#Festive (BRM400) plus 100

This story is about “LOVE”. It started 3 years ago in an inaugural  #Festive500 in 2013. My first time was a torture. My second #Festive500 was devastating case of natural disaster with massive flood half wheel depth on a highway surrounding me. I managed to finish them somehow.  In 2015, I have something in my sleeve. Here is how it happened.

2015 Audax event was introduced in Thailand. Long ride has become my old friend. A lot of people join an Audax event only few know or even care about #Festive500. This year is different. Audax 2016 which started around the end of 2015 offer 400km distance on 26th December. I could not pass this opportunity to trick my friend into riding #Festive500. Our little tribe called V40 (Very Forty) registered 8 people into the event. 4 veterans including me and 4 newbies. Even though it is a risky business to announce that we would all ride together and wait for the slowest one. Accumulation of late arrival could turn into a sleepless night ride or even miss a control point cut off time. With two BRM400 medals each under the belt for veteran, everyone agree to this plan.

10298698_906319262793216_5649482439499409875_n

The ride started at 7am in the heart of Bangkok. We have to push through the morning traffic out to outskirt of Bangkok and then crisscrossing along several sort of outer loop of each passing provinces heading to Ang Thong province for lunch at approximately 100km. Everyone is still in a good mood. Sun was not so strong this time of the year. With noodles from an organizer and BBQ chicken bought along the way, we had nice meal getting ready to meet the highlight of today route. BRM400 Chaopraya was organised for 3rd time along similar route, a little bit modification at the beginning but the next 100km section remain to be the name of the game.

998490_10207201648513487_4779893769253216590_n

We left Ang thong going toward Ayuthaya province around 1pm. Everyone is ready for Noi river route, 80km along an abandon road next to the strategic Noi river. During Ayuthaya period, Noi river was used for suppling weaponry and earthenware made in upper area down to the capital city, Ayuthaya. Transportation along Noi river has become thing in the past. Resident settle along the river next to the small road restrict the expansion of the road along the river. New two lanes streets were replacing the old one on both sides of the river. We are now back travelling to the day when Ayuthaya was flourished. The road section were comprised of concrete, asphalt, dirt, ditch depend on density of people relying on it. Since there is an alternative many of the sections were terrible. The organiser has to put a secret check point along the river to prevent someone to find easier road next to it.

11046783_10204033974884664_1402002208460391937_n

Our tribe members who rode today BRM have very strong spirit so far. Two newbies who are about 10 years younger than the others prefer to ride out together by riding faster and rest longer. We took turn leading and take over along that 100 km stretch. It was felt very lively when kids ran along to sheer us up or waiting to give high five and there are quite a lot. The first time last year when Audax choose this road, it was very quiet. People looked in awe asking where were we heading or we were we coming from. No sign of shops or activities except a limiting pass through. But one year later, we can see a lot of changes. There are plenty shops along the river and many choose to stop fill up their bidons. People seem to get use to bicycle riding along the section. We stopped at one shop around 30 km into the section to have some cold beverages and sweets. These condition were tough not only for us but for the bike. I snap my spoke once on this road. This time we have 3 mini-velo in our group including mine. Bumps were getting much larger with small wheels.

10262199_906447166113759_7717685293258266701_n

We have to ride about 35km to a little village where my family were waiting to have dinner together today. My mother-in-law live on Noi river bank at the section where Singburi province meet Chainart. In a small vanishing village called Chanasoot. Next to the village is an archeological site, an old furnace used to produce earthenware as well as foundry for weaponry. We can imagine the market was bustling with people as the goods transportation started here. Now the market is very quiet. It has to move itself across the street to be out in an open to survive. Most new generations left or building there new place further down the road. We can predict its near future very accurately that soon it would vanish. When I first came to visit my future wife and mother-in-law, it was amazing to see the life in the village. It was like finding old wild west hiding 15km from major Asian highway. Within no more than 1 square kilometre this village have everything. Markets, grocery stores, two clinics, a hospital, a bank, barber shop, salon, Wats, all necessity to operate as a community. I can imagine how people were settling back in the old day. Main business would have been earthenware and metal works. Same as every community in Thailand we gather around Wat and it is still clearly see an influence of monks on community.

1186316_10207981215785996_3796134309719623330_n

After the dinner, we had to push through the turn around at Chinart. From  now on there will be no resident along Noi river which confirm the contribution of little village we just left to the capital, Ayuthaya. We rode until the end of the river where it meets Chaopraya river. We didn’t have much time to spare we have to leave within half an hour at 8pm heading back along now different river Chaopraya where it would lead us finally to Bangkok but tonight we had to make it at Ang thong as fast as we can. Every minute wasted from now was a minute deducted from our sleep for that night and it was 100km away. In my experience of the ride this is one of the toughest part of the ride. You have used all of the dinner you have had. You have been riding for more than 12-16 hours into wee hours. You would be so tired and can easily be sleeping while riding which I have done several times that night. We need to stop at midway around 30km to Ang thong to take a little map right in the middle of the highway where the light was plentiful. We reached Ang thong around 2:15am and need to leave at 3am to make the next control point 40km away before 5:44am. I took a 10 minutes nap then got myself ready for more ride. Now we had been riding for 307km, next stop Ayuthaya.

For me that was the hardest section, I was so sleepy that I can’t keep my eyes open. Coffee didn’t work anymore and I could handle Redbull. We need to stop half way, many of us choose to eat but I tried to get some more sleep, 5 minutes was very valuable at that time. Luckily we reach Ayuthaya around 5am and have time to spare. I took a quick nap for another half hour. Every one in our team looked battered. We all need that half hour. Then our last 60km started at 5:40am. I felt much better. Strangely no one complain at all, 22 hours passing by. We all kept riding, enjoying the scenery, smelling the environment, soaking into friendship that harden through hardship we shared.

Sun slowly came up. We can see rice patty along Chaopraya river bank. It was so beautiful not only because it was toward the end of our ride but also it was the life of our country. We depend on rice so much that our greeting was not hi nor hello but “have you eaten rice?” Every one now seem very relax even tough tired. Veterans started to let newbies loose. They don’t have to keep the pace anymore. We started to spread out some starting to stop taking picture of life on rice patty some kept riding slowly as we planned on meeting at next town few kilometre ahead for breakfast. It of course one of the most delicious breakfast I ever had. We all made it through the night and it was about to end with 400+ km on our bike computer and then Strava. We finished around half hour ahead of the deadline tired but fulfilled.

12431681_1194673703894471_988397219_n

 

I flew back to my province 1000 km from Bangkok. I need to ride 100 more for #Festive500 in no less epic route. It was tough ride with sun, wind, flat  and then rain. I documented my first #Festive500 ride with the feeling that I felt every time I went out riding. It has not change.

I live in Pattani, Thailand. One of the Southern most province of Thailand close to Malaysia border. Twenty years ago even Thais have trouble locating Pattani on Thailand map. Not until recently Pattani was included in an incident called “South Thailand Insurgency“, embassy of most country issue a warning not to travel to the area or else void your life insurance. Now everyone know Pattani and every time when I tell someone that I am from Pattani something changes in their mind and their face. It started 10 years ago on 2004. Now everyone living in the area know someone in person who was affected by incidents. This could be bombing, drive by shooting, arson or raid with assault rifle. It was so bad that carrying a conceal weapon is legal. Police and soldier having lunch with M16 on their lap. Just drive to work on certain day could be so challenging. My three bikes were hung up on the wall since the start of the incident as my wife told me that she would file a divorce if I pick up my bike and ride to work. My family business was burned down three times. Some nights I have to load my guns preparing for the worst after soldiers in the area came to warn us of potential attempt on our business for one more time. Ten years has passed but nothing seem to improve much. However, we changed. We have kids and we view our life differently. Now I ride my bike to work. My wife got herself a bike and my training ride take me to where it consider red area so far out of the city. I want to take this opportunity to write about my hometown and our life riding #Festive500. I have never ride so far like this before. In my life I have ridden 100km only three times, months apart. My training ride usually 40km and 60km for the long ride. It also depends on the situation. When I have down from bedroom seeing my gun and shotgun fully loaded from the night before and grab my bike. I would think “now it is safe to ride, let’s do it”.  But 500Km in 8 days would force my to ride no matter what (in fact I have only 6 days to ride since I knew about Festive500 late for 1 day and I have full working day on another day) So if I wake up realise the situation thinking “this could be my last ride” then I would have to tell myself “I might as well enjoy all of it”

I wrote this article in my head during my last ride of the year. It was 31st December when everyone else heading home prepare for celebration. For me though finishing #Festive500 yet another year is a celebration.

This story is about “LOVE”. Love of the simple two wheels machine. Love of the friendship that grew by the length of time we spent together riding. Love of the sight that we were allowed to see by the speed which is perfect for human to interact. Love of the smell in which no other way of transportation could give you.

 

Endurance : Why we do what we do?

สัปดาห์ที่ผ่านมาเพื่อน ๆ หลายคนมีกิจกรรม Endurance (ต่อจากนี้ผมจะเรียกมันว่า อดทน) ที่แตกต่าง แต่มีความเข้มข้นไม่แพ้กัน มาเล่าสู่กันฟัง ผมนั่งไล่อ่านกิจกรรมของทุก ๆ คน ที่อธิบายถึงความรู้สึก เล่าถึงสิ่งที่เกิดขึ้น แชร์กันไปมาเต็มไปด้วยความสุข และตื้นตัน ผมอดไม่ได้ที่จะแสดงความเห็นว่าผมรู้สึกมีความสุขที่ได้เห็นหลาย ๆ คนมีความสุข โดยใช้การอธิบายในลักษณะ “ความสุขบนความทรมาน” ซึ่งพบว่ามีหลาย ๆ คน รวมถึงคู่หูเพื่อนซี้ในกิจกรรมอดทนของผมค่อนข้างไม่สบายใจกับทำว่า “ทรมาน” และต้องการที่จะแสดงออกว่านี่ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นและเหตุผลที่เขาเหล่านั้นเลือกทำกิจกรรมอดทน จากการแลกเปลี่ยนในกระทู้นั้น ทำให้ผมมาถามตัวเองอีกครั้ง ทั้ง ๆ ที่ถามตัวเองมาหลายต่อหลายครั้งแล้วตลอดยี่สิบปีที่ผ่านมา ว่าเราทำกิจกรรมอดทนเหล่านี้ไปเพื่ออะไร

TRI NCB

แต่ก่อนอื่นคงต้องท้าวความไปถึงครั้งแรกที่ผมใช้คำว่า “ทรมาน” เพื่อสื่อถึงความรู้สึกบางช่วงในกิจกรรมเหล่านี้ มันเกิดเมื่อเพื่อนของผมชวนให้ไปปั่นบนเขาใหญ่ ผมจึงเลือกช่วงที่ผมต้องไปแข่งขัน TNF100 เป็นวันที่จะปั่นเขาใหญ่ โดยวันแรกวิ่ง TNF50K แล้ววันที่สองปั่นเขาใหญ่ ด่านชนด่าน 100K เพื่อที่จะชักชวนเพื่อน ๆ มาร่วมสนุกกัน ผมจึงคิดที่จะหาชื่อที่เหมาะสมให้กับกิจกรรมนี้ ในช่วงนั้นผมซ้อมเทรนเนอร์กับ DVD Series SufferFest ซึ่งผมรู้สึกว่ามันสื่อตรงกับความรู้สึกของผมจึงคิดที่จะแปลความหมายนี้ออกมา เลือกมาได้ว่า “ทรมานบันเทิง” เพื่อสื่อถึงกิจกรรมนี้ หลังจากนั้นผมใช้คำว่า “ทรมาน” อีกหลายครั้ง เพื่อสื่อถึงกิจกรรมอดทนที่เราชาวเผ่า V40 ทำกัน

IMG_1140

สำหรับผมคำว่า “ทรมาน” มันไม่ได้มีความหมายเป็นลบเลย เพราะที่มาจากความว่า Suffer ที่ผมแปลมานั้น ผมนึกไปถึง “ทุกข์” ในศาสนาตลอดเวลา ผมมองมันคล้าย ๆ กับว่ากิจกรรมอดทนนั้น คือการธุดงค์ ที่นำ “ทุกข์” มาพิจารณา ส่วนกิจกรรมอดทนนั้นนำ “ทรมาน” มาพิจารณา มันเกิดขึ้นกับผมในทุก ๆ ครั้ง และผมใช้มันในทำนองนี้ในทุก ๆ ครั้ง แต่ไม่เคยคิดว่าคำ ๆ นี้จะบาดใจใครหลาย ๆ คน โดยที่ผมไม่ได้ตั้งใจ ดังนั้นผมจึงตั้งใจที่จะเขียนมันออกมาว่าสำหรับผมแล้ว ผมเห็นอะไร และทำไปทำไม โดยไม่แน่ใจว่าเมื่อจบบทความนี้ผมจะได้คำตอบหรือไม่ ความเป็นนักวิทยาศาสตร์ในตัวผมสอนให้ผมบันทึกกระบวนการ และให้ความสำคัญกับมันเท่า ๆ กับผลลัพธ์

IMG_2582

เมื่อพิจารณาถึงสิ่งที่เกิดขึ้นที่ถูกสื่อว่า “ทรมาน” มันมีอะไรเกิดขึ้นบ้างในกิจกรรมอดทน สำหรับผม ความร้อน ความเหนื่อย ความเมื่อยล้า คำที่เรียกง่าย ๆ ว่า “หมด” หรือ exhaustion เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแน่ ๆ ในกิจกรรมอดทนทั้งหลาย ในมุมมองของเปลือกภายนอก แต่ถ้าพิจารณาลึกเข้าไปในจิตใจ ผมจะเห็นความท้อใจ การยอมแพ้ กำลังใจ ความหึกเหิม ในความต่อเนื่องของความรู้สึกทางร่างกายและจิตใจนั้น บางครั้งมันปวดร้าวรุนแรงจนผมเองต้องตั้งคำถามว่า ผมมันทำมันไปทำไม แม้มันจะไม่บ่อย แต่คำตอบของคำถามในเวลานั้นมันจะกำหนดผลลัพธ์ของกิจกรรมไม่ว่าในช่วงเวลาก่อนทำกิจกรรมนั้นเราต้องการผลลัพธ์เช่นใด

IMG_3711

ผมวิ่ง 10K เพราะต้องการลบความคิดว่านักว่ายน้ำ (จริง ๆ แค่สมาชิกชมรมว่ายน้ำ) จะไม่ถนัดวิ่ง ผมลง 21K เพราะอยากเอาความฟิตที่เหลือจาก 10K มาใช้ให้เป็นประโยชน์ ผมลงทวิกีฬาเพราะอยากปั่นจักรยานที่ผมใช้มามหาลัยแบบเร็ว ๆ สุดชีวิตกะเขามั่ง ผมลงไตรกีฬาเพราะผมเป็นนักว่ายน้ำ กิจกรรมอดทนของผมนั้นถูกขับมาจากความอยากรู้ และความต้องการขยายข้อจำกัด รวมไปถึงใช้ทรัพยากร อุปกรณ์ และทักษะทั้งหมดที่ผมมีอย่างคุ้มค่า ซึ่งมันเป็นนิสัยส่วนตัวที่จะใช้ความคุ้มค่า หรือประสิทธิภาพมากำหนดสิ่งที่ทำ ผมใช้เวลาอยู่กับมันสิบกว่าปี วิ่งไล่ตามสถิติต่าง ๆ ปีหน้ามันต้องเร็วขึ้นดีขึ้น ตำแหน่งสูงขึ้น แม้ว่าจะไม่เคยได้ถ้วยกับเขาเลย แต่ก็สามารถนำตัวเองไปอยู่ในอันดับ Top 5 Top 10 ได้ทั้งในสนามประเทศไทย และต่างประเทศ ในขณะที่สถิติก็ดีขึ้นเรื่อย ๆ จนไปพีคที่อายุประมาณ 30 ก่อนที่จะค่อย ๆ คงตัวและช้าลงในที่สุด

IMG_7410

แน่นอนว่าผมคุ้นเคยกับความเจ็บปวด ตะคริว ไม่ใช่เรื่องแปลก และหลาย ๆ ครั้งไม่สามารถชะลอผมลงได้มากนัก อัดจนอาเจียรข้างทาง หรือจำเป็นต้องกลืนมันกลับเข้าไป เพราะอยู่ในระหว่างการแข่งขัน ไม่ใช่เรื่องแปลกอีกเช่นกัน ถ้าถามว่ามันจะใช้คำว่า “ทรมาน” ได้มั้ยสำหรับผม ผมเองก็เห็นด้วยกับเพื่อน ๆ ที่ไม่ชอบคำ ๆ นี้ว่าผมไม่อยากเรียกมันว่า “ทรมาน” ผมต้องยอมรับว่ามันอาจจะเจ็บปวด ผมไม่ได้ชอบมัน ไม่ได้เสพติด แต่ระหว่างซ้อมจนถึงวันแข่งและระหว่างแข่งนั้นผมทำทุกอย่างเพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งเหล่านี้มันเกิดขึ้น แต่แม้ว่าผมรู้อยู่แก่ใจว่ามันจะเกิดขึ้นอีกถ้าผมต้องการสถิติที่ดีขึ้นในทุก ๆ ครั้งที่ผมลงแข่งขัน แต่เมื่อจุดสูงสุดของผมเหมือนจะผ่านพ้นไปแล้ว ความที่ผมเองอาจจะต้องยอมแพ้ให้กับตัวเองในวัยหนุ่ม เปลี่ยนมาแข่งขันกับคนรอบข้าง เปลี่ยนมาตั้งเป้าหมายใหม่ ๆ สถิติใหม่ ๆ ที่เหมาะสมกับกลุ่ม V40 อย่างผม ความกดดันในระดับที่จะต้อง “ทรมาน” มันก็ค่อย ๆ หมดไปจนวันหนึ่งผมเองก็เริ่มหาเป้าหมายใหม่ให้ตนเอง

IMG_7455

วันหนึ่งเพื่อนสนิทสมัยเรียนมัธยมมาชวนให้ตั้งทีมเพื่อวิ่งผลัดข้ามประเทศ ที่เรียกว่า O2O ผมคิดว่ามันฟังดูแล้วตื่นเต้นท้าทายดี จึงพยายามฟอร์มทีมขึ้นมาซึ่งก็ไม่ง่ายนักเพราะไอเดียที่จะวิ่งกันในเวลาเที่ยง วิ่งกันข้ามวันข้ามคืน วิ่งผลัดระยะสั้น ๆ ที่รวมระยะของแต่ละคนแล้วไม่เกิน 30K นั้นมันดูช่างไม่ “ท้าทาย” เอาเสียเลย แต่โชคดีที่ทีมได้ถือกำเนิดขึ้น และผมได้พบกับเหตุผลใหม่ของกิจกรรมอดทด กิจกรรมนี้ทำมาแล้วสองปี ได้ทำให้ผมได้ไปสนิทอีกครั้งกับเพื่อนเก่า ๆ ที่ร้างราจากกันมานาน กิจกรรมนี้ถือเป็นต้นกำเนิดของทีม Very Forty ที่เพื่อนในกลุ่มนี้อยากมีการรวมตัวเพื่อเข้าแข่งขันไตรกีฬาในรายการกรุงเทพไตรกีฬา ผลลัพธ์ของกิจกรรมที่ผมได้ดูเหมือนว่าจะสร้างผลกระทบได้กว้างขวางขึ้น มีเพื่อน ๆ หลาย ๆ คนมารวมตัวกันแสดงจุดยืน สร้างตัวตน แสดงตัวเป็นแบบอย่างของการใช้ชีวิต active ที่ผมต้องรับว่าเป็นอีกความสุขหนึ่งที่ทำให้ผมมุ่งมั่นทำกิจกรรมเหล่านี้มากขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่าการเผยตัวตนในครั้งนี้เริ่มทำให้อีกหลาย ๆ คนมองเห็นผมเป็นคน “บ้า”

L1010355

ผมเริ่มร่วมการแข่งขันจักรยานทางไกล เริ่มขยายระทางทางของไตรกีฬา และเริ่มสนใจระยะมาราธอน เนื่องจากเป็นระยะทางใหม่ ๆ ทุก ๆ ครั้ง ทุก ๆ ก้าวที่ผมทำลงไปมันเป็นสถิติใหม่ไปทั้งสิ้น แม้ว่าผมยังไม่เห็นเหตุผลที่ชัดเจนในการทำมันลงไป ผมยังได้ป้อนอาหาร ego ส่วนตัวของผมด้วยสถิติใหม่ ๆ เช่น Sub5 Marathon, 6:08 Hr Half-Ironman เป็นต้น จนวันหนึ่งเพื่อนแจ๊คแนะนำให้ผมรู้จักกับ Festive500 ที่ต้องปั่น 500K ภายใน 8 วันช่วงปลายปี สำหรับคนปั่นระยะ 80-100K การที่จะทำแบบนี้ต่อเนื่องทุก ๆ วันสร้างความท้าทายใหม่ ๆ ให้กับผม และก็ไม่ผิดหวังเมื่อผมร่วมคำท้าแล้วต้องถามกับตัวเองวันแล้ววันเล่าที่ต้องตื่นมาปั่นระยะ 80-100K โดยไม่สนว่าฝนจะตกหรือแดดจะออก เพื่อนคนเดียวกันนี้ก็แนะนำให้ผมรู้จักกับ Audax กิจกรรมอดทนในรูปแบบใหม่ที่ไม่ต้องแข่งกับใคร ไม่สนใจสถิติ มาด้วยใจกับคิวชีทเป็นพอ ผมกระโดดเข้าหาแล้วก็ติดมันงอมแงม มันเป็นการปั่นระยะที่ไกลมากขึ้น 200 300 400 600 ซึ่งต้องมีเรื่องของการกิน การพัก การนอนเข้ามาเป็นส่วนร่วมของความท้าทายนั้น ๆ ด้วย ดูเหมือนว่าในช่วงนี้ผมเริ่มได้เป้าหมายใหม่ของกิจกรรมอดทน นั่นก็คือ “ท้าทาย”

IMG_6245

อย่างไรก็ตามยังมีคำถามจากบุคคลภายนอกอีกในเรื่องของค่าใช้จ่าย นอกเหนือจากความเหน็ดเหนื่อยแล้ว ยังไม่ค่าใช้จ่ายในกิจกรรมเข้ามาเกี่ยวข้องอีกเยอะมาก ทำให้ผมเริ่มมองในมุมมองของทางด้านการเงินบ้าง แต่ไม่ทราบว่ามันมีอะไรที่ดลใจให้ผมจัดการกับปัญหาด้วยการตั้งกองทุนในชื่อลูกสาวที่เสียไปของผม ชื่อว่า กองทุนเพื่อซูริ ในการที่จะระดมเงินไปบริจาคให้กับหน่วย NICU โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ สถานที่ที่ลูกสาวคนนี้ของผมถือกำเนิดและเสียชีวิต ด้วยความหวังไกล ๆ ว่าเงินเหล่านี้อาจจะช่วยให้ลูกตัวน้อยของคนอื่นมีโอกาสกลับบ้านไม่เป็นเช่นลูกสาวของผม ผมจึงพยายามสร้างความสัมพันธ์ุระหว่างกิจกรรมอดทนและเงินบริจาคเพื่อกองทุนขึ้นในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อที่จะเป็นคำตอบหนึ่งในด้านการเงิน ซึ่งหลาย ๆ กลุ่มที่มีความเห็นตรงกันก็ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ ยกตัวอย่างเช่น กลุ่ม Run4ManyReasons ของพี่ย้ง เป็นต้น

IronmanLangkawiForZuri

ความ “ท้าทาย” ใหม่เข้ามาอีกครั้งเมื่อผมต้องเข้ารักษาตับอักเสบด้วยการฉีดยาอินเตอฟูรอน 48 เข็ม ผมจึงสมัครแข่งขันไอรอนแมนทันที แม้ว่าผมจะไม่คิดว่าจะลงรายการระยะนี้ในสภาพที่ผมไม่แน่ใจว่าผมสามารถวิ่งได้ไกลเพียงใด ผมดีใจที่การตัดสินใจพุ่งเข้าชนกับโรคร้ายและการรักษาอันหฤโหดนั้นได้สร้างแบบอย่างและกำลังใจให้กับผู้ป่วย หรือผู้พักฟื้นอีกหลายคน แม้ว่าในด้านของการวิ่งนั้น หลังจากผมแตะระยะมาราธอนแรกแล้ว ผมก็ขยายเป็นระยะอัลตราที่ TNF 50K แต่ทำให้อาการบาดเจ็บที่กระดูกสันหลังกำเริบ การวิ่งระยะ 10K 15K 21K กลายเป็นความท้าทายอีกครั้ง ขอแค่เพียงได้วิ่งครบระยะ ผมเก็บความท้าทายแบบผู้ป่วยกายภาพของผมอย่างเงียบ ๆ เพราะความผิดหวังในการ DNF ครั้งแรกในชีวิตที่สนามไอรอนแมนลังกาวี ก่อนที่จะประกาศชนกับมันอีกครั้งด้วยการวิ่งจอมบึงมาราธอน เพียงแต่บอกคนรอบข้างว่าผมต้องการวิ่งช้า ๆ ในใจเพียงคิดว่าต้องการวิ่งให้ถึงเป็นเท่านั้น ซึ่งในเวลานี้ผมต้องยอมรับว่า มันยังคงเป็นความ “ท้าทาย” สำหรับผมอยู่ดี

Week2

ในขณะเดียวกันที่ผมไม่สามารถเร่งความเร็วได้ดั่งใจ ผมจึงเริ่มหาความแปลกใหม่เพื่อมาเติมเต็มให้จิตใจผมอีกครั้งในกิจกรรมอดทนที่แทบไม่มีความหวังจะสร้างสถิติ เมื่อความท้าทายลดคุณค่าเหลือเพียงที่จะ “วิ่ง” ได้จนครบระยะ ผมเริ่มอาสาวิ่งเก็บขยะ ในงานภูเก็ตมาราธอน ในระยะฮาร์ฟ ที่ทำให้ผมได้รู้จักกับพี่ย้ง กล้วยหอม ผมเข็นรถ trailer ขนลูก ๆ สัมผัสบรรยากาศสงลามาราธอนในระยะฮาร์ฟ และสุดท้ายวิ่งแจกตุ๊กตาในงานจอมบึงมาราธอน ที่ระยะฟูลมาราธอน แม้ว่า ณ เวลานี้ ผมยังไม่สามารถ “วิ่ง” ได้จนครบระยะ แต่ผมก้าวข้ามความ “ท้าทาย” ในแต่ละขั้นมาเรื่อย ๆ ช้า ๆ อย่างมั่นคง

L1040269

ผมร่ายยาวมาจนถึงย่อหน้าสุดท้าย ผมเองยังไม่แน่ใจว่าผมได้คำตอบหรือยัง ว่าผมทำกิจกรรมอดทนเหล่านี้ไปทำไม มีความเป็นไปได้ว่าผมอาจจะต้องค้นหามันไปตลอดชีวิต เฉกเช่นคำถามที่ว่า มนุษย์เราเกิดมาเพื่ออะไร แม้ว่าผมจะเล่าให้หลาย ๆ คนด้วยเหตุผลต่าง ๆ กัน ไม่ว่าอาการเจ็บหลังที่กำเริบจนไม่สามารถอุ้มลูกชายคนแรกอาบน้ำได้ สุขภาพที่ย่ำแย่จากการโหมทำงานหนักจนแม้กระทั่งเดินขึ้นบันไดหอบ หรือการที่จะสร้างแบบอย่างให้กับลูก ๆ ในการใช้ชีวิตแบบมีสุขภาพ ไปจนกระทั่งเหตุผลเนื่องจากเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่พัฒนาจนอายุเฉลี่ยเรายาวนานขึ้นและผมไม่ต้องการที่จะใช้ช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิตบนเตียง เหตุผลเหล่านี้อาจจะเติมเต็มให้กับผู้สงสัย ผู้ตั้งคำถาม แต่ผมรู้ดีว่าสำหรับผมนี่มันเป็นเพียงผลพลอยได้  Why we do what we do? The answer my friend is blowing in the wind.