจากยา ระยะสองร้อยกิโลเมตรคือสุดขอบของความสามารถในการสะสมและกินเพิ่มของผม ผมไม่มั่นใจว่าจะเกิดอะไรขึ้นที่ร้อยกิโลเมตรสุดท้าย อีกทั้งเส้นทางภูเขาที่หฤโหดได้ถูกบันทึกไว้โดยผู้สำรวจเส้นทาง ทีม Very Forty มีสมาชิคมาร่วมปั่น 5 คนแต่แบ่งกันปั่นเป็นสามกลุ่ม ผมปั่นคู่กับอำนวยเช่นเคย แจ๊คตัดสินใจอดหลับอดนอนมาขับรถเก็บภาพให้เรา เราต้องเดินทางออกจากกรุงเทพด้วยรถยนต์เพื่อมานอนค้างใกล้ ๆ จุดเริ่มต้น การเดินทางเริ่มต้นขึ้นตีห้าบริเวณกบินบุรีย์ขึ้นเขาปักธงชัยวนไปเขาใหญ่แล้วกลับมาเป็นวงระยะทาง 300 กม. เขาแรกและอาจจะเรียกว่าเขาเดียวของเส้นทางนี้ ไม่ชันนักแต่ยาวนานถึง 6-7 กม. ซึ่งไม่ง่ายนักสำหรับคนตัวใหญ่ ผมเห็นคนเริ่มลงเข็นตั้งแต่กิโลแรก ไม่คิดว่าจะสามารถเข้าทันในเชคพอยท์แรก 60 กม. ความเร็วเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 15 กม/ชม โดยไม่สนใจว่าจะทุรกันดารอย่างไร และคิดว่าจะเป็นเช่นนั้นจริงๆ เราทั้งสองคนไม่ได้ปั่นเร็วนัก แต่ทิ้งนักปั่นจำนวนมากบนเชิงเขา แม้ว่าเราจะไม่ได้พักนานนัก เวลาที่เหลือในจุดพักนั้นมีเหลือเพียง 1 ชั่วโมง เป็นไปได้ว่านักปั่นจำนวนมากสอบตกตั้งแต่  check point ที่ 1

IMG_6252

เชคพอยท์ที่สองระยะทาง 120 กม. เราปั่นผ่านเขาแผงม้า ข้ามเส้นทางในหุบเขาสวยงาม เส้นทางขึ้นลงตลอดทั้ง 60 กม. เงียบสงบ ผมคิดว่าถ้าปั่นอีกครั้งเส้นทางนี้น่ากลับมาท่องเที่ยว ในตอนนั้นอากาศเริ่มร้อนขึ้น ผมเริ่มกังวลว่าเส้นทางผ่านขุนเขาเช่นนี้น่าจะกินพลังงานผมไปมากกว่าปกติ ผมพยายามกินเจลชั่วโมงละซอง ร่วมกับอาหารประเภทอื่น เช่น กล้วย ขนมปัง หรือข้าวต้มมัดที่มีแจกให้ รวมไปถึงแกเตอเรดชั่วโมงละขวด เราเข้ามาถึงจุดเชคพอยท์หน้าด่านเก็บเงินอุทยานที่ปากช่อง ผมเริ่มพบว่าผมเริ่มไม่ค่อยยอมรับอาหารเข้าไปมากนักแล้ว ผมพยายามเปลี่ยนจากขนมปังที่ผมพกมาด้วยไปเป็นกล้วยที่แจก ข้าวต้มมัดไม่มีเหลืออีกแล้ว จำนวนกล้วยเริ่มมากขึ้นในกระเพาะของผม ผมรู้ว่าท้องผมรับได้จำนวนหนึ่งเท่านั้นก่อนที่จะไม่สามารถย่อยได้ เราพักกันไม่นานนักก่อนที่จะปั่นลงไปทางมวกเหล็ก อำนวยบอกไว้ว่าจากจุดนี้จะเป็นเส้นทางลงของเพียงอย่างเดียวแล้ว อย่างไรก็ตามเส้นทางไม่ได้เป็นทางลงอย่างที่คิด หลังจากเลี้ยวซ้ายเข้าเส้นในไปมวกเหล็กทางแดรีโฮม เราก็ต้องพบกับ เขาแล้ว เขาเล่า ผมเริ่มจะไม่สนุกกับมันมากนัก เนินเล็กๆ เริ่มกลายเป็นเขาสำหรับผม เมื่อเส้นทางวกเข้าทางหลวง ความสนุกของวันก็หมดไป ความเครียดของการแชร์เส้นทางกับรถบรรทุก 18 ล้อ บนเนินซึม ๆ ยาว ๆ ฝุ่นและอากาศที่ร้อน ทำให้อะไรๆมันดูเลวร้ายไปหมด เมื่อมาถึงจุดพัก ผมไม่สามารถใส่อาหารลงกระเพาะได้อีกแล้วไม่ว่าจะพยายามอย่างไร ผมพยายามใส่กล้วยลงไปเพิ่ม เราออกเดินทางกันต่อจนกระทั่งถึงจุดพักที่ระยะ 200 กม. หน้าร้านสะดวกซื้อ 7-11 เป็นหยดสุดท้ายของผม เริ่มทานอะไรไม่ได้มาพักหนึ่งแล้ว จิตใจผมไม่ยอมรับอาหารอื่น ๆ ใดอีกแล้ว แม้ว่าจะมีอาหารให้เลือกมากมายในร้านสะดวกซื้อแห่งนั้น ผมจึงเลือกที่จะกินน้ำอัดลมเผื่อว่าจะช่วยให้กระตุ้นความอยากอาหาร เวลานั้นขาทั้งสองข้างเริ่มล้า เริ่มไม่อยากลุกเดินไปไหนมาไหน มันเป็นปลายทางของจิตใจ ผมต้องหมดแรงที่ตรงนี้ เหมือนอย่างครั้งที่ผ่านมา

IMG_6245

เราออกตัวกันอีกครั้งตามที่วางแผนกันไว้ว่าจะพักคราวละไม่เกิน 30 นาที ผมต้องเริ่มกัดฟันในขณะที่อำนวยเริ่มเร่งความเร็วเมื่อเราปั่นร่วมทางกับสิบล้อ จากความคุ้นเคยในการปั่นซ้อมในกรุงเทพ และจากอาหารอันอุดมสมบูรณ์ที่พักเบรคที่เพิ่งผ่านมา สำหรับผมพลังงานใกล้จะหมด หัวใจเริ่มระเบิดเป็นเสี่ยง ๆ ผมตามไปได้เพียงยี่สิบกิโล อาการก็เริ่มออก มันคืออาการ Bonk หรือหมดพลังงาน การตัดสินใจการเคลื่อนไหวของร่างกายช้าลง ผมจำเป็นต้องขอเข้าข้างทาง พักและพยายามหาอะไรกิน แจ๊คและอำนวยพยายามบังคับให้ผมกินอะไรแต่ตอนนั้นมันแน่นไปหมด แจ๊คสั่งนมเย็นให้ผมทานด้วยความคิดว่าน้ำตาลอาจจะช่วยให้ฟื้นได้เร็วขึ้น ในขณะที่พยายามเสนออาหารหนักให้ผม ผมกินโจ๊คไปหนึ่งกล่องและนมได้เล็กน้อย แต่ต้องการนอนพัก อำนวยดูท่าผิดหวังเล็กน้อยเพราะแรงกำลังมาและเรากำลังทำเวลาได้ดีกว่า BRM  200 อยู่กว่าหนึ่งชั่วโมง ถ้าไม่น่าเกลียดเราน่าจะสามารถจบวันนี้ภายในเวลา 16 ชั่วโมงได้ เราพักหนึ่งชั่วโมง อำนวยยังดูมีความหวังว่าเวลาที่เสียไปน่าจะไม่เกินไปจากนี้ 17 ชั่วโมงก็เป็นตัวเลขที่ไม่น่าอายเท่าไร เราออกตัวเพื่อปั่นไปยังจุดเชคพอยท์สุดท้ายที่ห่างออกไปเพียง 20 km ผมสามารถขุดเอาพลังงานออกมาปั่นไปได้เรื่อย ๆ อย่างช้า ๆ มีอำนวยคอยควบคุมความเร็วไว้ให้ จนสุดท้ายเรามาถึงจุดพักที่เป็นปั้มน้ำมัน เป็นจุดที่ทีมเราทุก ๆ คนเข้ามาพักเพื่อทานอาหารเย็น ผมสามารถกินมาม่าได้หนึ่งกล่องและนมอีกกล่อง เราใช้เวลานั่งพักนานพอสมควร ผมบ่นถึงความโหดร้ายของรายการที่เลิกไม่ได้ เพราะถ้าเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นในรายการไอรอนแมน ผมของได้เข้าพักในเต้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว อำนวยจึงวางแผนให้ค่อยๆไปคราวละยี่สิบกิโล ผมต้องปั่นพักกินและปั่นเช่นนั้นอีกร่วม 7 ชั่วโมง สำหรับระยะเพียง 60 km ที่ยังเหลือ ทุก ๆ จุดแวะพัก อำนวยจะเอาอาหารหรือขนมมาเสนอเชิงบังคับให้ผมกิน สงสัยกลัวว่าจะไม่สำเร็จตามเป้าที่ตั้งไว้ ผมพยายามกินตามที่เสนอแม้ว่าความรู้สึกขณะนั้นคือทุกสิ่งทุกอย่างมันล้นมาอยู่ที่ลำคอของผมแล้ว พักสุดท้ายที่หน้าปั้ม เราจัดกาแฟกันคนละแก้ว เหลือเวลาอีกเพียงสองชั่วโมง อำนวยวางแผนให้พักเกือบ ๆ ชั่วโมง เพื่อจะเหลือเวลาไว้ 1 ชั่วโมงในการปั่น 18 km สุดท้าย ในที่สุดการปั่นสุดท้ายของคืนก็เริ่มขึ้นที่ประมาณเที่ยงคืน อำนวยออกนำเช่นเคย ก่อนผมจะค่อยๆ ลากสังขารตามก้นมาเข้าเส้นได้ที่เวลาประมาณเที่ยงคืนสี่สิบนาที รวมใช้เวลาไป 19:40 ชม. ผมพะอืดพะอมตลอดยี่สิบกิโลเมตรสุดท้ายจนลากตัวเองไปอาเจียนในที่พัก อาบน้ำแล้วหลับยาวจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอะไรไม่ค่อยได้

IMG_5376

อย่างไรก็ตาม การปั่นทางไกลแบบไร้ผู้ติดตามจริงๆ นั้นเกิดขึ้นก่อนหน้านั้น หลายเดือน เมื่อผมต้องการซ้อมระยะทาง 180 กม. เพื่อทดสอบร่างกาย ด้วยการปั่นจากบ้านที่สะพานสาธรไปยังบ้านภรรยาที่บางระจัน สิงห์บุรี วันนั้นผมออกเดินทางตีห้าครึ่งด้วยแผนที่ที่เตรียมขึ้นเองจากเวป www.ridewithgps.com เป็นการเดินทางที่ตื่นเต้นเป็นที่สุด ความมั่นใจในแผนที่มีเพียง 60% เนื่องจากเป็นเส้นทางที่ผมไม่เคยสัมผัสเลย ไม่รู้สภาพถนน ไม่รู้สภาพรถ ไม่มั่นใจว่าแผนที่จากเวปต่างประเทศนั้นมีความแม่นยำเพียงใด แผนสำรองมีเพียงยางในหนึ่งเส้น แผ่นปะยางสามแผ่น โทรศัพย์และเงินสามร้อยบาท ผมพลาดไม่ได้โดยเด็ดขาด ภรรยาและลูก ๆ เดินทางล่วงหน้าไปรอก่อน อย่างไรก็ตามภรรยาไม่มีรถที่จะสามารถมาช่วยเหลือได้ถ้าเกิดอะไรขึ้น ผมออกเดินทางเช้าที่สุดที่จะทำได้ เวลาประมาณ 5:30 น. ฟ้าเริ่มสาง เดินทางบนเส้นสาธรตัดใหม่ได้เริ่มต้นขึ้น ช่วงการปั่นออกจากกรุงเทพนั้น ไม่ค่อยน่ารื่นรมย์มากเท่าไร เส้นทางเป็นไฮเวย์ขนาดใหญ่ที่รถวิ่งกันเร็วมาก ๆ สะพานข้ามแยกไม่มีพื้นที่สำหรับจักรยานในการปั่น ขอบทางที่ใช้ในการปั่นก็เต็มไปด้วยเศษกระจก จนในที่สุดผมก็ยางแตกที่ระยะทางเพียง 40km แดดยังไม่ร้อน แต่ผมเริ่มรู้สึกว่าการเดินทางวันนี้คงจะยาวไกลพอสมควร มาถึงจุดเบรคแรกที่วางแผนไว้ ระยะทาง 60 กม. เริ่มออกนอกเมืองมาแล้ว ผมใช้เวลาเพื่อปะยาง และเติมแกเตอเรด หลังจากนั้นการเดินทางเป็นไปอย่างเรียบง่าย อากาศร้อนในวันสงกรานต์ ไม่มีใครกล้าราดน้ำจักรยานอย่างผม ทั้ง ๆ ที่ขณะนั้นผมต้องการระบายความร้อนเป็นอย่างมาก ผมเข้าพักอีกครั้งก่อนที่จะเข้าเส้นทางหลวงชนบท เงินผมมีไม่พอสำหรับอาหารเที่ยง ผมเพียงซื้อน้ำขวดสองลิตรและเฉาก้วยทานหนึ่งถ้วย แต่นั่นก็เป็นไปตามแผนที่วางไว้ ผมกินได้ตามแผนและไปถึงบ้านภรรยาบ่ายสองโมง ช้ากว่าที่วางแผนไว้หนึ่งชั่วโมง เส้นทางเรียบง่ายไม่มีอะไรน่าจดจำแต่ตื่นเต้นที่สุดเพราะงานนี้พลาดไม่ได้จริง ๆ ไม่มีแผนสำรอง

IMG_5393

การปั่นจักรยานทางไกลในรูปแบบนี้เปิดประตูบานใหม่ให้กับผม การเดินทางด้วยสองขาบนระยะทางยาวไกลแม้ขับรถยังปวดหลัง ผมเริ่มฝันที่จะบดยางเส้นน้อยๆลงบนถนนเส้นสวยๆทั่วไทย หรือแม้กระทั่งในต่างประเทศ ความรู้สึกที่แตกต่างจากการทัวร์ริ่งอย่างบอกไม่ถูก เราไม่ได้ใช้จักรยานเพื่อออกมาท่องเที่ยว ถ่ายรูป โพส FB IG อย่างที่คนอื่น ๆ เขาทำ แต่เป็นการใช้เพื่อการเดินทางอย่างแท้จริง การเดินทางที่ช้าเพียงพอที่จะสัมผัสความสวยงามรอบ ๆ ด้าน ใกล้ชิดเพียงพอที่จะรู้ซึ้งถึงหุบ เนิน โค้งเว้าของเส้นทาง เปลือยพอที่จะรู้สึกถึงบรรยากาศ ความชื้น และอุณหภูมิรอบตัว แสงแดดแผดเผา สายฝนที่โปรยปราย เพื่อนร่วมทางเล็กใหญ่ รู้สึกและสัมผัสได้ทุกรูขุมขน ในขณะเดียวกันยังรวดเร็วเพียงพอที่จะเห็นมันเป็นการเดินทาง ถ่ายรูป FB IG ยังพอทำได้ แต่ไม่มากนักถ้าไม่มีผู้จัดการตามมาบันทึกเหตุการณ์ไว้ให้ ผมจึงขอแนะนำการเดินทางเช่นนี้ให้กับนักปั่นทุก ๆ คนครับ รับรองว่าคุณจะอยากมีจักรยานติดตัวคุณไปทุกที่นับจากวันที่คุณได้สัมผัสเป็นครั้งแรก